วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

เลือกสีให้ถูกโฉลก ตามตำรามอญโบราณ

วันอาทิตย์
ความสำเร็จ: สีม่วง
โชคลาภ: สีขาว
ทะเลาะ,มีปากเสียง: สีเขียว
เจ็บป่วย: สีดำ น้ำเงิน
อำนาจ: สีครีม เทา
มรณะ: สีชมพู
บริวาร,การช่วยเหลือ: สีเเดง

วันจันทร์
ความสำเร็จ: สีขาว ครีม เทา
โชคลาภ: สีชมพู
ทะเลาะ,มีปาเสียง: สีม่วง
เจ็บป่วย: สีดำ น้ำเงิน
อำนาจ: สีเขียว
มรณะ: สีเเดง
บริวาร,การขอความช่วยเหลือ: สีเหลือง ส้ม

วันอังคาร
ความสำเร็จ: สีดำ น้ำเงิน
โชคลาภ: สีเขียว
ทะเลาะ,มีปากเสียง: สีครีม เทา
เจ็บป่วย: สีขาว
อำนาจ: สีเเดง
มรณะ: สีม่วง ส้ม เหลือง
บริวาร,การขอความช่วยเหลือ: สีชมพู

วันพุธ
ความสำเร็จ: สีเเดง
โชคลาภ: สีม่วง ส้มเหลือง
ทะเลาะ,มีปากเสียง: สีดำ น้ำเงิน
เจ็บป่วย: สีชมพู
อำนาจ: สีขาว
มรณะ: สีครีม เทา
บริวาร,การขอความช่วยเหลือ: สีเขียว

วันพฤหัสบดี
ความสำเร็จ: สีขาว
โชคลาภ: สีครีม เทา
ทะเลาะ,มีปากเสียง: สีเเดง
เจ็บป่วย: สีเขียว
อำนาจ: สีชมพู
มรณะ: สีดำ น้ำเงิน
บริวาร,การขอความช่วยเหลือ: สีม่วง ส้ม เหลือง

วันศุกร์
ความสำเร็จ: สีชมพู
โชคลาภ: สีดำ น้ำเงิน
ทะเลาะ,มีปากเสียง: สีขาว
เจ็บป่วย: สีม่วง ส้ม เหลืองว
อำนาจ: สีเขียว
มรณะ: สีเเดง
บริวาร,การขอความช่วยเหลือ: สีครีม เทา

วันเสาร์
ความสำเร็จ: สีเขียว
โชคลาภ: สีเเดง
ทะเลาะ,มีปากสียง: สีชมพู
เจ็บป่วย: สีครีม เทา
อำนาจ: สีม่วง ส้ม เหลือง
มรณะ: สีขาว
บริวาร,การขอความช่วยเหลือ: สีดำ นำเงิน

