วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553
“น้ำตานักรบ”..."ผมไม่อยากเป็นวีรบุรุษ และจะไม่ขอตายในชุดนักรบ"
วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553
เตรียมตัวรับมือ USB 3.0 กำลังจะมาแล้ว
Concept Phone 10 มือถือ แนวคิดในอนาคต
Weather Cell Phone Concept
แนวคิดมือถือบอกสภาพดินฟ้าอากาศ ผลงานการออกแบบของ Seunghan Song มีจุดเด่นตรงตัวเครื่องทำจากวัสดุโปร่งใส ขนาดบางเฉียบ หน้าจอสามารถแสดงผลได้เต็มพื้นที่ตัวเครื่อง ใช้ระบบสัมผัสในการควบคุมการทำงาน สามารถตรวจวัดสภาพอากาศในปัจจุบันแล้วแสดงผลบนตัวเครื่องได้ อย่างเช่น อากาศปลอดโปร่ง หน้าจอจะใสแจ๋ว หากฝนตกตัวเครื่องก็จะมีหยดน้ำฝนเกาะอยู่ และถ้ามีหิมะตกหน้าจอก็จะเป็นฝ้าด้วยไอความเย็นของหิมะ และหากต้องการโทรออกหรือเขียนข้อความ เพียงแค่ใช้ปากเป่าลมไปยังหน้าจอ ก็สามารถเขียนตัวอักษรหรือวาดรูปต่างๆ ลงไปได้เลย
Aleksander Mukomelov ออกแบบแนวคิดโทรศัพท์มือถือร่วมสมัย คล่องตัวในการใช้งาน ด้วยหน้าจอระบบสัมผัสขนาดใหญ่ 9.5 นิ้วที่สามารถดึงเข้า-ออกจากตัวเครื่องด้านข้างได้
Projector Cell Phone Concept
นักออกแบบ Stefano Casanova นำเสนอผลงานแนวคิดสมาร์ทโฟนขนาดบางเฉียบ ติดโปรเจคเตอร์หรือเครื่องฉายภาพ ไว้ตรงกลางของตัวเครื่องรอยต่อระหว่างจอแสดงผลที่สามารถหมุนขึ้นได้กับแผง ปุ่มกด ผู้ใช้สามารถส่งภาพในโทรศัพท์ออกไปยังฉากหรือผนังเพื่อรับชมภาพในขนาดใหญ่ได้
Alarm Clock Cell Phone Concept
Carl Hagerling ออกแบบ แนวคิดโทรศัพท์มือถือนาฬิกาปลุก Sony Ericsson รูปทรงคล้ายนาฬิกาปลุกตั้งโต๊ะ มองเห็นเวลาชัดเจนด้วยรูปแบบนาฬิกาดิจิตอลขนาดใหญ่ มีเครื่องเล่น Walkman, ติดกล้องถ่ายรูป และใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาด AAA 2 ก้อน
Pen Cell Phone Concept
แนวคิดโทรศัพท์มือถือรูปทรงปากกา ความสูง 8.7 นิ้ว ปุ่มกดตัวเลข 1-9 เรียงจากหัวปากกาไปด้านบน ถัดไปเป็นจอแสดงผล รองรับการ์ดหน่วยความจำภายนอก MicroSD Edge Cell Phone Concept
โทรศัพท์มือถือรูปทรงสไลด์ ที่มีแผงปุ่มกดโปร่งแสง ใช้ระบบสัมผัส ผลงานการออกแบบของ Chris Owens
Grass Cell Phone Concept
แนวคิดโทรศัพท์มือถือต้นหญ้า ของ Je-Hyun Kim เนื่องด้วยธรรมชาติสร้างสรรค์เทคโนโลยีให้ควบคู่กันไปได้อย่างลงตัว จึงไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะมือถือต้นหญ้าเครื่องนี้ก็จะค่อยๆ ย่อยสลายตัวเองไปตามกาลเวลาภายในระยะเวลา 2 ปี
Mikhail Stawsky ออกแบบแนวคิดโทรศัพท์มือถือพลังงานจากกลไกการหมุนตัวเครื่อง ด้วยการใช้นิ้วสวมลงไปในรูวงกลมแล้วหมุนโทรศัพท์ไปรอบๆ นิ้วมือ เพียงแค่นี้โทรศัพท์มือถือเครื่องนี้ก็มีพลังงานเพิ่มขึ้นพร้อมด้วยหน้า จอแสดงผลระบบสัมผัสบอกสถานะการชาร์จ
Flexible Cell Phone Concept
Internet Explorer 8 "ปลอดภัยยิ่งขึ้นเมื่อออนไลน์"
การเน้นโดเมนทำให้คุณตีความที่อยู่เว็บต่างๆ (URLs) ได้ง่ายขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงเว็บไซต์ประสงค์ร้ายและฟิชชิ่งเว็บไซต์ที่พยายามลวงคุณด้วยที่อยู่เว็บซึ่งชวนให้เข้าใจผิด คุูณลักษณะนี้จะเน้นสีดำที่ชื่อโดเมนที่ปรากฏในแถบที่อยู่ และส่วนอื่นๆของ URL จะแสดงด้วยสีเทา เพื่อให้ระบุคุณลักษณะเฉพาะของเว็บไซต์นั้นๆ ได้ง่ายขึ้นด้วยสีเทา
