...................ทฤษฎีทำเลที่ตั้ง (อังกฤษ: Location theory) เป็นทฤษฎีว่าด้วยทำเลที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นส่วนของภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ (economic geography) ภูมิภาควิทยา (regional science) และ เศรษฐศาสตร์เชิงพื้นที่ (spatial economics) ทฤษฎีทำเลที่ตั้งอธิบายถึงเหตุผลที่ว่าเหตุใดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเฉพาะประเภทหนึ่งจึงไปตั้งอยู่เฉพาะ ณ ที่แห่งหนึ่ง เช่นเดียวกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค - ทฤษฎีทำเลที่ตั้งอาศัยสมมุติฐานที่ว่าผู้ประกอบการทั้งที่เป็นบริษัทและบุคคลทำไปก็เพื่อประโยชน์ของตนเองจึงได้เลือกทำเลที่ตั้งที่จะทำให้เกิดผลกำไรมากที่สุด คือการลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค
...................มีหลายคนที่ควรได้รับการยกย่องในการให้กำเนิดทฤษฎีนี้ (เช่น ริชาร์ด แคนทิลลอน, Etienne Bonnot de Condillac, เดวิด ฮูม, เซอร์เจมส์ สจวต, และเดวิด ริคาโด) แต่เมื่อจนกระทั่ง โจฮันน์ ไฮน์ริช วอน ทูเนน (Johann Heinrich von Thünen) ได้ตีพิมพ์หนังสือ Der Isolierte Staat เล่มแรกขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2369 จึงจะนับได้ว่าทฤษฎีทำเลที่ตั้งได้เริ่มมีตัวตนชัดเจนขึ้น ความจริงแล้ว วอลเตอร์ ไอสาร์ด (Walter Isard) นักภูมิภาควิทยา (regional scientist) ได้ยกย่องให้ทูเนนว่าเป็น “บิดาแห่งนักทฤษฎีทำเลที่ตั้ง”ในหนังสือเล่มดังกล่าว ทูเนนให้ข้อสังเกตว่าค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าเป็นตัวการที่ทำให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจตาม ทฤษฎีของริคาโด ลดลง ทูเนนให้ข้อสังเกตอีกด้วยว่า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการขนส่งและผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจที่มีความผันแปรไปตามประเภทของสินค้า ตามประเภทการใช้ที่ดินและความเข้มในการใช้การขนส่งนี่เองเกิดจากระยะทางของแหล่งผลิตสินค้ากับตลาด
...................ความเป็นเจ้าผู้ครองตลาดหลายชนิดสินค้าของเยอรมันดูเหมือนจะเป็นผลจากทฤษฎีทำเลที่ตั้งนับแต่สมัยของฟอนทูเนนไปถึงสมัยของหนังสือเรื่อง Die Zentralen Orte in Sűddeutschland ของวอลเตอร์ คริสทัลเลอร์ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2476 ที่แสดงให้เห็นว่าสิ่งเรารู้จักในชื่อ “ทฤษฎีทำเลกลาง” (central place theory) อีกแนวหนึ่งที่มีส่วนมากได้แก่หนังสือของ อัลเฟรด เวเบอร์ ชื่อ Über den Standort der Industrien ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2452[4] โดยปรับแนวคิดของกรอบทางกายภาพคล้ายความคิด Varignon frame ของ Pierre Varignon โดยเวเบอร์ประยุกต์อัตราค่าขนส่งวัตถุดิบและสินค้าไปพร้อมกับการผลิตสินค้าที่สำเร็จแล้วพัฒนาให้เป็นขั้นตอนวิธีที่ใช้ในการบ่งชี้ว่าตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมที่สุดของแหล่งผลิตควรอยู่ที่ใด นอกจากนี้ยังบ่งบอกถึงความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากแรงงานที่เกาะกลุ่มและกระจาย จากนั้นเวเบอร์จึงอภิปรายถึงการรวมกลุ่มของหน่วยการผลิตโดยอาศัยการคาดการณ์แหล่งตลาด
...................คาร์ล วิลเฮม เฟรดริช ลุนฮาร์ต (Carl Wilhelm Friedrich Launhardt Launhardt) มีส่วนให้แนวคิดนี้แก่เวเบอร์ผู้ได้รับการยกย่องเป็นอย่างมากก่อนงานตีพิมพ์ของเวเบอร์ นอกจากนี้ความคิดของลุนฮาร์ตยังมีความเป็นสมัยใหม่ในเชิงของการวิเคราะห์มากกว่าของเวบเบอร์เสียอีก ซึ่งชี้ให้เห็นว่าลุนฮาร์ตก้าวหน้าเกินสมัยทำให้ไม่มีผู้ในร่วมสมัยเข้าใจผลงานของตนมากนัก ไม่เป็นที่ชัดแจ้งว่าเวเบอร์รู้เรื่องงานของลุนฮาร์ตมากน้อยเพียงใด เป็นที่แน่ชัดว่าเวเบอร์ได้รับอิทธิพลจากคนอื่นๆ โดยเฉพาะจากวิลเฮล์ม รอชเชอร์ (Wilhelm Roscher) และอัลเบิร์ต แชฟเฟิล (Albert Schäffle) ซึ่งดูเหมือนจะได้เคยอ่านงานของเวเบอร์มาก่อน แต่อย่างก็ดี การแพร่หลายของทฤษฎีทำเลที่ตั้งที่อย่างเป็นที่รู้จักกันมากนั้น ได้เกิดขึ้นหลังการตีพิมพ์ผลงานของเวเบอร์