By...Sonia1988

มาตรฐานโรงพยาบาลไทย

เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยที่ผ่าน ๆ มา นอกจากด้านการส่งออกจะเป็นองค์ประกอบสำคัญแล้ว กับด้านบริการโดยเฉพาะบริการการท่องเที่ยวก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน ขณะเดียวกันในระยะหลังยังมีบริการอีกด้านหนึ่งซึ่งโดดเด่นขึ้นมา นั่นก็คือ “บริการทางการแพทย์” ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ และในบางกรณียังยึดโยงอยู่กับการท่องเที่ยว อย่างเช่น โครงการเชิญชวนให้ชาวต่างชาติสูงอายุ เช่นชาวญี่ปุ่น เดินทางมาท่องเที่ยวพักผ่อน พร้อมรับบริการดูแลสุขภาพในเมืองไทย เป็นระยะเวลานาน ๆ
บริการทางการแพทย์...ยุคนี้จึงมิใช่แค่เรื่องสาธารณสุข
สามารถจะช่วยเศรษฐกิจชาติ...ถ้ามี “มาตรฐานดี”
ว่ากันถึงเรื่องมาตรฐานบริการทางการแพทย์ “มาตรฐานโรงพยาบาลในระดับสากล” นั้น องค์กร จอยท์ คอมมิสชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ เจซีไอ (Joint Commission International : JCI) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ถือเป็นหน่วยงานรับรองมาตรฐานโรงพยาบาล ซึ่งเป็นที่รู้จักและยอมรับกันทั่วโลก
เจซีไอ เป็นองค์กรอิสระที่ไม่หวังผลกำไร มีคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (The Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organization : JCAHO) อุทิศตัว-ทำภารกิจ ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพ บริการด้านสุขภาพมานานกว่า 75 ปี โดยมีตัวจักรสำคัญในการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลต่าง ๆ ทั่วโลกด้วยการ “ให้การรับรองมาตรฐาน”
ปัจจุบันทั่วโลกมีโรงพยาบาลผ่านการรับรอง 284 แห่ง
ในเมืองไทยเรามีแล้วราว 4 แห่ง...ล่าสุดอยู่ที่เชียงใหม่
สถานพยาบาล โรงพยาบาลในประเทศต่าง ๆ ที่ได้รับการรับรองจากเจซีไอนั้น ต้องมีการลงทุนหรือมีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน รวมถึงด้านอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับมาตรฐานที่เจซีไอกำหนดไว้ ที่สำคัญยังต้องเป็นที่พิสูจน์ได้ว่า ผู้ใช้บริการด้านการ รักษาพยาบาลจะได้รับความปลอดภัยสูงสุด และมีความเสี่ยงต่ำสุด
การตรวจมาตรฐานของทางเจซีไอนั้น จะให้ความสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่... บุคลากร เทคโนโลยีเครื่องมือทางการแพทย์ และคุณภาพ ของการรักษาพยาบาล โดยเจซีไอจะส่งคณะผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบ โรงพยาบาลที่สมัครขอรับการตรวจสอบคุณภาพอย่างละเอียด รวมทั้งตรวจสอบการควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยในการใช้ยาด้วย
ทั้งนี้ ด้วยการมีระบบควบคุมความผิดพลาดของการทำงานหลายขั้นตอน การติดตั้งหุ่นยนต์จัดยา (Robotic Medicine) เพื่อช่วยในการจัดยาที่มีความถูกต้องแม่นยำ และลดอันตรายจากการให้ยาผิดแก่ผู้ป่วย การมีศูนย์เฉพาะทางต่าง ๆ อาทิ ศูนย์บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด ศูนย์รักษาอัมพาตเฉียบพลันโดยการสอดสายสวนเพื่อละลายลิ่มเลือดในสมองโดยไม่ต้องผ่าตัด พร้อมมีบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อให้ผู้ป่วย ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ตรงตามอาการ และมีความปลอดภัยมากขึ้น
ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์การแพทย์ที่สูงด้วยเทคโนโลยี เช่น 64 สไลส์ ซีที สแกน เครื่องตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ได้อย่างละเอียด มีการใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดแบบแผลเล็ก-เสียเลือดน้อย-ใช้เวลาพักฟื้นน้อย ด้วยกล้องไมโครสโคป และเอนโดสโคป ตลอดจนการให้น้ำหนักความสำคัญในทุกองค์ประกอบของการให้บริการด้านรักษาพยาบาล ทั้งแก่ผู้ป่วยในพื้นที่เมืองที่โรงพยาบาลตั้งอยู่ และผู้ป่วยจากพื้นที่อื่น ๆ รวมถึงผู้ป่วยชาวต่างชาติที่ถูกคุกคามจากโรค ภัยไข้เจ็บ ฯลฯ
เหล่านี้อยู่ในข่ายที่มีโอกาสได้รับการรับรองจากเจซีไอ
และล่าสุดโรงพยาบาลของไทยที่ จ.เชียงใหม่ก็ทำได้ !! โรงพยาบาลในประเทศไทยที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากเจซีไอเป็นแห่งล่าสุดคือ โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม ซึ่งถือเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกของภาคเหนือที่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน โดยครอบคลุมทั้งโรงพยาบาล
“แม้จะผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากลแล้ว แต่ก็จะยังคงพัฒนาการรักษาพยาบาลและการบริการอย่างต่อเนื่อง” ...นพ.วรพันธ์ อุณจักร หนึ่งในคณะผู้บริหารโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม ระบุ และเมื่อ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา นายชุมพร แสงมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียง ใหม่ รวมทั้งกงสุลใหญ่ กงสุลกิตติมศักดิ์ ประจำเชียงใหม่ อาทิ จาก ออสเตรเลีย ออสเตรีย อินเดีย เกาหลีใต้ เปรู ก็ได้เข้าร่วมงานแสดงความยินดีกับโรงพยาบาลแห่งนี้
ซึ่งอีกด้านก็ต้องถือเป็นความสำเร็จในภาพรวมด้วย
เป็นอีกหนึ่งชื่อเสียงของบริการทางการแพทย์ในเมืองไทย
ทั้งนี้ ความสำเร็จหรือชื่อเสียงของบริการทางการแพทย์-ของโรงพยาบาลในเมืองไทยนั้น ยิ่งเป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้นในจังหวัดท่องเที่ยวที่มีชาวต่างประเทศมาเที่ยวมาก ๆ อย่างเช่น เชียงใหม่ ก็น่าจะยิ่งมีผลดีต่อภาพรวม....
ในการมุ่งสู่เป้า “ไทยเป็นฮับการแพทย์” ในภูมิภาค
ด้วย “มาตรฐาน...บวกด้านท่องเที่ยว” ไทยมีลุ้น !!