Bluetooth 4.0 รับ-ส่งข้อมูลแรงกว่าเดิม รัศมีไกลขึ้น
Alcatel OT-808 มือถือสำหรับนักแชท
อัลคาเทลแนะนำโทรศัพท์มือถือ Alcatel OT-808 ออกแบบมาในรูปทรงฝาพับ ตัวเครื่องสีเหลี่ยมจตุรัสโค้งมน พร้อมแป้นพิมพ์ QWERTY ด้านใน จอแสดงผลหลัก 320 x 240 พิกเซล กว้าง 2.4 นิ้ว (จอด้านหน้า OLED - 128 x 36 พิกเซล กว้าง 1.1 นิ้ว) รองรับเครือข่าย GSM Dualband การเชื่อมต่อ Bluetooth กล้องถ่ายรูป 2 ล้านพิกเซล เครื่องเล่นวิทยุ FM รับ-ส่ง Email, สนทนารูปแบบแชท และ สนับสนุนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ราคาประมาณ 4,150 บาท
การจัดภาพภายใน (Interior orientation )
การวางจัดวางภาพภายนอก (Exterior orientation)
การรังวัดตำแหน่งจุดดัชนีขอบภาพ (Fiducial marks)
จุดควบคุมภาพถ่ายภาคพื้นดิน (Ground Control Point)
การสร้างแบบจำลองค่าระดับความสูงภูมิประเทศ(Digital Terrain Model:DTM)
Mosaic
การประมวลผลสัญญาณดิจิทัล
Image Enhancement
การยืดภาพเพื่อเน้นความชัดเจน (Contrast Enhancement or Contrast stretching)
(1) Linear Contrast Stretch เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการปรับระดับค่าสีเทา (gray scale level) หรือค่าความสว่างให้มากขึ้น ด้วยการขยายพิสัย (Range) ของระดับค่าสีเทาของข้อมูลเดิมให้มีค่ามากยิ่งขึ้นจนเต็มช่วง 0-255 โดยใช้กราฟปรับเทียบ (lookup table) ที่มีลักษณะเป็นเส้นตรง เช่น เทคนิค Standard deviation linear contrast stretch,Minimum-Maximum contrast stretch หรือ Data scaling เป็นต้น
(2) Non-Linear Contrast Stretch เป็นการยืดระดับค่าสีเทาของข้อมูลภาพ โดยใช้ความสัมพันธ์ที่ไม่ใช่ลักษณะเชิงเส้นตรง จุดประสงค์ในการใช้วิธีนี้คือ พยายามเปลี่ยนการกระจายข้อมูลที่ไม่ปกติให้เป็นแบบปกติและปรับจำนวนจุดภาพในแต่ละค่าความเข้มให้มีจำนวนใกล้เคียงกัน ซึ่งเทคนิคแบบนี้เรียกว่า “Histogram equalization stretching” หรือการยืดภาพตามความถี่ของข้อมูล นอกจากนี้การยืดข้อมูลภาพแบบ Non Linear Contrast Stretch ยังมีเทคนิคแบบอื่นๆ อีก เช่นHistogram normalization, Logarithmic, Exponential, หรือ Gaussian เป็นต้น
(3) Piecewise Contrast Stretch เป็นการเลือกยืดระดับค่าสีเทาของข้อมูลภาพเป็นช่วงที่เฉพาะเจาะจง(Specific portion of data) โดยแต่ละช่วงอาจจะกำหนดพิสัยของการยืดแตกต่างกันไป หลักการคือ พิสัยของระดับค่าสีเทาของข้อมูลเดิมที่ต้องการขยายนั้น จะถูกแบ่งออกเป็นหลายๆ ช่วง และในแต่ละช่วงจะขยายให้เป็นค่าใดๆ ก็ได้ตามต้องการ แต่ต้องต่อเนื่องกันไปจนตลอดช่วง 0-255สำหรับเทคนิคการปรับเน้นภาพโดยวิธีการยืดข้อมูลภาพ อาจจะมีนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น เช่น HistogramMatching, Threshold, Gamma, Constant Value, Invert หรือ Brightness and Contrast เป็นต้น นอกจากนี้การปรับเน้นภาพโดยเทคนิคการยืดระดับค่าสีเทาของข้อมูลภาพนี้ ผู้ใช้สามารถที่จะทำการกำหนดหรือสร้างกราฟปรับเทียบ (lookup table) เองได้โดยให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการด้วยการใช้เครื่องมือ “Break Point Editor” ของโปรแกรม ERDAS IMAGINE
