วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การสำรวจรังวัด: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้

เนื้อหาโดยย่อ

หนังสือ การสำรวจรังวัด: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ เล่มนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อให้สามารถใช้ประกอบการเรียนการสอน ในวิชาที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจพื้นฐาน ครอบคลุมเนื้อหาซึ่งสอนในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง เป็นที่รู้จักกันในเนื้อหาที่เรียกว่า การสำรวจรังวัดบนระนาบ (plane surveying) การสำรวจรังวัดแผนที่ภูมิประเทศ (topographic surveying) และการสำรวจทาง (route surveying) โดยหนังสือเล่มนี้มีลักษณะเด่นที่มีโครงสร้างเนื้อหาบทต่าง ๆ เป็นลักษณะเดียวกับหนังสืออ้างอิงต่างประเทศ (text book) ซึ่งได้ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับสภาพการใช้งานปัจจุบัน รวมทั้งมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหลักการประมวลผลข้อมูลแผนที่เชิงเลข (digital map) ได้แก่ การสร้างแบบจำลองสามมิติ การสร้างเส้นชั้นความสูง การคำนวณปริมาตร ที่ใช้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องซึ่งผู้เรียนต้องทราบ เช่น การรังวัดพิกัดตำแหน่งด้วยดาวเทียม การสำรวจรังวัดด้วยภาพถ่าย และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ดังนั้น หนังสือเล่มนี้จึงเหมาะที่จะใช้เป็นหนังสืออ้างอิงทั้งในการเรียนการสอน และการนำไปใช้งานของวิศวกรช่างสำรวจ นักภูมิศาสตร์ นักผังเมือง เป็นอย่างยิ่ง



สารบัญ
ทฤษฎีการวัดและความคลาดเคลื่อน, การวัดระยะทาง, การระดับ, มุม แบริงส์ และแอซิมัท, กล้องวัดมุม, เครื่องวัดระยะอิเล็กทรอนิกส์และโททอสเตชัน, งานวงรอบ, เส้นชั้นความสูง, พื้นที่และปริมาตร, การรังวัดแผนที่ภูมิประเทศ, การรังวัดโค้ง, ระบบพิกัด UTM, การหาพิกัดตำแหน่งด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GPS, ภาพถ่ายทางอากาศ, ระบบภูมิสารสนเทศ



กลุ่มเป้าหมาย
ผู้เรียนในสาขาวิศวกรรมโยธา สำรวจ สิ่งแวดล้อม เหมืองแร่ ภูมิสถาปัตย์ นักแผนที่ นักภูมิศาสตร์ รวมทั้งผู้ที่ทำงานทางด้านแผนที่และระบบภูมิสารสนเทศ



สิ่งสำคัญ
เนื้อหาเหมาะสมในการใช้งานปัจจุบันความเข้าใจเรื่องทฤษฎีการวัดและความคลาดเคลื่อน เครื่องมือและปริมาณที่วัดได้จากเครื่องมือประเภทต่างๆ การนำไปใช้ประโยชน์

ความคิดเห็นจากผู้อ่าน
หนังสือเล่มนี้ใช้เป็นตำราเรียนหรืออ้างอิงขั้นพื้นฐานในวิชาการสำรวจ นอกจากนี้ยังได้รวบรวมเนื้อหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางด้านการสำรวจรังวัดเบื้องต้นซึ่งปัจจุบันได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น และเป็นความตั้งใจของผู้เขียนที่จะให้เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาครอบคลุมองค์ความรู้ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานด้านแผนที่และระบบภูมิสารสนเทศ ผู้ที่เรียนในสาขาวิศวกรรมโยธา สำรวจ สิ่งแวดล้อม เหมืองแร่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น