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

นักภูมิศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่


คลอดิอุส ทัลอิมีอุส (พโตเลมี)

(CLAUDIUS PTOLEMAEUS (PTOLEMY)
ปโตเลมีเป็นนักดาราศาสตร์และนักภูมิศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ (ค.ศ. 90 ? 168) ปโตเลมีเป็นชาวกรีกโดยกำเนิด แต่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่เมืองอะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ อัตชีวประวัติส่วนตัวของปโตเลมีมีการบันทึกไว้น้อยมากและไม่ชัดเจน
ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้ปโตเลมีมากที่สุด ได้แก่ ชุดประมวลความรู้คณิตศาสตร์ด้านดาราศาสตร์ ที่เรียกว่า "Mathematical Syntaxis" ซึ่งมีจำนวน 13 เล่ม โดยในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นยุคที่ดาราศาสตร์รุ่งเรืองในดินแดนตะวันออกกลาง ชาวอรับได้นำหนังสือดังกล่าวมาแปล โดยเรียกว่า "แอลมาเกสต์" (Almagest) ซึ่งมีความหมายว่า "The Greatest" โดยชุดประมวลความรู้ดังกล่าว ปโตเลมีได้รวบรวมและเรียบเรียงความรู้ต่างๆ ไว้อย่างละเอียด และมีระเบียบเป็นลำดับขั้นตอน ซึ่งสะดวกต่อการค้นคว้าและเข้าใจง่าย ถึงแม้ว่าผลงานทั้งหมดจะไม่ใช่ของปโตเลมีทั้งหมด
"แอลมาเกสต์"
หน้าซ้ายมือ อธิบายการคำนวณช่วงเวลาเกิดสุริยุปราคา และจันทรุปราคาหน้าขวามือ อธิบายแบบจำลองการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์อาทิเช่น ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์
แอลมาเกสต์เป็นชุดหนังสือที่รวบรวมความรู้ด้านดาราศาสตร์ในยุคนั้น โดยเฉพาะผลงานของฮิพพาคัส (Hipparchus : นักดาราศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงชาวกรีก มีชีวิตอยู่ในช่วง ปี 170 ? 125 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดในการพัฒนาผลงานต่างๆ ของปโตเลมี ผลจากการรวบรวมความรู้โดยปโตเลมีทำให้บันทึกของฮิพพาคัสได้ตกทอดมาถึงปัจจุบัน
แอลมาเกสต์ ทั้ง 13 เล่ม ได้อธิบายเรื่องต่างๆ ด้านดาราศาสตร์ไว้ดังนี้
เล่มที่ เรื่อง
1 อธิบายพื้นฐานด้านดาราศาสตร์ที่เกี่ยวกับการพิสูจน์ว่าโลกกลม รวมไปถึงการอธิบายว่าเอกภาพเป็นทรงกลมด้วย
2 อธิบายหลักการของปโตเลมีที่แบ่งโลกออกเป็นโซนต่างๆ รวมไปถึงการอธิบายเรื่องดวงอาทิตย์ขึ้นและดวงอาทิตย์ตก
3 อธิบายช่วงระยะเวลาของปี และทฤษฎีการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์
4 อธิบายช่วงระยะเวลาของเดือน และทฤษฎีการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์
5 อธิบายระยะทางระหว่างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ระยะทางระหว่างดวงจันทร์และโลก รวมไปถึงการสร้างเครื่องมือวัดระยะระหว่างดาว
6 อธิบายการเกิดสุริยุปราคา และจันทรุปราคา
7,8 อธิบายการกำหนดตำแหน่งดวงดาวบนท้องฟ้า
9 อธิบายเรื่องดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล อาทิเช่น ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส และดาวเสาร์