การเน้นภาพเชิงพื้นที่ (Spatial enhancement or Spatial and Directional Filtering )
(1) Low Pass Filtering (LPF)
Low Pass Filtering เป็นการเน้นภาพเชิงพื้นที่ ด้วยการลดระดับความถี่เชิงพื้นที่ของข้อมูลภาพ(Spatial frequency) ทำให้ภาพที่ได้ใหม่มีลักษณะเรียบ (Smooth) หรือพร่ามัว (Blur) มากขึ้น หลักการของเทคนิคการเน้นภาพแบบนี้ จะทำการคำนวณระดับค่าสีเทาของแต่ละจุดภาพด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Average) ของระดับค่าสีเทาเดิมรอบจุดภาพนั้น ด้วยจำนวน n x m จุดภาพ ค่า n และ m จะต้องเป็นเลขคี่เสมอ เช่น 3 x 3, 5 x 5, หรือ 7 x 7 เป็นต้น ขนาด n x m เรียกว่าKernel หรือ BOXCAR ในกรณีที่หน้าต่างกรองมีขนาดเล็กไม่สามารถทำให้ภาพเรียบ อาจเลือกใช้หน้าต่างกรองที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมา แต่จะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการสูญเสียรายละเอียดของข้อมูลจริงในภาพขึ้นด้วย
(2) High Pass Filtering (HPF)
High-Pass Filtering เป็นเทคนิคที่ใช้เน้นข้อมูลภาพบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เช่นเส้นขอบอ่างเก็บน้ำ หรือชายฝั่งทะเล วิธีปฏิบัติคือจะทำการกรองภาพให้เรียบก่อนโดยทำ Low pass filtering (LPF) แล้วนำค่าระดับสีเทาที่ได้ในแต่ละจุดภาพของ LPF ไปลบออกจากค่าความเข้มของข้อมูลภาพเดิม (original data) จะได้ภาพใหม่อีกภาพหนึ่งที่แสดงผลต่าง ซึ่งจะใช้ภาพที่แสดงผลต่างที่ได้นี้เป็นส่วนของการเน้นภาพ โดยบวกกลับเข้าไปในภาพเดิม ทำให้ได้ภาพที่มีการเน้นขอบ (Edge enhancement) ที่ชัดเจนขึ้น
Raster / Vector และ Pixel
ภาพแบบบิตแมป หรือที่เรียกกันว่าแบบราสเตอร์ (raster) ภาพแบบบิตแมปนี้จะใช้ กริดของตารางเล็ก ๆ ที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “พิกเซล” (pixel) สำหรับแสดงภาพ แต่ละพิกเซลก็จะมีค่าของตำแหน่งและค่าสีของตัวเอง ด้วยเหตุที่พิกเซลมีขนาดเล็กเราจึงเห็นว่าภาพ มีความละเอียดสวยงามไม่มีลักษณะของกรอบสี่เหลี่ยมให้เห็น แต่ถ้าเราขยายขนาดของภาพ ก็จะเห็นกรอบเล็ก ๆ หรือพิกเซลที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นภาพ ดังนั้นนเมื่องคุณทำงานกับภาพแบบมิตแมป จึงเป็นทำงานกับพิกเซลเล็ก ๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นภาพ ไม่ใช่วัตถุหรือรูปทรงที่เห็น ภาพแบบบิตแมปเป็นภาพที่ขึ้นอยู่กับความละเอียด (resolution)นั่นคือ มีจำนวนพิกเซลที่แน่นอนในการแสดงภาพ
Pixelพิกเซล (Pixel) เป็นการผสมผสานของคำว่า “Picture” และ “element” คือหน่วย พื้นฐานของภาพ ภาพบิตแมปทุก ๆ ภาพประกอบขึ้นด้วยพิกเซล แต่ละพิกเซลจะมีลักษณะ เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่เก็บข้อมูลของสีโดยถูกกำหนตำแหน่งไว้บนเส้นกริดของแนวแกน x และ y ในลักษณะคล้ายแผนที่ (map) นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่าบิตแมป (bitmap) เช่น พิกเซลของ ภาพ 8 บิต จะเก็บข้อมูลของสี 8 บิต ที่จอภาพจะใช้ในการแสดงผล ดังนั้นภาพภาพหนึ่งจึงประกอบด้วยพิกเซลเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งคุณสามารถมองเห็นได้เมื่อ ขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จำนวนของพิกเซล