วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553
เลือกสีให้ถูกโฉลก ตามตำรามอญโบราณ
ความสำเร็จ: สีม่วง
โชคลาภ: สีขาว
ทะเลาะ,มีปากเสียง: สีเขียว
เจ็บป่วย: สีดำ น้ำเงิน
อำนาจ: สีครีม เทา
มรณะ: สีชมพู
บริวาร,การช่วยเหลือ: สีเเดง
วันจันทร์
ความสำเร็จ: สีขาว ครีม เทา
โชคลาภ: สีชมพู
ทะเลาะ,มีปาเสียง: สีม่วง
เจ็บป่วย: สีดำ น้ำเงิน
อำนาจ: สีเขียว
มรณะ: สีเเดง
บริวาร,การขอความช่วยเหลือ: สีเหลือง ส้ม
วันอังคาร
ความสำเร็จ: สีดำ น้ำเงิน
โชคลาภ: สีเขียว
ทะเลาะ,มีปากเสียง: สีครีม เทา
เจ็บป่วย: สีขาว
อำนาจ: สีเเดง
มรณะ: สีม่วง ส้ม เหลือง
บริวาร,การขอความช่วยเหลือ: สีชมพู
วันพุธ
ความสำเร็จ: สีเเดง
โชคลาภ: สีม่วง ส้มเหลือง
ทะเลาะ,มีปากเสียง: สีดำ น้ำเงิน
เจ็บป่วย: สีชมพู
อำนาจ: สีขาว
มรณะ: สีครีม เทา
บริวาร,การขอความช่วยเหลือ: สีเขียว
วันพฤหัสบดี
ความสำเร็จ: สีขาว
โชคลาภ: สีครีม เทา
ทะเลาะ,มีปากเสียง: สีเเดง
เจ็บป่วย: สีเขียว
อำนาจ: สีชมพู
มรณะ: สีดำ น้ำเงิน
บริวาร,การขอความช่วยเหลือ: สีม่วง ส้ม เหลือง
วันศุกร์
ความสำเร็จ: สีชมพู
โชคลาภ: สีดำ น้ำเงิน
ทะเลาะ,มีปากเสียง: สีขาว
เจ็บป่วย: สีม่วง ส้ม เหลืองว
อำนาจ: สีเขียว
มรณะ: สีเเดง
บริวาร,การขอความช่วยเหลือ: สีครีม เทา
วันเสาร์
ความสำเร็จ: สีเขียว
โชคลาภ: สีเเดง
ทะเลาะ,มีปากสียง: สีชมพู
เจ็บป่วย: สีครีม เทา
อำนาจ: สีม่วง ส้ม เหลือง
มรณะ: สีขาว
บริวาร,การขอความช่วยเหลือ: สีดำ นำเงิน
By...Sonia1988
มาตรฐานโรงพยาบาลไทย
วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553
นักภูมิศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่
ความเชื่อตามความคิดของอาริสโตเติล และแบบจำลองระบบจักรวาลโดยปโตเลมี ที่ระบุและพิสูจน์ว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ไม่เพียงแต่ฝังรากลึกในแวดวงวิทยาศาสตร์ในยุคดัง กล่าวเท่านั้น แต่ความเชื่อดังกล่าวยังได้ฝังรากลึกในศาสนจักรคาทอลิกอย่างเหนียวแน่นอีกด้วย ซึ่งมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อนักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อมา อาทิเช่น โคเพอร์นิคัส หรือ กาลิเลโอ ที่พยายามพิสูจน์ว่าโลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล
นอกจากผลงานทางด้านดาราศาสตร์แล้ว ปโตเลมียังสร้างผลงานทางด้านคณิตศาสตร์ อาทิเช่น ทฤษฎีบทปโตเลมี (Ptolemy?s Theorem) ซึ่งอธิบายรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่าที่บรรจุอยู่ในวงกลม นอกจากนี้ ปโตเลมียังได้พิสูจน์ค่า Sin (A+B) Cos (A+B) ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของตรีโกณมิติ (Trigonometry) นอกจากเป็นนักคิดแล้ว ปโตเลมียังเป็นนักประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องมือด้านดาราศาสตร์ เพื่อใช้สำหรับการวัดมุมที่ดวงดาวหรือดวงอาทิตย์ทำมุมกับโลก
จากผลงานต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ของปโตเลมีที่ได้สร้างคุณประโยชน์มากมาย จนถือได้ว่าปโตเลมีเป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคในเวลานั้น โดยเฉพาะผลงานทางด้านดาราศาสตร์ที่ได้มีอิทธิพลและเป็นที่ยอมรับมาเป็นเวลานานร่วม 1,400 ปี จนกระทั่งโคเพอร์นิคัส ได้พิสูจน์ว่าระบบจักรวาลของปโตเลมีไม่ถูกต้อง
การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขและงานรังวัดด้วยดาวเทียมเพื่อการสำรวจและออกแบบทางหลวง : กรณีศึกษาทางเลี่ยงเมืองแม่ฮ่องสอน
Abstract: งานวิจัยการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขและงานรังวัดด้วยดาวเทียม เพื่อการสำรวจและออกแบบทางหลวง:กรณีศึกษาทางเลี่ยงเมืองแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาแนวทางการใช้วิธีการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลข ให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสมกับงานด้านการสำรวจและออกแบบทางหลวง ซึ่งด้วยเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน วิธีการข้างต้นเป็นอีกแนวทางหนึ่งของการสำรวจรังวัดพิกัดตำแหน่ง การตรวจสอบหรือเปรียบเทียบกับข้อมูลพิกัดตำแหน่งที่ได้ทำการรังวัดภาคสนามไปแล้ว หรือให้ข้อมูลภาพรวมในพื้นที่ ได้เป็นอย่างดี ผลการวิจัยพบว่า ภาพถ่ายมาตราส่วน 1:15000 มีความเหมาะสมสำหรับขั้นตอนการสำรวจเบื้องต้น ภาพถ่ายมาตราส่วน 1:6000 มีความเหมาะสมสำหรับขั้นตอนการสำรวจขั้นต้น ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลภาพถ่ายเชิงเลข คือ แบบจำลองระดับสูง และ ภาพถ่ายดัดแก้ออโท สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการออกแบบแนวทาง การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินในเขตทาง หรือ ใช้ประกอบกับแบบแนวทางราบ จากการเปรียบเทียบภาพที่สแกนด้วยความละเอียด 15 และ 25 ไมครอน พบว่าภาพที่สแกนด้วยความละเอียด 25 ไมครอน สามารถใช้งานได้เพียงพอสำหรับการสำรวจเส้นทาง และขนาดจุดภาพของภาพดัดแก้ออโทที่ผลิตได้ที่เหมาะสมกับงานออกแบบทาง คือ 0.20 เมตร สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ ความถูกต้องของจุดพิกัดใน 3 มิติ ระยะเวลาในการทำงาน ขนาดพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการนำมาใช้ในขั้นตอนต่างๆของการสำรวจและออกแบบทางหลวง
Abstract: The purpose of the research is to study how digital photogrammetry and GPS can be suitably used in different stages for highway location and design. According to the present technology and the progress of computer, the above-mention is an alternative to survey for validation and comparing to the location with ground survey or providing the information in general to be effectively used for highway design. Resulting on the study area, aerial photo at scale 1:15000 is suitable for reconnaissance survey and photo at scale 1:6000 is suitable for preliminary survey. The outcomes of digital photogrammetric processing are digital elevation model and orthophoto. Those can be used for route design, property reclamation or overlaying with detail design plan. By comparison of images scanned at 15 and 25 micron resolution the digital image with latter resolution is adequate for route survey. The orthophoto produced at ground sampling distance of 0.20 meter can be optimally used for highway design. The important considerations are accuracy of the 3D points , timeliness , and manageable sizes of digital data for different stages of highway location and design
หนาวนี้ที่ “ภูหินร่องกล้า”
ก่อนอื่นฉันขอเล่าถึงประวัติความเป็นมาของที่นี่ก่อนแล้วกัน เพราะเวลาเราจะไปที่ไหนก็ควรรู้จักสถานที่นั้นไว้ก่อนไม่ใช่เหรอ สำหรับเทือกเขาแห่งนี้ เมื่อ 30 ปีก่อน เคยเป็นฐานที่มั่นของคอมมิวนิสต์ ต่อมาเมื่อทหารได้เข้ามาปราบปรามชาวเขาเผ่าม้งที่เคยเป็นคอมมิวนิสต์จึงกลับใจเข้ามอบตัวกับทางการ ทำให้มีถนนตัดผ่าน และได้ตั้งภูหินร่องกล้าเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2526 ที่นี่ยังมีร่องรอยประวัติศาสตร์ การสู้รบไปทั่วทั้งผืนป่าและรอยหิน แต่ใครจะรู้บ้างว่าท่ามกลางสมรภูมิรบในดินแดนแห่งนี้ ยังมีความงามซ่อนตัวอยู่