10 อธิบายเรื่องดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล โดยเน้นดาวศุกร์ และดาวอังคาร
11 อธิบายเรื่องดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล โดยเน้นดาวพฤหัส และดาวเสาร์
13 อธิบายเกี่ยวกับดวงดาวต่าง ๆ อย่างละเอียด จากหลักการความคิดของอาริสโตเติลที่เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีดาวเคราะห์และดวงดาวต่างๆ โคจรรอบโลกเป็นวงกลมสมบูรณ์นั้น ได้ทำให้ปโตเลมีใช้การสังเกต ทางดาราศาสตร์และความรู้ด้านคณิตศาสตร์ในการพัฒนาระบบจักรวาล "Ptolemaic System" ที่อธิบายว่า "โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล" เนื่องจากปโตเลมีได้ใช้คณิตศาสตร์ในการพิสูจน์และอธิบายระบบจักรวาลดังกล่าว ทำให้ไม่มีผู้โต้แย้งเป็นเวลาร่วม 1,400 ปี จนกระทั่ง ค.ศ. 1543 โคเพอร์นิคัส นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ ได้พิสูจน์ว่าทฤษฎีของปโตเลมีที่ระบุว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลนั้นผิด โดยแท้ที่จริงแล้ว ดวงอาทิตย์ต่างหากที่เป็นศูนย์กลางของสุริยะจักรวาล โดยมีโลกและดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์
ระบบจักรวาลของปโตเลมี ที่มีโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีดวงจันทร์ (LVNAE)ดาวพุธ (MERCVRII) ดาวศุกร์ (VENERIS) ดวงอาทิตย์ (SOLIS) ดาวอังคาร (MARTIS)ดาวพฤหัส (IOVIS) และดาวเสาร์ (SATVRNIS) โคจรไปรอบโลก
เพื่อให้สอดคล้องกับผลการสังเกตบนท้องฟ้า ปโตเลมีได้อธิบายการโคจรของดาวเคราะห์และดวงดาวต่างๆ ด้วยวงกลมวงใหญ่ (deferent) ที่หมุนรอบโลก พร้อมกับมีวงกลมวงเล็กที่เรียกว่า "epicycles" ซึ่งเป็นวงโคจรของดาวเคราะห์โดยเคลื่อนที่บนเส้นรอบวงของวงกลมวงใหญ่ การเคลื่อนที่ของวงกลมใหญ่จะเคลื่อนที่ไปตามทิศทางของจุดที่ 1 จนถึง 7 โดยวงกลมวงเล็กจะเคลื่อนที่ในลักษณะที่ควงสว่าน และสังเกตได้ว่าดาวเคราะห์จะมีการโคจรถอยหลังจากจุด 3 จนถึง 5 ซึ่งปโตเลมีใช้อธิบายการโคจรถอยหลังของดาวเคราะห์ที่สังเกตได้ นักดาราศาสตร์รุ่นหลังได้วิเคราะห์แล้วว่า สาเหตุหลักที่ปโตเลมีใช้การอธิบายที่ค่อนข้างซับซ้อน ก็เนื่องจากว่า ปโตเลมีเชื่อว่าดาวเคราะห์โคจรเป็นวงกลม ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วดาวเคราะห์โคจรเป็นวงรี (ค้นพบโดยเคปเลอร์ ในช่วงเวลาอีก 1,450 ปีต่อมา) ทำให้การพยากรณ์สำหรับการโคจรบางส่วนจึงผิดพลาดสะสมไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม นักดาราศาสตร์ในยุคปัจจุบันก็ได้ยอมรับว่า การอธิบายของปโตเลมีถือว่าดีที่สุดแล้วในเวลานั้น
การอธิบายการโคจรของดาวเคราะห์รอบโลก ตามแบบจำลองจักรวาลของปโตเลมี
วงกลมวงใหญ่ และ epicycle
นอกจากนี้ ปโตเลมีได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า การที่เราเห็นดวงดาวต่าง ๆ บนท้องฟ้าเคลื่อนที่ไปนั้น อาจเกิดจากการที่โลกหมุนรอบตัวเอง (เฮอราไคลดัส Heraclidus นักปราชญ์กรีกได้เสนอความคิดนี้มาก่อนแล้ว) แต่ว่าทฤษฎีโลกหมุนรอบตัวเองนั้นยังไม่เป็นที่ยอมรับในเวลานั้น


