วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

“น้ำตานักรบ”..."ผมไม่อยากเป็นวีรบุรุษ และจะไม่ขอตายในชุดนักรบ"


พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา ผกก.บันนังสตา...


12 มีนาคม 2553 วันที่หลายต่อหลายคนให้ความสนใจกันกับข่าว การชุมนุมใหญ่ของกลุ่ม “เสื้อแดง” ในหลายๆ จุดของกรุงเทพฯ แต่สำหรับผมแล้ว ข่าวที่ยิ่งใหญ่ สะเทือนใจ และต้องถือเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญที่สุดอีกครั้งหนึ่งของผืนแผ่นดินไทย ก็คือ การที่ชาติต้องสูญเสีย พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา ท่านผู้กำกับแห่ง สภ.บันนังสตา จังหวัดยะลา ไปอย่างไม่มีวันกลับ…


หลังจากช่วงกลางวันของวันนี้ ได้เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดรถยนต์ของ พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา ผกก.สภ.บันนังสตา จ.ยะลา ส่งผลให้ท่านผู้กำกับได้รับบาดเจ็บสาหัส พร้อมลูกน้องอีก 4 คน ขณะกลับจากติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่ เหตุเกิดที่บริเวณบ้านทับช้าง ม. 2 ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา จ.ยะลา ก่อนทั้งหมดจะถูกลำเลียงทั้งทางรถยนต์ และทางเฮลิคอปเตอร์ ส่งโรงพยาบาลศูนย์ยะลาเป็นการด่วน และภายหลังเป็นที่ทราบว่าท่านได้เสียชีวิตลงในเวลาต่อมา


ในที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่พบหลุมระเบิดกว้างประมาณ 2 เมตร ลึก ประมาณ 1 เมตร โดยคนร้ายได้ซุกระเบิดไว้ใต้ท่อระบายน้ำใต้ผิวถนน แล้วลากสายไปยังป่าข้างทาง นอกจากนี้ ยังพบว่ารถยนต์กระบะโตโยต้า หมายเลขทะเบียน กข.9302 ยะลา ที่ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรบันนังสตานั่งมา ได้รับความเสียหายสภาพพังยับเยิน


เบื้องต้นเชื่อว่า เป็นการกระทำของกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่ ที่ต้องการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบอย่างต่อเนื่อง


ตั้งแต่ปี 2513 หลังจบการศึกษา โรงเรียนตำรวจภูธร 9 จังหวัดยะลา พลฯสมเพียร เอกสมญา ถูกส่งเข้าเป็นตำรวจประจำ สภอ.บันนังสตา จ.ยะลา ซึ่งในขณะนั้น พื้นที่ดังกล่าว เป็นเขตเคลื่อนไหวของขบวนการโจรก่อการร้าย แบ่งแยกดินแดน อย่างหนักทำให้ภาครัฐต้องระดมสรรพกำลัง ทั้งทหาร ตำรวจ และ ฝ่ายปกครอง เข้าไปแย่งชิงมวลชน และดูแลความสงบเรียบร้อย หลายครั้งที่เกิดการปะทะ ทำให้มีการสูญเสียอย่างหนักทั้งสองฝ่าย และ ปฐมบทแห่งการเป็น จ่าเพียรมือปราบ ก็เกิดขึ้นที่นั่น


พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา คือผู้ฝากผลงาน ด้านการสืบสวน ปราบปราม สู้กับ โจรก่อการร้าย ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มามากกว่า 30 ปี…


จากชีวิตตำรวจที่คลุกคลีอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาโดยตลอด เขาได้สร้างผลงานด้านการปราบปราม ต่อสู้กับโจรก่อการร้ายอย่างห้าวหาญ สร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์ของผู้บังคับบัญชา ทำให้กรมตำรวจ (ในขณะนั้น) ได้อนุมัติให้เข้ารับการ อบรมหลักสูตร ” นายตำรวจสัญญาบัตร ” โดยไม่ต้องสอบคัดเลือก และได้รับการเลื่อนลำดับขั้น จากผงพวงการทำงานอย่างหนักมาโดยตลอด


ผลจากการทำงานทุ่มเทมาตลอดชีวิตข้าราชการตำรวจ ทำให้ พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา ได้รับการยกย่อง และประกาศเกียรติคุณจากหน่วยงานต่างๆเป็นจำนวนมาก และ ที่สร้างความปลาบปลื้ม สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณสูงสุดในชีวิต และครอบครัว คือ ได้รับการโปรดเกล้า ฯ เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับพระราชทาน ”เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เหรียญมาลาเข็มกล้ากลางสมร” ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง และกระทำพิธี ”ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา” ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 ที่ผ่านมา


และนับเป็น ตำรวจเพียงคนเดียว ในขณะมียศแค่ “จ่าสิบตำรวจ” ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณในครั้งนี้ นอกจากนี้ พ.ต.อ.สมเพียร ยังได้รับพระราชทาน และประกาศเกียรติคุณจากหน่วยงานต่างๆอีกมากมาย เช่น


- ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนชั้นสอง ประเภทหนึ่ง

- ได้รับประกาศนียบัตร ” ผู้มีผลงานสู้รบดีเด่น ” จากกระทรวงมหาดไทย

- ได้รับเข็มรักษาดินแดนสดุดี จากกระทรวงมหาดไทย

- ได้รับมอบเกียรติบัตรผู้ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องประเทศชาติด้วยความเสียสละ จากองค์การทหารผ่านศึก

- ไดัรับประกาศผู้มีผลงานดีเด่นด้านการปราบปราม จากกองบัญชาการตำรวจภูธร 9

- ได้รับการคัดเลือกเป็นศิษย์เก่า โรงเรียนตำรวจภูธร 9 ดีเด่น

- ได้รับหนังสือสำคัญ จากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต ) ยกย่องเชิดชู เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษาความมั่นคงของชาติ บูรณภาพแห่งดินแดน และรักษาความสงบสุขของบ้านเมือง ด้วยความเข้มแข็งเสียสละ ฯลฯ


ผมขออนุญาตคัดลอกบทความด้านบนนี้จาก โอเคเนชั่นบล๊อก ผู้เขียนคือ คุณ เณรรูน ที่เขียนสดุดีวีรกรรมของท่านเอาไว้อย่างน่าชื่นชม ผมอยากจะชักชวนให้ท่านที่สนใจเข้าไปอ่านและสืบค้นข้อมูลของท่าน ตาม Link นี้ครับ นำเสนอ “ตำรวจยอดเยี่ยม” ของแท้ จากยะลา..