...................โจฮันน์ ไฮน์ริช ฟอน ทูเนน (Johann Heinrich von Thunen) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 เขาเป็นบุคคลแรกที่พัฒนาแบบจำลองการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งเป็นแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตลาด การผลิต และระยะทาง และเขาเป็นอีกคนหนึ่งที่บุกเบิกแนวคิดเรื่องหน่วยท้าย ผลงานชิ้นสำคัญที่สุดของเขาคือ "Der isoliierte Staat"
...................มีหลายคนที่ควรได้รับการยกย่องในการให้กำเนิดทฤษฎีนี้ (เช่น ริชาร์ด แคนทิลลอน, Etienne Bonnot de Condillac, เดวิด ฮูม, เซอร์เจมส์ สจวต, และเดวิด ริคาโด) แต่เมื่อจนกระทั่ง โจฮันน์ ไฮน์ริช วอน ทูเนน (Johann Heinrich von Thünen) ได้ตีพิมพ์หนังสือ Der Isolierte Staat เล่มแรกขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2369 จึงจะนับได้ว่าทฤษฎีทำเลที่ตั้งได้เริ่มมีตัวตนชัดเจนขึ้น ความจริงแล้ว วอลเตอร์ ไอสาร์ด (Walter Isard) นักภูมิภาควิทยา (regional scientist) ได้ยกย่องให้ทูเนนว่าเป็น “บิดาแห่งนักทฤษฎีทำเลที่ตั้ง”ในหนังสือเล่มดังกล่าว ทูเนนให้ข้อสังเกตว่าค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าเป็นตัวการที่ทำให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจตาม ทฤษฎีของริคาโด ลดลง ทูเนนให้ข้อสังเกตอีกด้วยว่า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการขนส่งและผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจที่มีความผันแปรไปตามประเภทของสินค้า ตามประเภทการใช้ที่ดินและความเข้มในการใช้การขนส่งนี่เองเกิดจากระยะทางของแหล่งผลิตสินค้ากับตลาด
...................ความเป็นเจ้าผู้ครองตลาดหลายชนิดสินค้าของเยอรมันดูเหมือนจะเป็นผลจากทฤษฎีทำเลที่ตั้งนับแต่สมัยของฟอนทูเนนไปถึงสมัยของหนังสือเรื่อง Die Zentralen Orte in Sűddeutschland ของวอลเตอร์ คริสทัลเลอร์ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2476 ที่แสดงให้เห็นว่าสิ่งเรารู้จักในชื่อ “ทฤษฎีทำเลกลาง” (central place theory) อีกแนวหนึ่งที่มีส่วนมากได้แก่หนังสือของ อัลเฟรด เวเบอร์ ชื่อ Über den Standort der Industrien ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2452[4] โดยปรับแนวคิดของกรอบทางกายภาพคล้ายความคิด Varignon frame ของ Pierre Varignon โดยเวเบอร์ประยุกต์อัตราค่าขนส่งวัตถุดิบและสินค้าไปพร้อมกับการผลิตสินค้าที่สำเร็จแล้วพัฒนาให้เป็นขั้นตอนวิธีที่ใช้ในการบ่งชี้ว่าตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมที่สุดของแหล่งผลิตควรอยู่ที่ใด นอกจากนี้ยังบ่งบอกถึงความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากแรงงานที่เกาะกลุ่มและกระจาย จากนั้นเวเบอร์จึงอภิปรายถึงการรวมกลุ่มของหน่วยการผลิตโดยอาศัยการคาดการณ์แหล่งตลาด
...................คาร์ล วิลเฮม เฟรดริช ลุนฮาร์ต (Carl Wilhelm Friedrich Launhardt Launhardt) มีส่วนให้แนวคิดนี้แก่เวเบอร์ผู้ได้รับการยกย่องเป็นอย่างมากก่อนงานตีพิมพ์ของเวเบอร์ นอกจากนี้ความคิดของลุนฮาร์ตยังมีความเป็นสมัยใหม่ในเชิงของการวิเคราะห์มากกว่าของเวบเบอร์เสียอีก ซึ่งชี้ให้เห็นว่าลุนฮาร์ตก้าวหน้าเกินสมัยทำให้ไม่มีผู้ในร่วมสมัยเข้าใจผลงานของตนมากนัก ไม่เป็นที่ชัดแจ้งว่าเวเบอร์รู้เรื่องงานของลุนฮาร์ตมากน้อยเพียงใด เป็นที่แน่ชัดว่าเวเบอร์ได้รับอิทธิพลจากคนอื่นๆ โดยเฉพาะจากวิลเฮล์ม รอชเชอร์ (Wilhelm Roscher) และอัลเบิร์ต แชฟเฟิล (Albert Schäffle) ซึ่งดูเหมือนจะได้เคยอ่านงานของเวเบอร์มาก่อน แต่อย่างก็ดี การแพร่หลายของทฤษฎีทำเลที่ตั้งที่อย่างเป็นที่รู้จักกันมากนั้น ได้เกิดขึ้นหลังการตีพิมพ์ผลงานของเวเบอร์
...................โจฮันน์ ไฮน์ริช ฟอน ทูเนน (Johann Heinrich von Thunen) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 เขาเป็นบุคคลแรกที่พัฒนาแบบจำลองการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งเป็นแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตลาด การผลิต และระยะทาง และเขาเป็นอีกคนหนึ่งที่บุกเบิกแนวคิดเรื่องหน่วยท้าย ผลงานชิ้นสำคัญที่สุดของเขาคือ "Der isoliierte Staat"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น