วันนี้เมื่อที่นี่กลายเป็น “อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า” ที่ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาสัมผัสเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ได้เปิดเผยให้เห็นความงดงามของธรรมชาติท่ามกลางป่าสน และดงดอกไม้นานาพันธ์ การมาภูหินร่องกล้าในหน้าหนาวเป็นความรู้สึกที่พิเศษ โดยเฉพาะคนกรุงเทพที่ไม่คุ้นเคยกับอากาศหนาว เพราะหนาวจริงๆ หนาวได้ใจ ถึงแม้ในเวลากลางวันอากาศจะไปทางค่อนข้างเย็นสบายจนถึงร้อนก็ตามเหอะ แต่พอตกเย็นเท่านั้นเสื้อหนาวมีเท่าไหร่ต้องขนออกมาใส่ให้หมด หนาวมากแต่ก็ได้บรรยากาศดี ยิ่งถ้าได้ก่อกองไฟทำเป็นเตาผิงยิ่งโรแมนติกใหญ่ ได้มองดูดาวเต็มฟ้า เวลาพูดก็จะมีไอเย็นออกจากปาก สูดอากาศเข้าไปก็ได้ออกซิเจนไปเต็มๆปอด แต่ขาดอย่างเดียวคือขาดคู่มากับเค้าด้วย (เฮ้อ.. แล้วจะโรแมนติกไหมเนี่ย)
เวลามาเที่ยวต่างจังหวัดแบบนี้ การตื่นเช้าก็เป็นข้อดีอีกอย่าง เพราะเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ ได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้น น้ำค้างกลิ้งบนยอดหญ้า ได้ยินเสียงไก่ขัน นกร้องจิ๊บๆ หรือแม้แต่เสียงลมพัดที่พัดพาเอากลิ่นหอมของดอกไม้ป่ามาด้วย คงไม่บ่อยครั้งนักที่เราจะได้มีโอกาสสังเกตุหลายสิ่งหลายอย่างรอบตัวอย่างไม่ต้องเร่งรีบ ชื่นชมความงามของธรรมชาติ และได้สัมผัสถึงการพักผ่อนจริงๆ
การมาเที่ยว อุทยานฯภูหินร่องกล้า ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรมากนัก เพราะที่นี่มีครบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายขนมและของที่ระลึก แค่เตรียมตัวฟิตร่างกายสักหน่อย เพราะแต่ละที่ค่อนข้างเดินไกลพอสมควร ที่สำคัญควรศึกษาหาข้อมูลไปบ้าง อย่างลานหินปุ่ม ลานหินแตก ผาชูธง และโรงเรียนการเมืองการทหารมีความเป็นมายังไง ถ้าเราทราบไว้เวลาไปเที่ยวก็จะสนุกยิ่งขึ้น แต่ที่ไม่ควรพลาดก็คือ อย่าลืมพกกล้องถ่ายรูปไปด้วย เพราะที่นี่มีวิวสวยๆให้ถ่ายรูปเยอะ อย่างจุดไฮไลท์ที่สุดก็คือที่ลานหินปุ่มและตรงผาชูธง 2 จุดนี้มีคนไปรอต่อคิวถ่ายรูปเพียบ ยิ่งถ้าไปตอนพระอาทิตย์ตกก็จะได้รูปสวยๆกลับไปหลายใบเลยล่ะ แต่ถ้าจะถ่ายในอุทยานฯก็มีมุมเก๋ๆ อย่าง ใต้ต้นเมเปิ้ล ตรงนี้ฮอตสุดๆ หรือจะเป็นโซนที่พักด้านหลังที่มีต้นนางพญาเสือโคร่งกำลังออกดอกสีชมพูบานสะพรั่ง ถ่ายออกมาได้เหมือนอยู่ในดินแดนซากุระ ดูคิกขุอาโนเนะไปอีกแบบ แต่ถ้าใครอยากได้มุมอาร์ตหน่อยแนะนำให้ไปที่ร้านกาแฟหน้าอุทยานตรงนี้มีมุมให้นั่งถ่ายรูปหลายมุม แถมยังมีดอกไม้รอบๆร้านเป็นอุปกรณ์ประกอบฉากที่ไม่ต้องเสียสตางค์เลยล่ะ
BY...SONIA1988
สูดไอสวรรค์บนดิน ที่ภูหินร่องกล้า
ในเช้าวันที่อากาศสดใสกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา ฉันตื่นแต่เช้าเพื่อเตรียมตัวออกเดินทางจากตัวเมืองพิษณุโลกมุ่งไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-วังทอง) เพื่อไปสู่จุดหมายปลายทาง “อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า” ซึ่งกินอาณาเขตหลายจังหวัด เมื่อรถไต่ระดับขึ้นไปตามทางสู่ยอดเขาลูกแล้วลูกเล่าด้วยเส้นทางคดเคี้ยวฉวัดเฉวียนน่าหวาดเสียว ที่เป็นทั้งเชิงผาสลับกับเชิงเขา ฉันสังเกตได้ว่าพันธุ์ไม้เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ยิ่งสูงขึ้นเหล่าบรรดาแมกไม้ยิ่งดูแปลกตามากขึ้นตามระดับของภูเขา จนกระทั่งใกล้เขตอุทยานฉันจึงเห็นต้นสนใหญ่ยักษ์ และเฟิร์นใบใหญ่หนา เป็นร้อยๆ พันๆ ขึ้นเต็มไปหมดหลังออกเดินทางจากตัวจังหวัดได้ประมาณ ๒ ชั่วโมง ฉันและเพื่อนก็มาถึงเขตอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า แม้ในตัวเมืองจะอากาศค่อนข้างร้อน แต่เมื่อมาถึงเขตอุทยานแล้วอากาศเย็นมากจนเกือบหนาว แลเห็นปุยเมฆอยู่ใกล้ๆ จนคิดว่าเกือบจะสัมผัสได้ จุดมุ่งหมายของเราคือสุดเขตอุทยานฯ ด้านจังหวัดเพชรบูรณ์ เราจึงเดินทางต่อโดยไม่หยุดพักระหว่างทางเลย แม้ระยะทางจากเขตอุทยานด้านจังหวัดพิษณุโลกถึงด้านจังหวัดเพชรบูรณ์จะสั้นกว่าระยะทางจากตัวเมืองถึงเขตอุทยานฯ มากนัก แต่กลับใช้เวลานานกว่ามาก เพราะเส้นทางที่คดเคี้ยวจำเป็นต้องใช้ความชำนาญและความระมัดระวังอย่างยิ่งยวด แม้ไม่ได้หยุดพักชื่นชมธรรมชาติ แต่ฉันก็ชื่นใจที่เห็นต้นไม้นานาพันธุ์ขึ้นรกครึ้มอย่างอุดมสมบูรณ์ ในที่สุดฉันและเพื่อนก็มาถึงสุดเขตอุทยานฯ ด้านจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อลงมาจากรถและสัมผัสกับอากาศเย็นบริสุทธิ์แล้ว ฉันก็ต้องตะลึงกับความสวยงามของทิวทัศน์ที่ได้เห็นอยู่ตรงหน้า ถนนเลียบเชิงเขาหลายเส้นทางดูเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม สวนผักที่ปลูกไว้เป็นขั้นบันไดตามไหล่เขาเขียวขจีสดชื่นตัดกับสีเหลืองจัดของดอกทานตะวันที่ขึ้นอยู่เต็มทุ่งกว้างสุดลูกหูลูกตาอีกด้าน ประกอบกับหมอกที่ลงจัดและเมฆที่ลอยต่ำจนแทบจะสัมผัสได้ ทั้งหมดนั้นฉันแทบไม่อยากเชื่อเลยว่าจะอยู่บนโลกยุ่งๆ ใบนี้ ก็แล้วใครจะเชื่อได้ล่ะว่าที่แห่งนี้อยู่บนโลกของเราจริงๆ ในเมื่อตอนเช้าตรู่ฉันยังตื่นขึ้นมาเจอแต่รถติด บ้านเรือนและตึกสูงในตัวจังหวัด แต่ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้นฉันก็ได้พบเห็นทั้งต้นสนต้นใหญ่อายุนับร้อยปีเป็นพันๆ ต้น และเฟิร์นใบยักษ์ที่เคยเห็นในภาพยนตร์เกี่ยวกับไดโนเสาร์นับหมื่นๆ กอ อีกทั้งอากาศบริสุทธิ์ที่ฉันสามารถสูดเข้าจมูกผ่านไปตามหลอดลมบรรจุเก็บไว้ในปอดได้อย่างเต็มที่ไม่ต้องกลัวมลพิษใดๆเจือปน ที่เหลือเชื่อกว่านั้นคือฉันได้สัมผัสกลุ่มไอน้ำสีขาว ที่ฉันเองก็ไม่แน่ใจว่าเป็นหมอกหรือเมฆกันแน่ คงไม่มีใครคัดค้านฉันแน่ ถ้าฉันจะบอกว่าที่แห่งนี้คือสวรรค์ และฉันก็มีโอกาสได้ขึ้นมาสูดไอสวรรค์ ณ ที่ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสวรรค์บนดินแห่งนี้แล้ว
เด็กชายอังกฤษระดมเงินช่วยเฮติได้ 50,000 ปอนด์ภายในวันเดียว
4 วิธีแก้คอเคล็ดเพราะตกหมอน
2. ประคบร้อน ด้วยกระเป๋าน้ำร้อนหรือผ้าชุบน้ำอุ่นบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอที่เจ็บประมาณ 20-30 นาที และกดนวดบริเวณคอเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น
3. ดัดยืดคอด้วยตนเอง โดยใช้มือช่วยดันศีรษะไปในทิศทางที่เกิดอาการตึงช้าๆ จนรู้สึกตึงเล็กน้อยแต่ไม่เจ็บ ดันค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที แล้วทำซ้ำ 5-10 ครั้ง จนเริ่มรู้สึกทุเลาลง
4. นวดเบาๆ โดยใช้มือบีบลงบนแนวของกล้ามเนื้อที่รู้สึกปวดเมื่อย ให้แรงบีบพอประมาณที่ทำให้รู้สึกแน่นตึงและไม่เจ็บ บีบและคลายเป็นจังหวะ การประคบร้อนก่อนการนวดจะช่วยให้นวดได้ง่ายขึ้น และผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้เร็วขึ้น
ดี...ร้าย ...แล้วแต่ใครจะมอง
เนื่องจากในออฟฟิศของเธอนั้น มีแต่คนที่ชอบให้ร้ายกันและกันเสมอ............
ที่แอบนินทาว่าเจ้านายลับหลัง
เธอเริ่มคิดว่า ทำไม? วัดนี้ไม่มีคนมาคอยดูแล
แผ่นดินไหวปานกลาง เขย่าวานูอาตู ไม่มีเตือนสึนามิ
...สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 25 ม.ค. ศูนย์สำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ รายงานว่า เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาดปานกลางในวานูอาตู แปซิฟิกใต้ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.4 ริคเตอร์ เมื่อเวลา 05.15 น. (ตามเวลาในท้องถิ่น) ซึ่งตรงกับเวลา 01.15 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) โดยศูนย์การแผ่นดินไหวห่างจากกึ่งกลางระหว่างทิศใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของ กรุงพอร์ทวิลลา 98 กิโลเมตร ลึก 15 กิโลเมตร