ก่อนหน้านี้เพียงแค่ไม่ถึง 1 เดือน พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา ได้เข้าร้องเรียนต่อศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้ยื่นเรื่องต่อนายกรัฐมนตรี กรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้าย หลังจากที่ทำงานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยความทุ่มเทมากว่า 30 ปี โดยก่อนหน้านี้ได้ทำเรื่องขอย้ายไปดำรงตำแหน่งที่ สภ.กันตัง จังหวัดตรัง เพื่อใช้ชีวิตบั้นปลายในยามใกล้เกษียร แต่ก็ไม่ได้รับการพิจารณา ผมยังจำภาพท่านแถลงข่าวแววตาคลอด้วยน้ำตาลูกผู้ชายได้ถึงทุกวันนี้


และก่อนที่ท่านจะประสบเหตุต้องเสียชีวิตในครั้งนี้ ท่านเพิ่งถูกลอบวางระเบิดในขณะที่เดินทางไปตรวจที่เกิดเหตุที่ บ้านยีราปัน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมา แต่ในครั้งนั้นโชคดีที่รถยนต์ของท่านแล่นผ่านไปเพียงเล็กน้อย


ผมและครอบครัว ขอแสดงความเสียใจอย่างที่สุดต่อครอบครัว “เอกสมญา” สำหรับการสูญเสียวีรบุรุษแห่งบันนังสตา มา ณ ที่นี้ และขอให้ดวงวิญญาณของท่านสู่สุขคติในสัมปลายภพด้วยครับ


........... นี่คือเรื่องราวเพียงเศษเสี้ยวของชีวิต ตำรวจนายหนึ่ง ที่ทำงานทุ่มเท เพื่อความสงบสุขของพี่น้องประชาชน เช่นเดียวกับตำรวจน้ำดีในพื้นที่อีกหลายคน พวกเขาเสมือนผู้ปิดทองหลังพระ ภายใต้เครื่องแบบสีกากี ที่เขาแสนภาคภูมิใจ แม้จะเหน็ดเหนื่อย ตรากตรำ และ เสี่ยงต่ออันตรายแค่ไหน แต่เขาไม่เคยย่อท้อ แม้อายุราชการ ของ พ.ต.อ.สมเพียร จะเหลืออีกไม่กี่ปี แต่เขายืนยัน ปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด สมดั่งปรัชญา


" ตำรวจคือ ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ " ...


........... 13 ตุลาคม " วันตำรวจ " ของไว้อาลัยแด่ ตำรวจทุกท่านที่เสียชีวิตจากปฏบัติหน้าที่ ในการรักษาความสงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ และขอให้ผู้กล้าทั้งหลายที่ยังคงอยู่ มีขวัญ กำลังใจ ในการทำงาน ขอให้ปลอดภัย แคล้วคลาด ทำงานประสบความสำเร็จทุกประการ สวัสดีครับ ...........

วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553

เตรียมตัวรับมือ USB 3.0 กำลังจะมาแล้ว

เพื่อนๆ คงจะได้ยินข่าวแววๆ มาแล้วบ้างว่า ตอนนี้ USB ของ ปัจจุบันนี้ มีถึง 3.0 กันแล้ว แต่ก็ได้ยินแค่ข่าวว่าจะมา
เพื่อนๆ คงจะได้ยินข่าวแววๆ มาแล้วบ้างว่า ตอนนี้ USB ของ ปัจจุบันนี้ มีถึง 3.0 กันแล้ว แต่ก็ได้ยินแค่ข่าวว่าจะมา แต่ก็ไม่รู้ราคาว่ามันเท่าไหร่ มาเมื่อไหร่ กันใช่ไหมล่ะครับ วันนี้เราจะนำข้อมูลอัพเดทเกี่ยวกับ USB 3.0 มาให้ทราบกันเพิ่มเติม โดยตอนแรกผมคิดว่าหากจะใช้ USB 3.0 ก็ต้องซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่แน่ๆ เลย เพราะว่าคงจะไม่ใช้งานโดยนำ USB 3.0 มาเสียบต่อ USB 2.0 หรอกเน๊อะ แต่วันนี้ไปเจอของต่างประเทศก็เลยอัพเดทให้เพื่อนๆ ชาว Xcite ให้ทราบกันค่ะ

USB 3.0 ที่เห็นในภาพนี้เป็นรูปแบบ ตัวเสียบเพิ่มในคอมพิวเตอร์ในแบบ PCIe ซึ่งจะเปิดตัวในอเมริกาในไม่นานนี้ โดยคิดว่าน่าจะมาแทนที่ USB 2.0 และ FireWire 400 ซึ่ง เหตุผลที่นำมาใช้แทนนั้น แทบจะไม่ต้องพูดถึงว่าดีแค่ไหน เพราะว่าดีกว่าทุกอย่างค่ะ ไม่ว่าจะเป็นความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลที่เร็วกว่าถึง 10 เท่า ซึ่งมีความเร็วมากๆ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถดาวน์โหลด หนังระดับ HD หรือ สื่อมัลติมีเดียอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว

USB 3.0 PCIe เป็นอุปกรณ์เสียบเสริมในคอมพิวเตอร์ โดยเปิดตัวราคาอยู่ที่ $79.99 (ประมาณ 2,800 บาท) แต่เพื่อนๆ อย่าคิดว่าอย่างนี้คอมพิวเตอร์พกพา หรือ โน๊ตบุ๊คก็หมดสิทธิล่ะสินี้ ไม่จริงค่ะ เจ้าของผู้ผลิตได้เพิ่มทางแก้ไขให้แล้วโดยออกมาในรูปแบบ ExpressCard adapter ในรา $79.99 (ประมาณ 2,800 บาท)

