วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

เรียนรู้การประมวลผลสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal Processing)

ตอนที่ 1
เรียนรู้การประมวลผลสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal Processing)
ตอน การประยุกต์ใช้งาน DSP
โดย
พีระพล ยุวภูษิตานนท์
ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

ทฤษฎีที่ก่อร่างสร้างตัวมาจากการเชื่อมโยงผสมผสานความก้าวหน้าทางด้านการประมวลผลของไมโครโปรเซสเซอร์ บวกเข้ากับจินตนาการในการพัฒนาและจำลองการทำงานของอัลกอริธึมทางคณิตศาสตร์บนคอมพิวเตอร์ เพื่องานด้านการประมวลผลสัญญาณ ศาสตร์ที่ว่านั้นก็คือการประมวลผลสัญญาณดิจิตอล หรือ เรียกง่ายๆ แบบที่คุ้นหูกันว่า DSP หรือ Digital Signal Processing

บทเริ่ม
เมื่อพูดถึงเรื่อง DSP แล้ว เอนจิเนียร์หลายคนก็อาจจะถึงกับส่ายหน้า เหตุผลหลักก็คือไม่สามารถทำความเข้าใจถึงหลักการที่ดูจะซับซ้อน อันเกิดจากทฤษฎีอันหลากหลายทางคณิตศาสตร์และพีชคณิตเชิงเส้น (linear algebra) ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว แม้สิ่งเหล่านี้จะเป็น”แก่น” ของทฤษฎี แต่หากเราได้ทำความเข้าใจกับส่วนที่เป็นการนำเอาหลักการนี้ ไปประยุกต์ใช้งาน (applications) เสียก่อน เราก็จะเห็นช่องทางเดินเพื่อการทำความเข้าใจในเนื้อหาและหลักการส่วนทฤษฎี และเมื่อเราเข้าใจขอบเขตของทฤษฎีได้มากขึ้น การเลาะ”เปลือก”คือการประยุกต์ใช้งาน ออกเพื่อให้ถึง “แก่น” คือ ทฤษฎี ก็ทำได้ง่ายขึ้นตามมา

หรือหากมองในอีกแง่มุมหนึ่งว่า หากการขาดการรับรู้ถึงความน่าสนใจในแง่การใช้งานของ DSP นั้นเป็นเพียงเพราะติดค้างคาใจอยู่กับความยากทางทฤษฎีเท่านั้น ก็นับว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่งในโอกาสแห่งการเรียนรู้ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากสำหรับการพัฒนาตนเองของวิศวกรในยุคที่มีการแข่งขันกันสูงเช่นในปัจจุบัน

ในซีรีสย์บทความนี้ จะเป็นการแนะนำและการเปิดแง่มุมใหม่ ของการเรียนรู้เรื่องการประมวลผลสัญญาณ ในบทเริ่มต้นจะแนะนำการประยุกต์ใช้งาน ของ DSP ในแง่มุมที่หลากหลาย ถึงแม้จะไม่ได้ครอบคลุมถ้วนทั่วก็ตาม แต่อย่างน้อยก็คงทำให้มองภาพ ของ DSP ออกได้ว่า จะถูกนำไปใช้งานด้านใดบ้าง
(โปรดติดตามตอนต่อไป)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น