เบื้องต้นยังไม่มีประกาศเตือนสึนามิ และไม่มีรายงานความเสียหาย แต่เหตุแผ่นดินไหวรุนแรง ขนาด 8.0 ริคเตอร์ ซึ่งทำให้เกิดสึนามิขนาดใหญ่ในซามัว และอเมริกันซามัว รวมถึงตองก้า เมื่อเดือน ก.ย.ปีที่แล้ว สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนประชาชน รีสอร์ท และยังคร่าชีวิตประชาชนอีก 184 คน.
รู้ไหมว่า “สตอเบอรี่” มีดีแค่ไหน?
คงไม่ต้องแปลกใจ ที่เวลานี้เราจะเห็น “สตอเบอรี่” ขายอยู่ เกลื่อนตามท้องตลาด เรียกว่าเดินไปทางไหนก็เจอ.. แต่ที่นิยมกันมากก็คงจะเป็นสตอเบอรี่ที่ใส่แก้วเล็กๆขาย ราคาก็จะอยู่ที่ประมาณ 20-30 บาท เรียกได้ว่าซื้อหามารับประทานกันได้ง่ายและสะดวกทีเดียวในช่วงนี้
นอกจากสีสันและรูปลักษณ์ที่เข้าท่าน่ารับประทานยิ่งของเจ้าสตอเบอรี่นี้ จึงกลายเป็นผลไม้ที่หลายคนชอบนัก แต่ก็ใช่ว่าจะหารับประทานกันได้ง่ายเพราะจะมีแต่ช่วงหน้าหนาวซึ่งเป็นระยะ เวลาสั้นๆนี่เองที่เราจะได้รับประทานเจ้าผลไม้ชนิดนี้กันอย่างหนำใจ เพราะถ้าเป็นช่วงนอกฤดูแล้วละก็ เรื่องราคาไม่ต้องพูดถึงถือว่าแพงใช่เล่นเลยทีเดียว
แต่ก็เอาเถอะค่ะ ราคาจะขนาดไหนกันเชียว เมื่อเทียบกับคุณประโยชน์มหาศาล ที่อัดแน่นอยู่ในสตอเบอรี่แดงฉ่ำแสนอร่อยลูกนี้ มาดูกันซิว่า สตอเบอรี่ จะมีดีแค่ไหน?
อย่างแรก สตอเบอรี่ เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีและวิตามินเอสูงมาก และสารทั้งสองชนิดนี้ ก็เป็นสารสำคัญที่สามารถต้านอนุมูลอิสระต้นเหตุของการเกิดโรคมะเร็งได้ ซึ่งถ้าหากว่าเรารับประทานสตอเบอรี่เป็นประจำ ก็จะทำให้เราห่างไกลจากโรคนอกจากนั้น สตอเบอรี่ยังมี ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส และแคลเซียม ที่มาช่วยซ่อมแซมส่วนต่างๆที่สึกหรอของร่างกาย ช่วยให้ระบบเลือดและหัวใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยลดความดันโลหิตได้อีกด้วย
ยังไม่หมด สตอเบอรี่ ยังอุดมด้วยไฟเบอร์เพคติน ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลลงได้ระดับหนึ่ง เรียกได้ว่ากินเท่าไหร่ก็ไม่ต้องกลัวอ้วนหรือน้ำตาลขึ้นเหมือนผลไม้ชนิด อื่นๆแน่นอน
มะเร็ง และก็ยังมีสุขภาพผิวที่ดีสดชื่นเปล่งปลั่งไม่แพ้ใคร
2 เด็กไทยเจ๋ง ชนะเลิศ จรวดขวดน้ำ เอเชียฯ
วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553
ภูมิศาสตร์ในปัจจุบันและอนาคต (Geography at Present and in the Future)
Geography at Present and in the Future
1. Man-land tradition หรือ Man-land ( environment) relations
2. Area studies tradition หรือ Areal differentiation
3. Earth science tradition
4. Spatial tradition
กลุ่มที่สาม เชื่อว่า จุดสำคัญในวิชาภูมิศาสตร์ก็คือ การสร้างระบบการอยู่อาศัยร่วมกันระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ระบบดังกล่าวเรียกว่า ระบบนิเวศของมนุษย์
Area studies tradition หรือ Areal differentiation มุ่งศึกษาวิจัยธรรมชาติลักษณะและความแตกต่างของสถานที่ต่างๆบนผิวโลก นักภูมิสาสตร์คนสำคัญ คือ ริชาร์ด ฮาร์ทชอร์น (Richard Hartshorne) นอกจากแนวความคิดแตกต่างจากพื้นที่ยังได้สรุปว่า การศึกษาวิจัยด้วยวิธีการ สังเคราะห์ อย่างเป็นระบบในกรอบของ ภูมิภาค ทำให้เกิดคำนิยามของวิชาภูมิศาสตร์ขึ้นว่า “ภูมิศาสตร์” เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับความแตกต่างทางพื้นที่ ผลิตผลคือ วิชาภูมิศาสตร์ภูมิภาค แนวความคิดดังกล่าวถูกโจมตีอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นแนวทางการศึกษาวิจัยที่ไม่เป็นเชิงวิทยาศาสตร์ทำให้ขาดความรัดกุม เชื่อถือ และพิสูจน์ได้ยาก
Earth science tradition มุ่งเน้นเกี่ยวกับโลกในส่วนที่เป็นธรณีภาค (Lithosphere) บรรยายกาศ(Atmosphere) ตลอดจนความสัมพันธ์กันระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ความเชื่อดังกล่าวก่อให้เกิดวิชา ภูมิศาสตร์กายภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ ดังนั้นคำนิยามภูมิศาสตร์จึงกล่าวว่า “ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับโลก”
Spatial tradition ให้ความสำคัญเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ทางพื้นที่ของปรากฏการณ์ต่างๆ ทำให้เกิดนิยามทางภูมิศาสตร์ว่า “ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์เกี่ยวพื้นที่” (Geography is the study of space) ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างสูงและถือเป็น แกนนำ
ภูมิศาสตร์ในอดีต มุ่งเน้นที่จะ บรรยาย หรือ พรรณนา ปรากฏการณ์ของสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลก ในทางตรงข้ามภูมิศาสตร์ในปัจจุบันมุ่งเน้นที่จะ อธิบาย และ พยากรณ์ ปรากฏการณ์ของสิ่งต่างๆบนพื้นที่ ฉะนั้นคำถามเกี่ยวกับปัญหาทางภูมิศาสตร์จึงเน้นคำว่า “ ทำไม ” หรือ “ เพราะเหตุใด ” หรือ “ อย่างไร ”
วิชาภูมิศาสตร์จะได้รับการพัฒนามากยิ่งขึ้น โดยยึดถือ Spatial tradition เป็นแกนนำ ส่วนแนวความคิดทางด้านอื่นอีกสามด้านก็จะได้รับการประยุกต์วิธีการทางด้านปริมาณวิเคราะห์ สถิติ โมเดล สมการ ดังนั้น วิชาภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน จึงมีลักษณะที่แตกต่างจากภูมิศาสตร์ในอดีต ในสาระที่สำคัญสองประการ คือ ความแตกต่างกันด้านแนวความคิดทางภูมิศาสตร์และความแตกต่างกันทางด้านวิธีการศึกษา ตัวแปรทั้งสองดังกล่าวจะเป็นตัวกำหนดทิศทางภูมิศาสตร์ในปัจจุบันและอนาคตว่าจะมีลักษณะเนื้อหาวิชาและวิธีการศึกษาเน้นหนักไปในทางใด
การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล
สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง
เพื่อศึกษาวิจัยและการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลและสิ่งแวดล้อม
อัญธิชา พรมเมืองคุก จีรวัฒน์ พุ่มเพชร วัลยา แซ่เตียว สุมาลี พบบ่อเงิน
ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรชายฝั่งทะเลและสภาพแวดล้อมของพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง ได้แก่ ขอบเขตพื้นที่ ตำแหน่งสถานที่ การใช้ที่ดิน สภาพภูมิประเทศ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ป่าชายเลน สภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน การกระจายของฝนในรอบปี
2. เพื่อจัดทำแผนที่แสดงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง
3. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพทรัพยากรดินและลักษณะภูมิประเทศภายหลังการเกิดภัยธรรมชาติคลื่นสึนามิ
4. เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และฐานข้อมูลทรัพยากรชายฝั่งทะเลและสภาพแวดล้อมของพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง
ระเบียบวิธีการวิจัย
2. สำรวจและจัดทำข้อมูลทรัพยากรดิน ทรัพยากรป่าชายเลน ทรัพยากรน้ำ
3. วิเคราะห์สมบัติทางฟิสิกส์และทางเคมีของทรัพยากรดินและแหล่งน้ำ ในห้องปฏิบัติการ
4. วิเคราะห์ข้อมูลสภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน การกระจายของฝนในรอบปี
5. ศึกษาและวิเคราะห์สภาพทรัพยากรดินและลักษณะภูมิประเทศ ภายหลังการเกิดภัยธรรมชาติคลื่น สึนามิ
6. จัดทำแผนที่แสดงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง
7. จัดทำฐานข้อมูลของทรัพยากรชายฝั่งทะเลและสภาพแวดล้อมในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำหรับสถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง
ผลผลิตทางวิชาการและการใช้ประโยชน์