ซึ่งกำหนดการเปิดตัว
เดือนเมษายน 2010 ใน US
เดือนพฤษภาคม 2010 ใน แคนนาดา


ทั้งนี้ยังมีสาย USB SuperSpeed 3.0 Premium A-B Cable, 4ft $39.99 (ประมาณ 1,400 บาท) 8ft $49.99 (ประมาณ 1,750 บาท) และสาย SuperSpeed USB 3.0 Premium Micro-B Cable 4ft $39.99 (ประมาณ 1,400 บาท) 8ft $49.99 (ประมาณ 1,750 บาท) เพื่อช่วยให้การใช้งานของเรานั้นเต็มประสิทธิภาพอีกด้วยอีกด้วย

Concept Phone 10 มือถือ แนวคิดในอนาคต

ออกมาให้เห็นกันอีกแล้ว กับการรวมรวบแนวคิดแปลกใหม่น่าสนใจของโทรศัพท์มือถือในอนาคต หรือ Concept Phoneที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตล้ำสมัย ฟังก์ชั่นการทำงานหลากหลาย ไม่ยึดติดกับรูปร่างลักษณะเดิมๆ ของโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน ที่มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น

Weather Cell Phone Concept
แนวคิดมือถือบอกสภาพดินฟ้าอากาศ ผลงานการออกแบบของ Seunghan Song มีจุดเด่นตรงตัวเครื่องทำจากวัสดุโปร่งใส ขนาดบางเฉียบ หน้าจอสามารถแสดงผลได้เต็มพื้นที่ตัวเครื่อง ใช้ระบบสัมผัสในการควบคุมการทำงาน สามารถตรวจวัดสภาพอากาศในปัจจุบันแล้วแสดงผลบนตัวเครื่องได้ อย่างเช่น อากาศปลอดโปร่ง หน้าจอจะใสแจ๋ว หากฝนตกตัวเครื่องก็จะมีหยดน้ำฝนเกาะอยู่ และถ้ามีหิมะตกหน้าจอก็จะเป็นฝ้าด้วยไอความเย็นของหิมะ และหากต้องการโทรออกหรือเขียนข้อความ เพียงแค่ใช้ปากเป่าลมไปยังหน้าจอ ก็สามารถเขียนตัวอักษรหรือวาดรูปต่างๆ ลงไปได้เลย


Mobile script Concept
Aleksander Mukomelov ออกแบบแนวคิดโทรศัพท์มือถือร่วมสมัย คล่องตัวในการใช้งาน ด้วยหน้าจอระบบสัมผัสขนาดใหญ่ 9.5 นิ้วที่สามารถดึงเข้า-ออกจากตัวเครื่องด้านข้างได้

Projector Cell Phone Concept

นักออกแบบ Stefano Casanova นำเสนอผลงานแนวคิดสมาร์ทโฟนขนาดบางเฉียบ ติดโปรเจคเตอร์หรือเครื่องฉายภาพ ไว้ตรงกลางของตัวเครื่องรอยต่อระหว่างจอแสดงผลที่สามารถหมุนขึ้นได้กับแผง ปุ่มกด ผู้ใช้สามารถส่งภาพในโทรศัพท์ออกไปยังฉากหรือผนังเพื่อรับชมภาพในขนาดใหญ่ได้

Alarm Clock Cell Phone Concept

Carl Hagerling ออกแบบ แนวคิดโทรศัพท์มือถือนาฬิกาปลุก Sony Ericsson รูปทรงคล้ายนาฬิกาปลุกตั้งโต๊ะ มองเห็นเวลาชัดเจนด้วยรูปแบบนาฬิกาดิจิตอลขนาดใหญ่ มีเครื่องเล่น Walkman, ติดกล้องถ่ายรูป และใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาด AAA 2 ก้อน


Pen Cell Phone Concept
แนวคิดโทรศัพท์มือถือรูปทรงปากกา ความสูง 8.7 นิ้ว ปุ่มกดตัวเลข 1-9 เรียงจากหัวปากกาไปด้านบน ถัดไปเป็นจอแสดงผล รองรับการ์ดหน่วยความจำภายนอก MicroSD Edge Cell Phone Concept
โทรศัพท์มือถือรูปทรงสไลด์ ที่มีแผงปุ่มกดโปร่งแสง ใช้ระบบสัมผัส ผลงานการออกแบบของ Chris Owens

Grass Cell Phone Concept
แนวคิดโทรศัพท์มือถือต้นหญ้า ของ Je-Hyun Kim เนื่องด้วยธรรมชาติสร้างสรรค์เทคโนโลยีให้ควบคู่กันไปได้อย่างลงตัว จึงไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะมือถือต้นหญ้าเครื่องนี้ก็จะค่อยๆ ย่อยสลายตัวเองไปตามกาลเวลาภายในระยะเวลา 2 ปี


Mechanical Cell Phone Concept
Mikhail Stawsky ออกแบบแนวคิดโทรศัพท์มือถือพลังงานจากกลไกการหมุนตัวเครื่อง ด้วยการใช้นิ้วสวมลงไปในรูวงกลมแล้วหมุนโทรศัพท์ไปรอบๆ นิ้วมือ เพียงแค่นี้โทรศัพท์มือถือเครื่องนี้ก็มีพลังงานเพิ่มขึ้นพร้อมด้วยหน้า จอแสดงผลระบบสัมผัสบอกสถานะการชาร์จ

Flexible Cell Phone Concept
แนวคิดโทรศัพท์มือถือกำไลข้อมือชิ้นนี้ เป็นผลงานการอกแบบของ Shirley A. Roberts ตัวเครื่องทำมาจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถโค้งงอ ยึดปลายทั้งสองเข้าหากัน ใช้เป็นกำไลข้อมือ พกพาไปไหนได้สะดวกมากขึ้น


Ear Cell Phone Concept
lshat Garipov ออกแบบโทรศัพท์มือถือ Kambala ตัวเครื่องมีขนาดบางเฉียบ มีลักษณะคล้ายคลิปหนีบ ดึงส่วนยื่นออกมาเกี่ยวกับช่องหู คล้ายหูฟัง วัสดุประกอบตัวเครื่องแต่ละชั้นใช้โพลิเมอร์สอดแทรกด้วยชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ และเซ็นเซอร์จำนวนมากสามารถตรวจจับผิวหน้าสัมผัสกับตัวเครื่องเปลี่ยนสีพื้น ผิวโทรศัพท์ให้เหมือนกับบริเวณที่ส่วมใสอยู่ ดูผิวเผินแล้วเหมือนกับโทรศัพท์ล่องหนได้


