ภูมิศาสตร์ในปัจจุบันและอนาคต
Geography at Present and in the Future
Geography at Present and in the Future
ภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน มีลักษณะหลายอย่างแตกต่างจาก ภูมิศาสตร์ในอดีต ลักษณะของความแตกต่างมีสองประการ คือ 1. ความแตกต่างทางด้านแนวความคิดทางภูมิศาสตร์ 2. ความแตกต่างทางด้านวิธีการศึกษาวิจัย แนวความคิดภูมิศาสตร์ออกเป็น 4 แนวทาง คือ
1. Man-land tradition หรือ Man-land ( environment) relations
2. Area studies tradition หรือ Areal differentiation
3. Earth science tradition
4. Spatial tradition
Man-land tradition มุ่งศึกษาวิจัยถึงความสัมพันธ์ หรือ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มย่อยคือ กลุ่มแรก เชื่อว่าปัจจัย สิ่งแวดล้อมกายภาพ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งต่างๆขึ้นซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์โดยไม่พิจารณาย้อนหลังว่า สิ่งแวดล้อมทางกายที่ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์หรือไม่ เรียกว่า ดีเทอร์ มินิสท์ (Determinists) นักภูมิศาสตร์คนสำคัญในกลุ่มนี้คือ รัทเซล (Ratzel) กลุ่มที่สอง เชื่อว่า มนุษย์เป็นต้นเหตุที่ทำให้สิ่งแวดล้อมทางกายภาพเกิดการเปลี่ยนแปลงไป เรียกว่า พอสสิบิลิสท์ (Possibilists)
กลุ่มที่สาม เชื่อว่า จุดสำคัญในวิชาภูมิศาสตร์ก็คือ การสร้างระบบการอยู่อาศัยร่วมกันระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ระบบดังกล่าวเรียกว่า ระบบนิเวศของมนุษย์
Area studies tradition หรือ Areal differentiation มุ่งศึกษาวิจัยธรรมชาติลักษณะและความแตกต่างของสถานที่ต่างๆบนผิวโลก นักภูมิสาสตร์คนสำคัญ คือ ริชาร์ด ฮาร์ทชอร์น (Richard Hartshorne) นอกจากแนวความคิดแตกต่างจากพื้นที่ยังได้สรุปว่า การศึกษาวิจัยด้วยวิธีการ สังเคราะห์ อย่างเป็นระบบในกรอบของ ภูมิภาค ทำให้เกิดคำนิยามของวิชาภูมิศาสตร์ขึ้นว่า “ภูมิศาสตร์” เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับความแตกต่างทางพื้นที่ ผลิตผลคือ วิชาภูมิศาสตร์ภูมิภาค แนวความคิดดังกล่าวถูกโจมตีอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นแนวทางการศึกษาวิจัยที่ไม่เป็นเชิงวิทยาศาสตร์ทำให้ขาดความรัดกุม เชื่อถือ และพิสูจน์ได้ยาก
Earth science tradition มุ่งเน้นเกี่ยวกับโลกในส่วนที่เป็นธรณีภาค (Lithosphere) บรรยายกาศ(Atmosphere) ตลอดจนความสัมพันธ์กันระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ความเชื่อดังกล่าวก่อให้เกิดวิชา ภูมิศาสตร์กายภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ ดังนั้นคำนิยามภูมิศาสตร์จึงกล่าวว่า “ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับโลก”
Spatial tradition ให้ความสำคัญเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ทางพื้นที่ของปรากฏการณ์ต่างๆ ทำให้เกิดนิยามทางภูมิศาสตร์ว่า “ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์เกี่ยวพื้นที่” (Geography is the study of space) ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างสูงและถือเป็น แกนนำ
กลุ่มที่สาม เชื่อว่า จุดสำคัญในวิชาภูมิศาสตร์ก็คือ การสร้างระบบการอยู่อาศัยร่วมกันระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ระบบดังกล่าวเรียกว่า ระบบนิเวศของมนุษย์