2. ฐานข้อมูลของทรัพยากรชายฝั่งทะเลและสภาพแวดล้อมในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ของพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนองและบริเวณใกล้เคียง
3. แผนที่แสดงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง
รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของโครงการวิจัย
1. คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของบริเวณสถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง เช่น ภาพถ่ายทางอากาศก่อนการเกิดและหลังการเกิดคลื่นสึนามิของกรมแผนที่ทหาร ข้อมูลทรัพยากรดินและแผนที่ดินของกรมพัฒนาที่ดิน ข้อมูลสภาพภูมิอากาศ (ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์)
2. ออกทำการสำรวจพื้นที่บริเวณสถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง เมื่อวันที่ 20-27 กันยายน 2548 เพื่อเก็บข้อมูลภาคสนามเกี่ยวทรัพยากรดิน สภาพภูมิประเทศ ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินและพืชพรรณ โดยดำเนินการสำรวจดินและทำแผนที่ดินแบบละเอียดมาก (very detailed soil maps) ซึ่งมีระยะหลุมเจาะตรวจสอบดินทุกๆ 50 เมตร พร้อมกับเก็บตัวอย่างดินของแต่ละชั้นดินในแต่ละหน่วยแผนที่ดิน (ชุดดินและประเภทของชุดดิน) โดยเก็บตัวอย่างดินทั่วทั้งบริเวณสถานีวิจัยฯ และในบริเวณแปลงปลูก จำนวน 56 ตัวอย่าง เพื่อการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินและธาตุอาหารพืช สมบัติทางฟิสิกส์ของดิน
3. จากการสำรวจและขุดเจาะดิน พบว่า น้ำทะเลจากคลื่นสึนามิซึ่งไหลท่วมแผ่กระจายทั่วทั้งพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง ได้นำตะกอนทรายจากบริเวณชายหาดประพาสริมฝั่งทะเลอันดามันและตะกอนทรายจากบริเวณปากคลองกำพวน (ปลายแหลมหาดประพาส) มาตกทับถมแพร่กระจายทั่วทั้งพื้นที่ มีความหนาของตะกอนทรายอยู่ในช่วง 1- 14 เซนติเมตร (โดยเฉลี่ยมีความหนา 4-10 เซนติเมตร) โดยบริเวณพื้นที่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของสถานีวิจัยฯ จะมีตะกอนทรายตกทับถมมีความหนาเฉลี่ยประมาณ 8-10 เซนติเมตร ส่วนบริเวณที่มีตะกอนทรายทับถมมากที่สุด (มีความหนา 10-14 เซนติเมตร) คือ พื้นที่เนินทรายริมคลองกำพวนบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงที่มีคลื่นสึนามิ พัดพาน้ำทะเลไหลท่วม (spread flooding) ทั่วทั้งพื้นที่สถานีวิจัยฯนั้น ด้านหนึ่งน้ำทะเลได้ไหลท่วมจากบริเวณหาดทรายริมฝั่งทะเลอันดามัน (ด้านทิศตะวันตก)ไปสู่ด้านคลองกำพวน(ด้านทิศตะวันออก) และอีกด้านหนึ่งจากบริเวณปากคลองกำพวน (ตอนเหนือของปลายแหลมประพาส)ไปสู่ทางด้านท้ายคลองและหมู่บ้านทรายขาว (ด้านทิศใต้) จึงทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวข้างต้นมีตะกอนทรายและเศษวัสดุทับถมกันมากที่สุด (ดังภาพที่ 1 และภาพที่ 2) นอกจากนั้นยังพบว่า พื้นที่บางบริเวณของสถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนองยังถูกน้ำทะเลจากคลื่นสึนามิ กัดเซาะพังทลายแบบกษัยการร่องลึก (gully erosion) หลายบริเวณทั่วทั้งพื้นที่ (ดังภาพที่ 3 และภาพที่ 4)
ภาพที่ 1 แผนที่แสดงความหนาของชั้นตะกอนทรายที่ทับถมโดยคลื่นสึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวามคม พ.ศ. 2547
ในบริเวณพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง ตำบลบ้านกำพวน กิ่งอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง
ภาพที่ 2 แผนที่แสดงเส้นชั้นความหนาของตะกอนทรายที่ทับถมโดยคลื่นสึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวามคม พ.ศ. 2547
ในบริเวณพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง ตำบลบ้านกำพวน กิ่งอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญ
1.) องค์ประกอบของลูกโลก องค์ประกอบหลักของลูกโลกจะประกอบไปด้วย
1.1) เส้นเมริเดียนหรือเส้นแวง เป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปจดขั้วโลกใต้ ซึ่งกำหนดค่าเป็น 0 องศา ที่เมืองกรีนิช
1) ประโยชน์ของรูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม ที่นิยมใช้กันมากจะเป็นรูปหรือภาพถ่ายที่ได้จากการสะท้อนคลื่นแสงของดวงอาทิตย์ขึ้นไปสู่เครื่องบันทึกที่ติดอยู่บนเครื่องบินหรือดาวเทียม การบันทึกข้อมูลอาจจะทำโดยใช้ฟิลม์ เช่น รูปถ่ายทางอากาศสีขาว-ดำ หรือรูปถ่ายทางอากาศสีธรรมชาติ การบันทึกข้อมูลจากดาวเที่ยมจะใช้สัญญาณเป็นตัวเลขแล้วจึงแปลงค่าตัวเลขเป็นภาพจากดาวเทียมภายหลัง
2) การใช้รูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม ผู้ใช้จะต้องได้รับการฝึกหัดเพือแปลความหมายของข้อมูล การแปลความหมายอาจจะใช้การแปลด้วยสายตาตามความสามารถของแต่ละบุคคล หรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมเข้ามาช่วย
1.4 เครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาภูมิศาสตร์
ในโลกยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร และข้อมูลที่เป็นตัวเลขจำนวนมาก เทคโนโลยีจึงเข้ามามีความสำคัญ และจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต เทคโนโลยีที่สำคัญด้านภูมิศาสตร์ คือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์หรือ GIS (Geographic Information System) และระบบกำหนดตำแหน่งพื้นผิวโลกหรือGPS (Global PositioningSystem) เครื่องมือทั้งสองจะประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ หรือฮาร์ดแวร์ (Hard ware) ซึ่งมีขนาดต่างๆและโปรแกรมหรือซอฟแวร์ (Software)1) ประโยชน์ของเครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาภูมิศาสตร์ จะคล้ายกับการใช้ประโยชน์จากแผนที่สภาพภุมิประเทศและแผนที่เฉพาะเรื่อง เช่น จะให้ตำตอบว่า ถ้าจะต้องเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในแผนที่จะมีระยะทางเท่าใด และถ้าทราบความเร็วของรถจะทราบได้ว่าจะใช้เวลานานเท่าใด หลักการทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ คือ การจัดหมวดหมู่ของข้อมูลตามความต้องการที่จะนำไปวิคราะห์การคัดเลือกตัวแปร หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การจัดลำดับความสำคัญของปัจจัย และการซ้อนทับข้อมูล ตัวอย่างเช่น ต้องการหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือเหมาะสมดี เหมาะสมปานกลาง และไม่เหมาะสม โดยคัดเลือกข้อมูล 2 ประเภท คือ ดินและสภาพภูมิประเทศ 2) การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาภูมิศาสตร์ การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีจำเป็นต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรม ผู้ใช้จะต้องได้รับการฝึกฝนก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ
2. แหล่งข้อมูลสารสนเทศของไทย