Internet Explorer 8 "ปลอดภัยยิ่งขึ้นเมื่อออนไลน์"



เมื่อเว็บไซต์มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น วิธีที่แฮกเกอร์และเว็บไซต์ประสงค์ร้ายต่างๆ พยามยามจะส่งไวรัส

เมื่อเว็บไซต์มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น วิธีที่แฮกเกอร์และเว็บไซต์ประสงค์ร้ายต่างๆ พยามยามจะส่งไวรัส สร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์ ดึงข้อมูลส่วนตัว และตรวจสอบพฤติกรรมการออนไลน์ของคุณก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน

หรือไม่ว่ามัลแวร์ คือซอฟต์แวร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์ของคุณ เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ มัลแวร์อาจถูกดาวน์โหลดโดยที่คุณรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่ได้อนุญาต

ฟิชชิ่ง คือช่องทางสำหรับอาชญากรในการดึงข้อมูลส่วนตัวของคุณ (เช่น หมายเลขบัตรเครดิต) โดยแสร้งว่าเป็นองค์กรที่ถูกกฏหมาย เช่น ธนาคารของคุณ Internet Explorer จะช่วยป้องกันการจู่โจมเหล่านี้ และอื่นๆ อีกมากมาย การให้บริการเบราว์เซอร์ที่ไว้วา่งใจได้นั้น หมายถึงเบราว์เซอร์ที่มีความปลอดภัยสูงและเชื่อถือได้ เป็นเบราว์เซอร์ที่เคารพการตัดสินใจของผู้ใช้งาน และช่วยให้ผู้ใช้งานควบคุมคอมพิวเตอร์และข้อมูลของตนเองได้

ตัวกรอง SmartScreen
ตัวกรอง SmartScreen ใหม่ของ Internet Explorer 8 ช่วยปกป้องคุณจากการติดตั้งมัลแวร์โดยไม่เจตนา หรือซอฟต์แวร์ที่มีเจตนาร้ายซึ่งเป็นอันตรายต่อข้อมูล ความเป็นส่วนตัว และข้อมูลเฉพาะตัวของคุณ และสามารถทำลายคอมพิวเตอร์และข้อมูลอันมีค่าของคุณ เราขอแนะนำให้คุณเปิดใช้งาน SmartScreen ซึ่งคุณสามารถเลือกเปิดหรือปิดการทำงานได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ คุณยังสามารถช่วยพัฒนาเว็บไซต์สำหรับทุกคนได้โดยแจ้งเว็บไซต์ที่สงสัยว่ามีเจตนาร้ายด้วยตัวกรองนี้ หากตัวกรอง SmartScreen ทำงานอยู่และคุณพยายามเรียกดูเว็บไซต์ที่พิจารณาแล้วว่าไม่ปลอดภัย หน้าจอด้านล่างนี้จะพร้อมท์ถามให้คุณเลือกดำเนินการอื่นๆ
เมื่อเปิดการทำงาน ตัวกรอง SmartScreen จะแจ้งเตือนเมื่อคุณพยายามดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่อาจเป็นอันตรายตัวกรอง Cross Site Scripting (XSS)

Internet Explorer 8 ขอแนะนำคุณสมบัติในการตรวจพบรหัสที่เป็นอันตรายบนเว็บไซต์ที่ละเมิดความปลอดภัย เพื่อช่วยปกป้องคุณจากการถูกหาผลประโยชน์ที่นำไปสู่การเปิดเผยข้อมูล การขโมยคุกกี้ การโจรกรรมบัญชีผู้ใช้/ข้อมูลประจำตัว และอื่นๆ การจู่โจมเหล่านี้เป็นการคุกคามทางออนไลน์ประเภทหลัก เราจึงได้รวม Cross Site Scripting ซึ่งเป็นตัวกรองชนิดใหม่ เพื่อให้คุณออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น

การเน้นโดเมน
การเน้นโดเมนทำให้คุณตีความที่อยู่เว็บต่างๆ (URLs) ได้ง่ายขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงเว็บไซต์ประสงค์ร้ายและฟิชชิ่งเว็บไซต์ที่พยายามลวงคุณด้วยที่อยู่เว็บซึ่งชวนให้เข้าใจผิด คุูณลักษณะนี้จะเน้นสีดำที่ชื่อโดเมนที่ปรากฏในแถบที่อยู่ และส่วนอื่นๆของ URL จะแสดงด้วยสีเทา เพื่อให้ระบุคุณลักษณะเฉพาะของเว็บไซต์นั้นๆ ได้ง่ายขึ้นด้วยสีเทา

Data Execution Prevention (DEP) (การป้องกันการดำเนินการข้อมูล)
การป้องกันการดำเนินการข้อมูล (DEP) ที่เปิดการทำงานตามค่าเริ่มต้นของ Internet Explorer 8 ใน Windows Vista Service Pack 1 นั้นเป็นคุณลักษณะเพื่อความปลอดภัยที่ช่วยป้องกันคอมพิวเตอร์ของคุณจากความเสียหายที่เกิดจากไวรัสคอมพิวเตอร์และการคุกคามความปลอดภัยต่างๆ โดยป้องกันไม่ให้มีการเขียนรหัสบางประเภทลงในพื้นที่หน่วยความจำที่ปฏิบัติการได้

Bluetooth 4.0 รับ-ส่งข้อมูลแรงกว่าเดิม รัศมีไกลขึ้น

มาตรฐานการรับ-ส่งข้อมูลไร้สาย Bluetooth ในเวอร์ชั่นใหม่ 4.0 เน้นประสิทธิภาพในการรับ-ส่งข้อมูลที่เร็วยิ่งขึ้น 1 Mbps รัศมีไกลถึง 100 เมตรThe Bluetooth Special Interest Group (SIG) เปิดตัวมาตรฐานการรับ-ส่งข้อมูลไร้สาย Bluetooth ในเวอร์ชั่นใหม่ 4.0 เน้นประสิทธิภาพในการรับ-ส่งข้อมูลที่เร็วยิ่งขึ้น 1 Mbps รัศมีไกลถึง 100 เมตร (จากเดิม 10 เมตร) แต่ใช้พลังงานน้อยลง สามารถนำไปใช้ในโทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์, อุปกรณ์ให้ความบันเทิงภายในบ้าน, เครื่องมือแพทย์, สถานออกกำลังกาย รวมไปถึงยานพาหนะ สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เดิมที่ใช้เทคโนโลยี Bluetooth v2.1 +EDR หรือ Bluetooth v3.0 +