Area studies tradition หรือ Areal differentiation มุ่งศึกษาวิจัยธรรมชาติลักษณะและความแตกต่างของสถานที่ต่างๆบนผิวโลก นักภูมิสาสตร์คนสำคัญ คือ ริชาร์ด ฮาร์ทชอร์น (Richard Hartshorne) นอกจากแนวความคิดแตกต่างจากพื้นที่ยังได้สรุปว่า การศึกษาวิจัยด้วยวิธีการ สังเคราะห์ อย่างเป็นระบบในกรอบของ ภูมิภาค ทำให้เกิดคำนิยามของวิชาภูมิศาสตร์ขึ้นว่า “ภูมิศาสตร์” เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับความแตกต่างทางพื้นที่ ผลิตผลคือ วิชาภูมิศาสตร์ภูมิภาค แนวความคิดดังกล่าวถูกโจมตีอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นแนวทางการศึกษาวิจัยที่ไม่เป็นเชิงวิทยาศาสตร์ทำให้ขาดความรัดกุม เชื่อถือ และพิสูจน์ได้ยาก
Earth science tradition มุ่งเน้นเกี่ยวกับโลกในส่วนที่เป็นธรณีภาค (Lithosphere) บรรยายกาศ(Atmosphere) ตลอดจนความสัมพันธ์กันระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ความเชื่อดังกล่าวก่อให้เกิดวิชา ภูมิศาสตร์กายภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ ดังนั้นคำนิยามภูมิศาสตร์จึงกล่าวว่า “ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับโลก”
Spatial tradition ให้ความสำคัญเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ทางพื้นที่ของปรากฏการณ์ต่างๆ ทำให้เกิดนิยามทางภูมิศาสตร์ว่า “ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์เกี่ยวพื้นที่” (Geography is the study of space) ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างสูงและถือเป็น แกนนำ
ภูมิศาสตร์ในอนาคต
ภูมิศาสตร์ในอดีต มุ่งเน้นที่จะ บรรยาย หรือ พรรณนา ปรากฏการณ์ของสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลก ในทางตรงข้ามภูมิศาสตร์ในปัจจุบันมุ่งเน้นที่จะ อธิบาย และ พยากรณ์ ปรากฏการณ์ของสิ่งต่างๆบนพื้นที่ ฉะนั้นคำถามเกี่ยวกับปัญหาทางภูมิศาสตร์จึงเน้นคำว่า “ ทำไม ” หรือ “ เพราะเหตุใด ” หรือ “ อย่างไร ”
วิชาภูมิศาสตร์จะได้รับการพัฒนามากยิ่งขึ้น โดยยึดถือ Spatial tradition เป็นแกนนำ ส่วนแนวความคิดทางด้านอื่นอีกสามด้านก็จะได้รับการประยุกต์วิธีการทางด้านปริมาณวิเคราะห์ สถิติ โมเดล สมการ ดังนั้น วิชาภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน จึงมีลักษณะที่แตกต่างจากภูมิศาสตร์ในอดีต ในสาระที่สำคัญสองประการ คือ ความแตกต่างกันด้านแนวความคิดทางภูมิศาสตร์และความแตกต่างกันทางด้านวิธีการศึกษา ตัวแปรทั้งสองดังกล่าวจะเป็นตัวกำหนดทิศทางภูมิศาสตร์ในปัจจุบันและอนาคตว่าจะมีลักษณะเนื้อหาวิชาและวิธีการศึกษาเน้นหนักไปในทางใด
ภูมิศาสตร์ในอดีต มุ่งเน้นที่จะ บรรยาย หรือ พรรณนา ปรากฏการณ์ของสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลก ในทางตรงข้ามภูมิศาสตร์ในปัจจุบันมุ่งเน้นที่จะ อธิบาย และ พยากรณ์ ปรากฏการณ์ของสิ่งต่างๆบนพื้นที่ ฉะนั้นคำถามเกี่ยวกับปัญหาทางภูมิศาสตร์จึงเน้นคำว่า “ ทำไม ” หรือ “ เพราะเหตุใด ” หรือ “ อย่างไร ”
วิชาภูมิศาสตร์จะได้รับการพัฒนามากยิ่งขึ้น โดยยึดถือ Spatial tradition เป็นแกนนำ ส่วนแนวความคิดทางด้านอื่นอีกสามด้านก็จะได้รับการประยุกต์วิธีการทางด้านปริมาณวิเคราะห์ สถิติ โมเดล สมการ ดังนั้น วิชาภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน จึงมีลักษณะที่แตกต่างจากภูมิศาสตร์ในอดีต ในสาระที่สำคัญสองประการ คือ ความแตกต่างกันด้านแนวความคิดทางภูมิศาสตร์และความแตกต่างกันทางด้านวิธีการศึกษา ตัวแปรทั้งสองดังกล่าวจะเป็นตัวกำหนดทิศทางภูมิศาสตร์ในปัจจุบันและอนาคตว่าจะมีลักษณะเนื้อหาวิชาและวิธีการศึกษาเน้นหนักไปในทางใด
( วิชัย ศรีคำ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น