ปัจจุบันได้มีการคิดค้นและพัฒนาการข้อมูลสารสนเทศอย่างรวดเร็ว และได้เผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณชนมาก โดยเฉพาะการนำข้อมูลเข้าเว็บไซต์ให้ประชาชนและผู้สนใจทั่วไปเข้าไปดูข้อมูลได้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล แต่ข้อมูลบางชนิดอาจต้องติดต่อจากหน่วยงานนั้นๆโดยตรง ทั้งจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน เว็บไซต์ที่น่าสนใจ เช่นข้อมูลด้านสถิติ(http://www.nso.go.th/) ข้อมูลประชากร(http://www.dola.go.th/) ข้อมูลดาวเทียม(http://www.gistda.go.th/) ข้อมูลดินและการใช้ที่ดิน (http://www.dld.go.th/) เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ใช้ประกอบการศึกษาและการเก็บข้อมูล เครื่องมือบางชนิดเหมาะสำหรับใช้ในห้องเรียน หรือห้องปฏิบัติการ เครื่องมือบางชนิดใช้ได้สำหรับในห้องเรียนและในสนาม ผู้ใช้จะได้รู้ว่าเมื่อใด ควรใช้เครื่องมือภูมิศาสตร์ในห้องเรียน และเมื่อใดควรใช้ในภาคสนาม เครื่องมือบางชนิดจะมีความซับซ้อนมาก หรือต้องใช่ร่วมกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรม เครื่องมือทางภูมิสาสตร์ที่มีความสำคัญมากในปัจจุบันคือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ซึ่งแปลงสารสนเทศที่เกี่ยวกับพื้นที่ และข้อมูลตารางหรือคำอธิบายที่ให้เป็นข้อมูลเชิงตัวเลขทำให้การจัดเก็บเรียกดูข้อมูล การปรับปรุงแก้ไขและการวิเคราะห์เป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้องและแสดงผลในรูปแบบแผนที่ กราฟ หรือตารางได้อย่างถูกต้องอีกด้วย ส่วนระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก(GIS) ใช้กำหนดจุดพิกัดตำแหน่งของวัตถุต่างๆ บนผิวโลก โดยอาศัยสัญญาณ จากดาวเทียมหลายดวงที่โคจรอยู่รอบโลก
เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
2. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence ; AI) เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถที่จะคิดแก้ปัญหา และให้เหตุผลได้เหมือนอย่างการใช้ภูมิปัญญาของมนุษย์จริง ปัจจุบันที่นักวิทยาศาสตร์ในหลายสาขาวิชาได้ศึกษา และทดลองที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานที่มีเหตุผล โดยการเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ซึ่งความรู้ทางด้านนี้ถ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ อย่างมากมาย เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างผู้เชี่ยวชาญ และหุ่นยนต์ (Robotics) เป็นการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ให้สามารถปฏิบัติงาน และใช้ทักษะการเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับการทำงานของมนุษย์ เป็นต้น
3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information System ; EIS) เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนในงานระดับวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การ โดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำผู้บริหารในการตัดสินใจ เมื่อประสบปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง โดย EIS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ เช่น สถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ รวมทั้งสถานะของคู่แข่งขันด้วย โดยที่ระบบจะต้องมีความละเอียดอ่อนตลอดจนง่ายต่อการใช้งาน เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากไม่เคยชินกับการติดต่อและสั่งงานโดยตรงกับระบบคอมพิวเตอร์
4. การจดจำเสียง (Voice Recognition) เป็นความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์จดจำเสียงของผู้ใช้ ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสาขานี้ยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการ ถ้าในอนาคตนักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการนำความรู้ต่าง ๆ มาใช้สร้างระบบการจดจำเสียงก็จะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาลแก่การใช้งานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยที่ผู้ใช้จะสามารถออกคำสั่งและตอบโต้กับคอมพิวเตอร์แทนการกดแป้นพิมพ์ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ไม่เคยชินกับการใช้คอมพิวเตอร์ให้สามารถปรับตัวเข้ากับระบบได้ง่าย เช่น ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง การสั่งงานระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ และระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และขยายคุณค่าเพิ่มของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจ
5. การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Data Interchange ; EDI) เป็นการส่งข้อมูลหรือข่าวสารจากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่น โดยผ่านทางระบบสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การส่งคำสั่งซื้อไปยังผู้ขายโดยตรง ปัจจุบันระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะช่วยลดระยะเวลาในการทำงานของแต่ละองค์การลง โดยองค์การจะสามารถส่งและรับสารสนเทศในการดำเนินธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อและใบตอบรับผ่านระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่ ทำให้ทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูลไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง
6. เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optics) เป็นตัวกลางที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยการส่งสัญญาณแสงผ่านเส้นใยแก้วนำแสงที่มัดรวมกัน การนำเส้นใยแก้วนำแสงมาใช้ในการสื่อสารก่อให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับ "ทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway)" นี้จะเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยีเส้นใยแก้วนำแสงได้ส่งผลกระทบต่อวงการสื่อสารมวลชน และการค้าขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
7. อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงไปทั่วโลก มีผู้ใช้งานหลายล้านคน และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่สมาชิกสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนค้นหาข้อมูลจากห้องสมุดต่าง ๆ ได้ ในปัจจุบันได้มีหลายสถาบันให้ประเทศไทยที่เชื่อมระบบคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายนี้ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectec) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เป็นต้น
8. ระบบเครือข่าย (Networking System) โดยเฉพาะระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (Local Area Network, LAN) เป็นระบบสื่อสารเครือข่ายที่ใช้ในการระยะทางที่กำหนด ส่วนใหญ่จะภายในอาคารหรือในหน่วยงาน LAN จะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้สูงขึ้น รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ข้อมูลร่วมกัน และการเพิ่มความเร็วในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยังผลักดันให้เกิดการกระจายความรับผิดชอบในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศไปยังผู้ใช้มากกว่าในอดีต
9. การประชุมทางไกล (Teleconference) เป็นการนำเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายโทรทัศน์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เพื่อใช้สนับสนุนในการประชุมมีประสิทธิภาพ โดยผู้เข้าร่วมประชุมไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในห้องประชุมและพื้นที่เดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลาในการเดินทาง โดยเฉพาะในสภาวะการจราจรที่ติดขัด ตลอดจนผู้เข้าประชุมอยู่ในเขตที่ห่างไกลกันมาก
10. โทรทัศน์ตามสายและผ่านดาวเทียม (Cable and Sattlelite TV) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสื่อต่าง ๆ ไปยังผู้ชม จะมีผลทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่ไปได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้น โดยที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ได้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ชมรายการมีทางเลือกมากขึ้นและสามารถตัดสินใจในทางเลือกต่าง ๆ ได้เหมาะสมขึ้น
11. เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาจัดเก็บข้อมูล หรือข่าวสารในลักษณะที่แตกต่างกันทั้งรูปภาพ ข้อความ เสียง โดยสามารถเรียกกลับมาใช้เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ และยังสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ด้วยการประยุกต์เข้ากับความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์
12. การใช้คอมพิวเตอร์ในการฝึกอบรม (Computer Based Training) เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ หรือการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในด้านการเรียนการสอนที่เรียกว่า "คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน (Computer Assisted Instruction) หรือ CAI" การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสอนเปิดช่องทางใหม่ในการเรียนรู้ โดยส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนปรัชญาการเรียนรู้ด้วยตนเอง
13. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (Computer Aided Design ; CAD) เป็นการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลเข้ามาช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งรูปแบบหีบห่อของผลิตภัณฑ์หรือการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยทางด้านการออกแบบวิศวกรรม และสถาปัตยกรรมให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความเป็นจริง ตลอดจนช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในการออกแบบ โดยเฉพาะในเรื่องของเวลา การแก้ไข และการจัดเก็บแบบ
14. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต(Computer Aided Manufacturing ; CAM) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตสินค้าในโรงานอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์จะมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ในการทำงานที่ซ้ำกัน ตลอดจนสามารถตรวจสอบรายละเอียดและข้อผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ ซึ่งจะช่วยประหยัดระยะเวลาและแรงงาน ประการสำคัญช่วยให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอตามที่กำหนด
15. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์(Geographic Information System ; GIS) เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ทางด้านรูปภาพ (Graphics) และข้อมูลทางภูมิศาสตร์มาจัดทำแผนที่ในบริเวณที่สนใจ GIS สามารถนำมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ เช่น การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) การกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศและท้องถิ่น การวางแผนทางการตลาด การบริหารการขนส่ง การสำรวจและวางแผนป้องกันธรรมชาติ การช่วยเหลือและกู้ภัย เป็นต้น
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/102/noname7.htm
วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553
โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) สำหรับโรคไข้หวัดนก ในพื้นที่เฉพาะ
ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ GISTHAI ]
e - mail : sombat@gisthai.org
บทนำ
จากกระแสของโลกาภิวัฒน์ (Globalization) และการปฏิวัติของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Revolution) ทำให้สังคมหมู่บ้านโลก (Global Village) เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกๆ มิติ การไปมาหาสู่ การท่องเที่ยว รวมถึงการค้าขาย - แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ รวมถึงการเดินทางระหว่างประเทศและระหว่างทวีปของประชาชน เกิดขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตและการทำธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงกิจกรรมทางด้านการผลิตอาหารและทางด้านการปศุสัตว์ที่มีการเปลี่ยนแปลง เกิดการเคลื่อนย้าย ขนส่งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ซึ่งเป็นแหล่งพาหะสำคัญของโรคระบาดหลายประเภทที่สามารถติดต่อกับมนุษย์ได้ เช่น โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย โรคแอนเทรกซ์ โรควัวบ้า รวมถึงโรคไข้หวัดนกที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยในปัจจุบัน ผลกระทบจากโรคระบาดดังกล่าว ไม่เพียงส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ความเชื่อมั่น ซึ่งยังความหวาดระแวงให้เกิดกับประชาชนจำนวนมากที่ไม่กล้าบริโภคสัตว์ปีก ทั้งๆ ที่เป็นอาหารหลักของคนส่วนใหญ่
วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจเชิงพื้นที่ในการบริหารจัดการการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ หรือ โรคอุบัติซ้ำ
2. เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้แบบจำลอง (Model) ในการคาดการณ์แนวโน้มการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ จาก FAO มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ร่วมกับข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจเชิงพื้นที่ในการควบคุมและเฝ้าระวังการเกิดโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ
3. เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ของการแพร่ระบาดของโรคในช่วงปี พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน
4. เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการนำเสนอข้อมูลผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ของการแพร่ระบาดของโรค แนวโน้ม ความรุนแรง รวมถึงผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ
5. เพื่อวิเคราะห์และจัดทำแนวทางในการกำหนดแผนกลยุทธ์ โดยระบบสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจในการควบคุมและเฝ้าระวังการเกิดโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำเพื่อใช้ในการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังการเกิดโรคในพื้นที่ศึกษา
6. เพื่อฝึกอบรมบุคลกร ให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจเชิงพื้นที่ในการควบคุม ป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ
ขอบเขตการดำเนินงาน
1. ทำการออกแบบและพัฒนารูปแบบในการสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจในการควบคุม ป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ โดยมีขอบเขตการดำเนินงาน รวมถึงการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลเชิงพื้นที่ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ศึกษา รวม 10 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อ่างทอง ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และจังหวัดนครปฐม
2. ทำการวิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลเชิงพื้นที่ของข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของโรค (ในช่วงเวลา ปี พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน) เพื่อสนับสนุนการวางแผนและการตัดสินใจในการควบคุม การป้องกัน และการเฝ้าระวังการเกิดโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ
3. ทำการฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้และความสามารถในการทำงานเพื่อสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจในการควบคุมและเฝ้าระวังการเกิดโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยฝึกอบรมบุคลากร จากจังหวัดในพื้นที่ จำนวนทั้งสิ้น 20 คน เป็นระยะเวลา 4 วัน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. การรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ของข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์รูปแบบ แนวโน้ม และผลกระทบจากโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ เพื่อการสนับสนุนการวิเคราะห์และประเมินผลการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่ รวมถึงข้อมูลพื้นฐานทางด้านกายภาพ ประชากร เศรษฐกิจ และสังคมของพื้นที่
2. รูปแบบการวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลเพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์และประเมินผลการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ
3. การเชื่อมโยงและประยุกต์ใช้แบบจำลองในการคาดการณ์แนวโน้มการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ จากผลการศึกษาของ FAO ร่วมกับข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในเชิงพื้นที่
4. การพัฒนารูปแบบในการสนับสนุนการวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลเพื่อใช้สำหรับบริหารงานและการตัดสินใจของผู้บริหารของหน่วยงาน ในการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่
5. การประเมินผลและเปรียบเทียบข้อมูล (ในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน) ของการแพร่ระบาดของโรครวมทั้งระดับความรุนแรง คาบความซ้ำ เพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคและพื้นที่ปลอดภัย แนวโน้มการกระจายตัวและลำดับความสำคัญเร่งด่วนในการเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาด ฯลฯ
6. แนวทางในการกำหนดมาตรการและนโยบาย รวมถึงแผนกลยุทธ์เพื่อใช้ในการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาด และโรคติดต่ออุบัติใหม่
ข้อมูลเพิ่มเติม
• ความรู้ คำแนะนำ มาตรการเกี่ยวกับ สถานการณ์ไข้หวัดนก ของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.gisthai.org/research/bird_flu.html
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการวางแผนระบบบริการ
ผศ. ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร
เรื่องจริงของพายุสุริยะ (ตอนที่ 4)
ดังจะเห็นได้ชัดแล้วว่า ลมสุริยะหรือพายุสุริยะมีฤทธิ์เดชและอิทธิพลต่อโลกมากพอสมควร และสามารถสร้างความเสียหายแก่โลกได้ระดับหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องมีการเฝ้าติดตามดวงอาทิตย์เพื่อพยากรณ์พายุที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้า เพื่อจะได้เตรียมการรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดจากลมสุริยะได้อย่างทันท่วงที
ขณะนี้มีดาวเทียมหลายดวงที่มีหน้าที่คอยเฝ้าสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ตลอดเวลา ทำให้สามารถแจ้งเหตุการกระโชกของลมสุริยะที่เกิดจากคอโรนัลแมสอีเจกชันล่วงหน้าได้ประมาณ 1 หรือ 2 วันก่อนที่จะพัดมาถึงโลก ส่วนลมสุริยะที่แรงและเร็วที่สุดจะสามารถเตือนล่วงหน้าได้ประมาณครึ่งชั่วโมง เวลาเท่านี้ถือว่าเพียงพอสำหรับโรงไฟฟ้าที่จะเตรียมการระบบจ่ายไฟหรือระบบป้องกันฉุกเฉิน เพื่อรับมือกับความแปรปรวนที่จะเกิดขึ้นจากสนามแม่เหล็ก และยังนานพอที่จะเตือนนักดาราศาสตร์และประชาชนให้ตื่นขึ้นมาดูแสงเหนือ-แสงใต้ได้
ระยะเวลาล่วงหน้าของการพยากรณ์นี้ถูกจำกัดจากหลายปัจจัย เช่นโดยธรรมชาติที่มีอายุสั้นของแฟลร์ และโดยความที่ยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงกลไกการเกิดแฟลร์และคอโรนัลแมสอีเจกชัน ตำแหน่งการสังเกตการณ์ยังเป็นอุปสรรคสำคัญในการพยากรณ์อีกด้วย การสังเกตการณ์จากโลกและดาวเทียมบริเวณโลกจะมองเห็นผิวของดวงอาทิตย์ได้เฉพาะด้านที่หันเข้าสู่โลกเท่านั้น แต่ไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นบนผิวดวงอาทิตย์ด้านตรงข้ามได้เลย หากสามารถมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ฝั่งตรงข้ามได้แล้ว นักดาราศาสตร์คงจะสามารถพยากรณ์การเกิดพายุสุริยะล่วงหน้าได้นานขึ้น
เคล็ดลับของโซโฮอาศัยหลักการว่า ลมสุริยะที่พัดออกจากดวงอาทิตย์จะพัดพาอะตอมไฮโดรเจนที่กระจัดกระจายอยู่บริเวณสุริยะชั้นในไปรวมตัวเป็นชั้นของไฮโดรเจนโดยรอบ จนดูเหมือนกับว่ามีฟองก๊าซไฮโดรเจนล้อมรอบระบบสุริยะชั้นใน ฟองไฮโดรเจนนี้มีความหนาแน่นประมาณ 100 อะตอมต่อลิตร ถึงแม้ว่าจะเบาบางมาก แต่ก็ยังหนาแน่นพอที่จะเรืองแสงอัลตราไวโอเลตได้ เมื่อรังสีที่ปล่อยจากบริเวณกลุ่มจุดดำหรือแฟลร์บนดวงอาทิตย์กระทบถูกผนังของฟองนี้ จะกระตุ้นให้มีการเรืองแสงอัลตราไวโอเลตบริเวณที่ตรงกับด้านที่เกิดแฟลร์บนดวงอาทิตย์ซึ่งตรวจจับได้โดยกล้องสวอน (SWAN-Solar Wind Anisotropies) ของโซโฮ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่เราสามารถรับรู้ถึงการปะทุของแฟลร์บนดวงอาทิตย์ที่อยู่ด้านตรงข้ามกับโลกได้ โดยการสังเกตการเรืองแสงของฟองไฮโดรเจนนี้ ภาพของจุดเรืองแสงที่ปรากฏบน "จอ" นี้จะเคลื่อนที่ไปตามการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์
คาดหมายความเสียหายที่จะเกิดในรอบนี้
ในขณะนี้ (ต้นปี 2543) จำนวนจุดดำบนดวงอาทิตย์กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นตามลำดับตามวัฎจักรของดวงอาทิตย์ ช่วงสูงสุดของวัฏจักรสุริยะจะกินระยะเวลายาวนานพอสมควร โดยอาจจะนานหลายเดือนหรืออาจเกิน 1 ปี สำหรับช่วงสูงสุดในครั้งนี้คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2543 จนถึงกลางปี 2544
ถึงตอนนี้เราได้รู้จักกับลมสุริยะ พายุสุริยะ ตลอดจนปรากฏการณ์ข้างเคียงต่าง ๆ รวมถึงธรรมชาติของดวงอาทิตย์ได้ในระดับหนึ่ง หวังว่าเราคงจะประเมินภาพคร่าว ๆ ของผลกระทบจากพายุสุริยะที่จะเกิดขึ้นในช่วงปี 2543-44 นี้ได้พอสมควร และสามารถพิจารณาได้ว่าควรจะตื่นกลัวหรือตื่นเต้นกับปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้มากน้อยเพียงใด
ข้อมูลอ้างอิง
• The Sun As A Star, Roger J. Tayler, Cambridge University Press, 1997
• The New Solar System, Fourth Edition, J.Kelly Beatty, Carolyn Collins Petersen, Andrew Chaikin, Sky Publishing Corperation
• McGraw-Hill Encyclopedia of Astronomy Second Edition, McGraw-Hill, Sybil P. Parker, Jay M. Pasachoff
• SOHO Spies the Far Side of the Sun http://science.nasa.gov/newhome/headlines/ast23jun99_1.htm
• Sunspots and the Solar Cycle http://www.sunspotcycle.com/
• CNN : Space weather to get watches and warnings http://cnn.com/TECH/space/9811/03/space.weather/
• http://cnn.com/NATURE/9904/13/solar.enn/index.html
• http://cnn.com/TECH/space/9906/01/solar.storms.ap/
• The Corona http://umbra.nascom.nasa.gov/spartan/the_corona.html
• A Solar Flare Effect http://www.ips.oz.au/background/richard/sfe.html
• Post Flare Loops http://science.nasa.gov/ssl/pad/solar/loops.htm
• Coronal Mass Ejections http://science.nasa.gov/ssl/pad/solar/cmes.htm
• What is a Solar Flare? http://hesperia.gsfc.nasa.gov/~benedict/flaref.htm