Alcatel OT-808 มือถือสำหรับนักแชท

อัลคาเทลแนะนำโทรศัพท์มือถือ Alcatel OT-808 ออกแบบมาในรูปทรงฝาพับ ตัวเครื่องสีเหลี่ยมจตุรัสโค้งมน พร้อมแป้นพิมพ์ QWERTY

อัลคาเทลแนะนำโทรศัพท์มือถือ Alcatel OT-808 ออกแบบมาในรูปทรงฝาพับ ตัวเครื่องสีเหลี่ยมจตุรัสโค้งมน พร้อมแป้นพิมพ์ QWERTY ด้านใน จอแสดงผลหลัก 320 x 240 พิกเซล กว้าง 2.4 นิ้ว (จอด้านหน้า OLED - 128 x 36 พิกเซล กว้าง 1.1 นิ้ว) รองรับเครือข่าย GSM Dualband การเชื่อมต่อ Bluetooth กล้องถ่ายรูป 2 ล้านพิกเซล เครื่องเล่นวิทยุ FM รับ-ส่ง Email, สนทนารูปแบบแชท และ สนับสนุนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ราคาประมาณ 4,150 บาท

การจัดภาพภายใน (Interior orientation )

การจัดภาพภายใน (Interior orientation ) เป็นการจัดวางข้อมูลภาพให้มีความสัมพันธ์กันในทิศทางแนวบิน เหมือนอยู่ในสภาวะเดียวกันกับเครื่องบินขณะบินถ่ายภาพ โดยใช้ข้อมูลกล้องถ่ายภาพ(Camera Calibration) ได้แก่ ค่าความยาวโฟกัส (focal length) ค่าพิกัดของจุดดัชนีขอบภาพ (fiducial marks) และค่าพิกัดจุดมุขยสำคัญ (principal point) โดยผู้ปฏิบัติจะเป็นคนหมายตำแหน่งจุดดัชนีขอบภาพแล้วทำการตรวจสอบความคลาดเคลื่อนในการวางตำแหน่งกับข้อมูลที่ได้ป้อนไว้ว่าอยู่ในเกณท์ที่กำหนดหรือไม่
การวัดค่าการวางตัวภายในของจุดดัชนี(Interior orientation)ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนทิศทางการวางตัวของแนว X Y ของภาพตามเอกสารของการวัดสอบค่ากล้องก่อนทำการวัดจุดดัชนี และทำการวัดจุดดัชนีให้ครบทั้ง 8 จุด ทั้งสามภาพแล้วทำการตรวจค่า RMSE(Root Mean Square Error)โดยอย่าให้เกิน 10 ไมคอน ถ้าเกินต้องทำการปรับแก้จุดดัชนีที่ได้ทำการวัดไปให้ดีขึ้น ในปัจจุบันนี้กล้องถ่ายรูปทางอากาศจะมีเครื่องหมายดัชนี (Fiducial marks) 8 ตำแหน่ง(Fours of mid-side frames and fours of corner frames) และความยาวโฟกัสที่ผ่านการสอบเทียบ(Calibration focal length) บอกให้ผู้ใช้ทราบการลงตำแหน่งพิกัด (Registration) ของเครื่องหมายดัชนี4 หรือ 8 ตำแหน่ง พร้อมกับนำพิกัดที่ผ่านการสอบเทียบของตำแหน่งเครื่องหมายดัชนีมาแปลงเป็นค่าพิกัด

การวางจัดวางภาพภายนอก (Exterior orientation)


การวางจัดวางภาพภายนอก (Exterior orientation)/การปรับภายนอก/การปรับสัมบูรณ์ (Exterior or Absolute orientation)เป็นการปรับที่ปรับระยะห่างฐานดวงตาอย่างถูกต้องให้สอดคล้องกับฐานรูปถ่ายและมาตราส่วนของรูปถ่าย โดยการปรับระดับ ( Levelling ) แบบจำลองสามมิติให้หมุนรอบแกน X ( ด้วย ω ) หมุนรอบแกน Y ( ด้วย φ) และการเลื่อนตามแนวแกน Z ( Z translation / κ) ด้วยจุดควบคุมรูปถ่ายที่ทราบค่าพิกัดทางราบและทางดิ่งอย่างน้อย 3 จุด กล่าวโดยสรุปการปรับสัมบูรณ์ใช้พารามิเตอร์ 7 ตัว คือ การขยาย / หดมาตราส่วน 1 ตัว เมทริกซ์การหมุนรอบแกนทั้งสามของแบบจำลอง 3 ตัว และการเลื่อนตามแนวแกน 3 ตัว มีพารามิเตอร์การปรับภายนอก 6 ตัวแปร (Xo, Yo, Zo , ω, φ ,κ) จุดเปิดถ่าย 3 การเอียงรอบแกน 3

การรังวัดตำแหน่งจุดดัชนีขอบภาพ (Fiducial marks)


การวัดค่าการวางตัวภายในของจุดดัชนี(Interior orientation)ครบทั้ง 8 จุด ทั้งสามภาพแล้วทำการตรวจค่า RMSE(Root Mean Square Error)โดยอย่าให้เกิน 10 ไมคอน ถ้าเกินต้องทำการปรับแก้จุดดัชนีที่ได้ทำการวัดไปให้ดีขึ้นค่า RMSerror สามารถบอกได้ว่า จุดควบคุมภาคพื้นดินมีตำแหน่งพิกัดใกล้เคียงกับพิกัดอ้างอิงเพียงใด (มีหน่วยเป็นจุดภาพ) โดยทั่วไปค่า RMSerror ที่ยอมรับได้จะมีค่าบวกหรือลบไม่เกิน 1 จุดภาพ ถ้าค่า RMSerror มีค่าสูงแสดงว่าความคลาดเคลื่อนทางตำแหน่งมีมาก อย่างไรก็ตามการกำหนดจุด GCP ในตำแหน่งใหม่ที่เหมาะสมสามารถที่จะเพิ่มความถูกต้องของการแปลงค่าพิกัดได้
**********************************

จุดควบคุมภาพถ่ายภาคพื้นดิน (Ground Control Point)

จุดควบคุมภาพถ่ายภาคพื้นดิน (Ground Control Point) เป็นจุดบังคับภาพถ่ายที่เห็นเด่นชัดบนภาพถ่ายและชี้ชัดได้บนภาคพื้นดิน มีค่าพิกัดในทั้งสามมิติ มีการไปรังวัดในสนามด้วยเครื่องมือและวิธีการที่ให้ความละเอียดถูกต้องสูงในระดับที่สามารถนำมาควบคุมงานข่ายสามเหลี่ยมทางอากาศ จุดผ่าน (Pass Point) จุดควบคุมภาพถ่ายภาคพื้นดินที่มีการชี้ชัดตำแหน่งบนภาพถ่าย แต่ไม่จำเป็นต้องลงไปค้นหาและรังวัดค่าพิกัดในสนาม ปรากฏบนภาพถ่ายอย่างน้อยสองรูปขึ้นไป ตำแหน่งอยู่บนส่วนซ้อนด้านหน้าของภาพถ่ายทางอากาศ หรืออยู่ในส่วนซ้อนที่อยู่ในแนวบิน จุดโยงยึด (Tie Point) คุณสมบัติและบทบาทในการคำนวณปรับแก้เช่นเดียวกับจุดผ่านทุกประการ

การสร้างแบบจำลองค่าระดับความสูงภูมิประเทศ(Digital Terrain Model:DTM)

การสร้างแบบจำลองความสูง (Digital Terrain Model : DTM Extraction)เป็นกระบวนการสร้างแบบจำลองความสูงที่ได้จากการขยายจุดบังคับภาพถ่ายทางอากาศโดยแบบจำลองความสูงที่ได้นี้จะเป็นความสูงของพื้นผิวทางกายภาพของพื้นที่ซึ่งรวมถึงสิ่งปกคลุมพื้นผิวทางกายภาพของโลก (Digital Terrain) ซึ่งได้แก่ บ้าน อาคาร ต้นไม้ ป่าไม้ ดังนั้นความสูงที่ได้จึงยังไม่ใช่ความสูงที่ได้จากสภาพพื้นผิวจริงๆของโลก จึงจำเป็นที่จะต้องมีการปรับแก้เพื่อให้ได้ความสูงจริงของพื้นผิวโดยการ ปรับแก้แบบจำลองความสูง (DEM Editing) โดยใช้แบบจำลองคู่ภาพสามมิติ ( 3D Stereo) เพื่อทำการกำจัดความสูงของสิ่งปกคลุมดังกล่าวออกไปจากแบบจำลองเพื่อให้ได้แบบจำลองความสูง(Digital Elevation Model) จึงจะสารมารถนำเอาผลที่ได้จากการปรับแก้แบบจำลองแล้วไปสร้างเป็นเส้นชั้นความสูง (Contour line)

Mosaic

การเชื่อมต่อข้อมูลภาพ (Mosaic) เป็นการเชื่อมต่อหรือซ้อนภาพหลายภาพเข้าด้วยกันเพื่อรวมกันเป็นภาพเดียว ซึ่งจะทำให้ภาพที่ได้ใหม่มีขนาดของข้อมูลใหญ่ขึ้น กระบวนการในการเชื่อมต่อข้อมูลภาพนี้เรียกว่า Mosaic ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้สร้างภาพเพียงภาพเดียวจากข้อมูลดาวเทียมในบริเวณที่ติดกันหรือใกล้เคียงกันหลายๆ ภาพการทำ Mosaic จะได้ภาพใหม่ที่มีการลดหรือขจัดความแตกต่างระหว่างภาพในส่วนที่มีการซ้อนทับกัน (Overlap) ในบริเวณรอยต่อของทั้งสองภาพ เพื่อไม่ให้มีความเข้มระดับสีเทาที่แตกต่างกันมากนัก สำหรับข้อมูลภาพที่จะนำมา mosaic ข้อมูลภาพทั้ง 2 จะต้องมีขนาดของจุดภาพ (Pixel size) เท่ากัน และระบบตำแหน่งพิกัดของภาพเหมือนกันหลังจากที่มีการปรับแก้ทางเรขาคณิตแล้ว ขึ้นตอนในการ mosaic หลังจากที่นำภาพทั้ง 2 ซ้อนทับเข้าด้วยกัน บริเวณที่ซ้อนทับกันของภาพ (overlap) จะต้องมีการกำหนดตำแหน่งพิกัดใหม่โดยใช้จุดควบคุมทางภาคพื้นดิน (GCPs) เพื่อให้แต่ละจุดภาพมีการปรับแก้ทางตำแหน่งตรงกันจากนั้นจะทำการกำจัดจุดภาพที่ซ้ำซ้อน (Duplicate pixel) ที่อยู่ภายในบริเวณ overlap ของภาพทั้ง 2 ออกไปให้เหลือเพียงจุดภาพชุดเดียว แล้วทำการยืดค่าความคมชัดที่เหมาะสมกับจุดภาพทั้งหมดของข้อมูลภาพทั้งสองให้พร้อมกัน เพื่อให้ได้ภาพใหม่มีที่ระดับความเข้มที่สม่ำเสมอตลอดทั้งภาพ

การประมวลผลสัญญาณดิจิทัล


การประมวลผลสัญญาณดิจิทัล หรือ ที่เรียกกันติดปากสั้น ๆ ว่า ดีเอสพี (DSP - digital signal processing) เป็นการศึกษาการประมวลผลสัญญาณที่อยู่ในรูปดิจิทัล (digital)โดยทั่วๆ ไป การประมวลผลสัญญาณ อาจแบ่งได้ตาม:

1.รูปแบบของตัวแทนสัญญาณ : การประมวลผลสัญญาณดิจิทัล (digital signal processing) และ การประมวลผลสัญญาณแอนะล็อก (analog signal processing)

2.คุณสมบัติของสัญญาณ : การประมวลผลสัญญาณไม่สุ่ม (deterministic signal processing) และ การประมวลผลสัญญาณสุ่ม (stochastic/statistical signal processing)