• Q & A http://hesperia.gsfc.nasa.gov/~benedict/questions.htm
• SOLAR FLARES AND MAGNETIC SHEAR http://science.msfc.nasa.gov/ssl/pad/solar/flaremag.htm
• The Solar Dynamo http://wwwssl.msfc.nasa.gov/ssl/pad/solar/dynamo.htm
• Solar Flares http://wwwssl.msfc.nasa.gov/ssl/pad/solar/flares.htm
• Magnetism - the Key to Understanding the Sun http://wwwssl.msfc.nasa.gov/ssl/pad/solar/the_key.htm
• Solar Dynamo Position http://soi.stanford.edu/results/agu96.html
• The sun's influence on earth http://www.astro.uva.nl/~michielb/sun/aarde.htm
http://thaiastro.nectec.or.th/library/solarstormfacts/solarstormfacts4.html
เรื่องจริงของพายุสุริยะ
ผลกระทบของวัฏจักรดวงอาทิตย์ที่มีต่อโลก
แม้ในชีวิตประจำวัน เราอาจรู้สึกว่าดวงอาทิตย์ไม่ว่าจะวันไหนปีไหนก็ร้อนเหมือน ๆ กันทุกวัน จนดูเหมือนกับว่าดวงอาทิตย์ในช่วงสูงสุดกับช่วงต่ำสุดปล่อยพลังงานออกมาไม่ต่างกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว วัฏจักรของดวงอาทิตย์ส่งผลให้พลังงานจากดวงอาทิตย์ในช่วงสูงสุดและช่วงต่ำสุดแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะในย่านรังสีเอกซ์ ซึ่งต่างกันมากนับร้อยเท่า เหตุที่เรามักไม่รู้สึกถึงความแตกต่างเนื่องจากแสงและความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่เราสัมผัสได้นั้นเป็นเพียงส่วนแคบ ๆ ในช่วงพลังงานทั้งหมดของดวงอาทิตย์เท่านั้น พลังงานบางช่วงความถี่เราไม่สามารถสัมผัสได้และส่วนใหญ่ก็ถูกดูดกลืนไปโดยบรรยากาศโลก
ผลกระทบที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ การเกิดปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้ (aurora) ซึ่งมีลมสุริยะเป็นปัจจัยหลักโดยตรง ในช่วงใดที่เกิดจุดดำบนดวงอาทิตย์มาก ก็จะเกิดแสงเหนือ-แสงใต้บนโลกมาก หากช่วงใดเกิดจุดดำบนดวงอาทิตย์น้อย ก็จะเกิดแสงเหนือ-แสงใต้บนโลกน้อยตามไปด้วย ในช่วงปี ค.ศ. 1645 ถึง 1715 ซึ่งเป็นช่วงต่ำสุดมอนเดอร์นั้นแทบไม่มีรายงานการพบเห็นแสงเหนือ-แสงใต้เลย
นอกจากปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้แล้ว ยังพบว่าปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์ยังมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิและภูมิอากาศของโลกด้วย ดังตัวอย่างเช่น อุณหภูมิของบรรยากาศในชั้นสตราโตสเฟียร์พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเป็นวัฏจักรที่มีคาบยาว 11 ปีเช่นเดียวกับวัฏจักรของดวงอาทิตย์เช่นเดียวกัน
ส่วนบรรยากาศชั้นล่างซึ่งเป็นชั้นที่เราสัมผัสอยู่นั้น การเปลี่ยนแปลงบนโลกที่จะเกิดขึ้นตามวัฏจักร 11 ปีของดวงอาทิตย์อาจไม่เด่นชัดนัก สาเหตุอาจเป็นเพราะระบบบรรยากาศชั้นล่างมีความซับซ้อนและมีตัวแปรของระบบมากกว่าบรรยากาศชั้นบน นอกจากนี้การที่ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นบนที่จะแพร่กระจายลงมาถึงบรรยากาศชั้นล่างต้องใช้เวลานานหลายปี ความผันแปรที่มีคาบเพียง 11 ปีจึงมีการหักล้างลบหายไปมากจนยากจะสังเกตได้ ดังนั้นความเปลี่ยนแปลงในบรรยากาศชั้นล่างของโลกจึงมักขึ้นกับความเปลี่ยนแปลงของดวงอาทิตย์ที่มีคาบยาวกว่านั้น ดังเช่นในช่วงต่ำสุดมอนเดอร์ อากาศในยุคนั้นจะหนาวเย็นผิดปรกติ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ยุคน้ำแข็งน้อย" (Little Ice Age) ภูเขาน้ำแข็งได้แผ่กระจายออกจากขั้วโลกเป็นบริเวณกว้างที่สุดนับจากยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด แม่น้ำเทมส์ในประเทศอังกฤษถึงกับจับตัวเป็นน้ำแข็งในฤดูหนาวเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่าในช่วงศตวรรษที่ 12 เป็นช่วงที่มีปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์รุนแรงต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ซึ่งสอดคล้องกับช่วงเวลาที่ดินแดนตอนเหนือของโลกมีอุณหภูมิอบอุ่นเป็นพิเศษจนมีคนไปตั้งรกรากอาศัยอยู่บนแผ่นดินกรีนแลนด์ได้ แม้แต่ทุกวันนี้ยังมีอุณหภูมิหนาวกว่าในยุคนั้นเสียด้วยซ้ำ
ในช่วงจุดสูงสุดของดวงอาทิตย์ นอกจากลมสุริยะจะมีความเข้มข้นและรุนแรงมากกว่าในช่วงอื่น ๆ แล้ว ยังมีความผันผวนมากกว่าในช่วงอื่น ๆ อีกด้วย การเปลี่ยนแปลงความเข้มของประจุไฟฟ้าบริเวณรอบ ๆ โลกทำให้สนามแม่เหล็กโลกมีการเปลี่ยนแปลงตาม การเปลี่ยนแปลงความเข้มสนามแม่เหล็กนี้อาจทำให้เกิดการเหนี่ยวนำไฟฟ้าขึ้นบนวัตถุใด ๆ บนผิวโลกที่เป็นตัวนำไฟฟ้าและมีความยาวมาก ๆ เช่น ท่อส่งน้ำมัน หรือสายไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น ซึ่งกรณีหลังอาจทำให้หม้อแปลงไฟฟ้าระเบิดและระบบส่งจ่ายไฟฟ้าขัดข้องได้ เหตุการณ์ไฟดับครั้งใหญ่หลายครั้งในอดีต ดังเช่นในปี 2532 ที่จังหวัดควิเบกของแคนาดา และที่เมืองหนึ่งในรัฐนิวเจอร์ซีของสหรัฐอเมริกา ก็คาดว่าเป็นผลจากพายุสุริยะเหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์นี้มักจะเกิดกับพื้นที่ ๆ ใกล้กับขั้วโลก สำหรับประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่แถบศูนย์สูตร จะมีโอกาสเกิดไฟฟ้าดับจากสาเหตุนี้น้อยมาก ระบบอื่นที่อาจมีปัญหาก็คือ ระบบการสื่อสารที่ใช้การสะท้อนของสัญญาณกับบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ เพราะบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์นี้อาจเกิดการปั่นป่วนเมื่อถูกโจมตีจากการระเบิดบนดวงอาทิตย์
แม้สิ่งที่ดวงอาทิตย์จะสาดออกมากระหน่ำโลกจะเป็นอนุภาคประจุไฟฟ้า แต่ตัวอนุภาคเหล่านั้นแทบจะไม่มีผลทางตรงต่อมนุษย์เลย เพราะโลกของเรามีสนามแม่เหล็กที่เข้มข้นเป็นเกราะคุ้มกันอย่างดี ไม่ให้อนุภาคพลังงานสูงเหล่านั้นทะลุเข้ามาถึงบรรยากาศโลกหรือทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกได้ เมื่ออนุภาคประจุไฟฟ้าจากลมสุริยะเข้าใกล้โลก จะเปลี่ยนทิศทางและวิ่งตีเกลียวไปตามเส้นแรงแม่เหล็กโลกจนดูเหมือนกับอนุภาคเหล่านั้นถูกกักเอาไว้ในรูปของวงแหวนขนาดใหญ่รอบโลก เรียกว่า วงแหวนแวนอัลเลน (Van Allen Belt) มีอนุภาคเพียงส่วนเล็กน้อยเท่านั้นที่เล็ดลอดตามแนวที่เส้นแรงแม่เหล็กตั้งฉากกับพื้นโลกเข้ามาถึงชั้นบรรยากาศได้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถทะลุถึงพื้นโลกได้อยู่ดี เพราะเมื่ออนุภาคเหล่านี้กระทบถูกบรรยากาศโลกก็ถูกดูดกลืนพลังงานไป ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการเรืองแสงขึ้นเป็นปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้นั่นเอง
สิ่งที่ดูจะเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดจากพายุสุริยะที่สุดคือ ดาวเทียมทั้งหลายที่ลอยอยู่เหนือชั้นบรรยากาศโลก เพราะพายุสุริยะที่พัดมากระทบกับดาวเทียมจะทำให้เกิดประจุไฟฟ้าขึ้นบนผิวของดาวเทียม ประจุไฟฟ้านี้ทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้าไปรบกวนกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายใน และอาจทำให้ดาวเทียมทำงานผิดพลาดได้ เมื่อครั้งที่เกิดพายุสุริยะในราวปี 2532 ก็เคยเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้มาแล้ว โดยดาวเทียมดวงหนึ่งได้เกิดจุดทรัสเตอร์ (จรวดขนาดเล็กข้าง ๆ ดาวเทียมที่ใช้สำหรับการปรับทิศทางและตำแหน่งของดาวเทียม) ขึ้นมาเอง ทำให้ดาวเทียมเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งปกติ นอกจากนี้ดาวเทียมอีกหลายดวงก็ได้ขาดการติดต่อไป ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นต้นเหตุในครั้งนั้นก็คือพายุสุริยะนั่นเอง