3.ลักษณะการประมวลสัญญาณ : เชิงเส้น (linear signal processing) และ ไม่เป็นเชิงเส้น (nonlinear signal processing)

4.อื่นๆ ที่แบ่งตามคุณลักษณะเฉพาะของสัญญาณ หรือ ลักษณะเฉพาะของการประมวลผล เช่น adaptive signal processing, mutlirate/multiresolution signal processing, chaotic signal processing ฯลฯ

ดีเอสพีนี้อาจแบ่งออกได้เป็นในส่วนของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ หรือตามการประยุกต์เป็น การประมวลผลสัญญาณเสียง (audio signal processing) การประมวลผลภาพดิจิทัล (digital image processing) และ การประมวลผลคำพูด (speech processing)

ถึงแม้ว่าในดีเอสพีนั้น สัญญาณที่เราพิจารณากันจะเป็นดิจิทัล แต่โดยทั่วไปสัญญาณเหล่านี้จากแหล่งกำเนิด จะอยู่ในรูปเดิมที่เป็นแอนะล็อก การได้มาซึ่งสัญญาณดิจิทัลซึ่งเป็นตัวแทนสัญญาณแอนะล็อกที่เราสนใจนี้ จะต้องผ่านกระบวนการแปลงสัญญาณแอนะล็อกเป็นดิจิทัล (Analog-to-Digital Conversion - ADC) หรือการดิจิไทซ์ (digitization) ซึ่งประกอบด้วยการสุ่มตัวอย่าง (sampling) (อย่าสับสนกับคำว่า สุ่ม ที่มาจาก random หรือ stochastic) และการควอนไทซ์ (quantization) ให้อยู่ในรูปดิจิทัลก่อนที่จะทำการประมวลผลต่อไป

Image Enhancement


Image Enhancement คือ กระบวนการปรับปรุงภาพให้ดีขึ้นเพื่อประโยชน์การแปลภาพด้วยการมองด้วยตา (Visual Interpretation) โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อภาพ สามารถแบ่งได้เป็น 2 domains: Spatial Domain และ Frequency DomainNoise คือ การแปรปรวนโดยไม่ได้คาดหวังของความเข้มของแสง (Gray Scale) ของภาพHistogram คือ กราฟแสดงการกระจายของความเข้มของแสง (Gray Scale) ของภาพในทางสถิติ การกระจายข้อมูลของ Histogram ที่สมบูรณ์ควรเป็นรูประฆังคว่ำที่มีสมมาตรของการกระจายแบบปกติ (Normal Distribution)ดังนั้น สิ่งแรกในการทำ Image Enhancement คือ การตรวจสอบ Histogram ของ Image นั้นๆ

การยืดภาพเพื่อเน้นความชัดเจน (Contrast Enhancement or Contrast stretching)

สำหรับเทคนิคการยืดค่าระดับสีเทานี้สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

(1) Linear Contrast Stretch เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการปรับระดับค่าสีเทา (gray scale level) หรือค่าความสว่างให้มากขึ้น ด้วยการขยายพิสัย (Range) ของระดับค่าสีเทาของข้อมูลเดิมให้มีค่ามากยิ่งขึ้นจนเต็มช่วง 0-255 โดยใช้กราฟปรับเทียบ (lookup table) ที่มีลักษณะเป็นเส้นตรง เช่น เทคนิค Standard deviation linear contrast stretch,Minimum-Maximum contrast stretch หรือ Data scaling เป็นต้น

(2) Non-Linear Contrast Stretch เป็นการยืดระดับค่าสีเทาของข้อมูลภาพ โดยใช้ความสัมพันธ์ที่ไม่ใช่ลักษณะเชิงเส้นตรง จุดประสงค์ในการใช้วิธีนี้คือ พยายามเปลี่ยนการกระจายข้อมูลที่ไม่ปกติให้เป็นแบบปกติและปรับจำนวนจุดภาพในแต่ละค่าความเข้มให้มีจำนวนใกล้เคียงกัน ซึ่งเทคนิคแบบนี้เรียกว่า “Histogram equalization stretching” หรือการยืดภาพตามความถี่ของข้อมูล นอกจากนี้การยืดข้อมูลภาพแบบ Non Linear Contrast Stretch ยังมีเทคนิคแบบอื่นๆ อีก เช่นHistogram normalization, Logarithmic, Exponential, หรือ Gaussian เป็นต้น

(3) Piecewise Contrast Stretch เป็นการเลือกยืดระดับค่าสีเทาของข้อมูลภาพเป็นช่วงที่เฉพาะเจาะจง(Specific portion of data) โดยแต่ละช่วงอาจจะกำหนดพิสัยของการยืดแตกต่างกันไป หลักการคือ พิสัยของระดับค่าสีเทาของข้อมูลเดิมที่ต้องการขยายนั้น จะถูกแบ่งออกเป็นหลายๆ ช่วง และในแต่ละช่วงจะขยายให้เป็นค่าใดๆ ก็ได้ตามต้องการ แต่ต้องต่อเนื่องกันไปจนตลอดช่วง 0-255สำหรับเทคนิคการปรับเน้นภาพโดยวิธีการยืดข้อมูลภาพ อาจจะมีนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น เช่น HistogramMatching, Threshold, Gamma, Constant Value, Invert หรือ Brightness and Contrast เป็นต้น นอกจากนี้การปรับเน้นภาพโดยเทคนิคการยืดระดับค่าสีเทาของข้อมูลภาพนี้ ผู้ใช้สามารถที่จะทำการกำหนดหรือสร้างกราฟปรับเทียบ (lookup table) เองได้โดยให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการด้วยการใช้เครื่องมือ “Break Point Editor” ของโปรแกรม ERDAS IMAGINE

การเน้นภาพเชิงพื้นที่ (Spatial enhancement or Spatial and Directional Filtering )

การเน้นภาพเชิงพื้นที่จะปรับเปลี่ยนค่าของจุดภาพนั้นๆ ตามค่าของจุดภาพที่อยู่โดยรอบ (Surrounding pixels) สำหรับการปรับเน้นคุณภาพของข้อมูลภาพวิธีนี้ เป็นเทคนิคที่จะกรองข้อมูลโดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า “Convolutionfiltering” ซึ่งจะใช้หน้าต่างกรอง (Kernel) ในลักษณะ 2 มิติ โดยเลื่อนหน้าต่างให้ตารางที่อยู่ศูนย์กลางวิ่งผ่านทีละจุดภาพ (pixel)แล้วแทนค่าจุดภาพนั้นๆ ด้วยค่าเฉลี่ยหรือกรรมวิธีทางคณิตศาสตร์อื่นๆ ของบรรดาจุดภาพข้างเคียงภายในหน้าต่างกรอง ซึ่งมีด้วยกันหลายวิธี สำหรับในบทปฏิบัติการนี้จะกล่าวเฉพาะวิธีพื้นฐาน คือ Low Pass Filtering และ High-Pass Filtering

(1) Low Pass Filtering (LPF)
Low Pass Filtering เป็นการเน้นภาพเชิงพื้นที่ ด้วยการลดระดับความถี่เชิงพื้นที่ของข้อมูลภาพ(Spatial frequency) ทำให้ภาพที่ได้ใหม่มีลักษณะเรียบ (Smooth) หรือพร่ามัว (Blur) มากขึ้น หลักการของเทคนิคการเน้นภาพแบบนี้ จะทำการคำนวณระดับค่าสีเทาของแต่ละจุดภาพด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Average) ของระดับค่าสีเทาเดิมรอบจุดภาพนั้น ด้วยจำนวน n x m จุดภาพ ค่า n และ m จะต้องเป็นเลขคี่เสมอ เช่น 3 x 3, 5 x 5, หรือ 7 x 7 เป็นต้น ขนาด n x m เรียกว่าKernel หรือ BOXCAR ในกรณีที่หน้าต่างกรองมีขนาดเล็กไม่สามารถทำให้ภาพเรียบ อาจเลือกใช้หน้าต่างกรองที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมา แต่จะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการสูญเสียรายละเอียดของข้อมูลจริงในภาพขึ้นด้วย

(2) High Pass Filtering (HPF)
High-Pass Filtering เป็นเทคนิคที่ใช้เน้นข้อมูลภาพบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เช่นเส้นขอบอ่างเก็บน้ำ หรือชายฝั่งทะเล วิธีปฏิบัติคือจะทำการกรองภาพให้เรียบก่อนโดยทำ Low pass filtering (LPF) แล้วนำค่าระดับสีเทาที่ได้ในแต่ละจุดภาพของ LPF ไปลบออกจากค่าความเข้มของข้อมูลภาพเดิม (original data) จะได้ภาพใหม่อีกภาพหนึ่งที่แสดงผลต่าง ซึ่งจะใช้ภาพที่แสดงผลต่างที่ได้นี้เป็นส่วนของการเน้นภาพ โดยบวกกลับเข้าไปในภาพเดิม ทำให้ได้ภาพที่มีการเน้นขอบ (Edge enhancement) ที่ชัดเจนขึ้น

Raster / Vector และ Pixel

Vector Graphicภาพแบบเวกเตอร์จะต่างจากภาพแบบบิตแมป ซึ่งคุณจะได้พบกับภาพแบบนี้บนโปรแกรม สำหรับวาดภาพเช่น Adobe Illustrator,Macromedia Freehand ภาพแบบเวกเตอร์จะประกอบด้วย เส้นสาย ลวดลายต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ของลักษณะทางเรขาคณิตเพื่อ สร้างรูปทรงต่าง ๆ ที่คุณเห็น ซึ่งเรียกว่าเวกเตอร์ (vectors)ข้อดีของภาพแบบเวกเตอร์ที่มีเหนือภาพแบบบิตแมป คือ คุณสามารถเคลื่อนย้าย ปรับขนาด เปลี่ยนสี รูปทรง โดยไม่สูญเสียคุณภาพของภาพ เพราะภาพแบบเวกเตอร์ เป็นภาพที่ไม่ขึ้นกับ ความละเอียด นั่นคือสามารถปรับขนาดและพิมพ์ที่ความละเอียดใด ๆ โดยไม่สูญเสียรายละเอียด และคุณภาพ ดังนั้นภาพแบบเวกเตอร์จึงเหมาะกับภาพลายเส้นต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร โลโก้
ภาพแบบบิตแมป หรือที่เรียกกันว่าแบบราสเตอร์ (raster) ภาพแบบบิตแมปนี้จะใช้ กริดของตารางเล็ก ๆ ที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “พิกเซล” (pixel) สำหรับแสดงภาพ แต่ละพิกเซลก็จะมีค่าของตำแหน่งและค่าสีของตัวเอง ด้วยเหตุที่พิกเซลมีขนาดเล็กเราจึงเห็นว่าภาพ มีความละเอียดสวยงามไม่มีลักษณะของกรอบสี่เหลี่ยมให้เห็น แต่ถ้าเราขยายขนาดของภาพ ก็จะเห็นกรอบเล็ก ๆ หรือพิกเซลที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นภาพ ดังนั้นนเมื่องคุณทำงานกับภาพแบบมิตแมป จึงเป็นทำงานกับพิกเซลเล็ก ๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นภาพ ไม่ใช่วัตถุหรือรูปทรงที่เห็น ภาพแบบบิตแมปเป็นภาพที่ขึ้นอยู่กับความละเอียด (resolution)นั่นคือ มีจำนวนพิกเซลที่แน่นอนในการแสดงภาพ

Pixelพิกเซล (Pixel) เป็นการผสมผสานของคำว่า “Picture” และ “element” คือหน่วย พื้นฐานของภาพ ภาพบิตแมปทุก ๆ ภาพประกอบขึ้นด้วยพิกเซล แต่ละพิกเซลจะมีลักษณะ เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่เก็บข้อมูลของสีโดยถูกกำหนตำแหน่งไว้บนเส้นกริดของแนวแกน x และ y ในลักษณะคล้ายแผนที่ (map) นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่าบิตแมป (bitmap) เช่น พิกเซลของ ภาพ 8 บิต จะเก็บข้อมูลของสี 8 บิต ที่จอภาพจะใช้ในการแสดงผล ดังนั้นภาพภาพหนึ่งจึงประกอบด้วยพิกเซลเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งคุณสามารถมองเห็นได้เมื่อ ขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จำนวนของพิกเซล