ความเชื่อตามความคิดของอาริสโตเติล และแบบจำลองระบบจักรวาลโดยปโตเลมี ที่ระบุและพิสูจน์ว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ไม่เพียงแต่ฝังรากลึกในแวดวงวิทยาศาสตร์ในยุคดัง กล่าวเท่านั้น แต่ความเชื่อดังกล่าวยังได้ฝังรากลึกในศาสนจักรคาทอลิกอย่างเหนียวแน่นอีกด้วย ซึ่งมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อนักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อมา อาทิเช่น โคเพอร์นิคัส หรือ กาลิเลโอ ที่พยายามพิสูจน์ว่าโลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล

นอกจากผลงานทางด้านดาราศาสตร์แล้ว ปโตเลมียังสร้างผลงานทางด้านคณิตศาสตร์ อาทิเช่น ทฤษฎีบทปโตเลมี (Ptolemy?s Theorem) ซึ่งอธิบายรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่าที่บรรจุอยู่ในวงกลม นอกจากนี้ ปโตเลมียังได้พิสูจน์ค่า Sin (A+B) Cos (A+B) ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของตรีโกณมิติ (Trigonometry) นอกจากเป็นนักคิดแล้ว ปโตเลมียังเป็นนักประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องมือด้านดาราศาสตร์ เพื่อใช้สำหรับการวัดมุมที่ดวงดาวหรือดวงอาทิตย์ทำมุมกับโลก

จากผลงานต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ของปโตเลมีที่ได้สร้างคุณประโยชน์มากมาย จนถือได้ว่าปโตเลมีเป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคในเวลานั้น โดยเฉพาะผลงานทางด้านดาราศาสตร์ที่ได้มีอิทธิพลและเป็นที่ยอมรับมาเป็นเวลานานร่วม 1,400 ปี จนกระทั่งโคเพอร์นิคัส ได้พิสูจน์ว่าระบบจักรวาลของปโตเลมีไม่ถูกต้อง

การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขและงานรังวัดด้วยดาวเทียมเพื่อการสำรวจและออกแบบทางหลวง : กรณีศึกษาทางเลี่ยงเมืองแม่ฮ่องสอน

Application of digital photogrammetry and GPS for highway location and design (case study Maehongson by-pass)

Abstract: งานวิจัยการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขและงานรังวัดด้วยดาวเทียม เพื่อการสำรวจและออกแบบทางหลวง:กรณีศึกษาทางเลี่ยงเมืองแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาแนวทางการใช้วิธีการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลข ให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสมกับงานด้านการสำรวจและออกแบบทางหลวง ซึ่งด้วยเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน วิธีการข้างต้นเป็นอีกแนวทางหนึ่งของการสำรวจรังวัดพิกัดตำแหน่ง การตรวจสอบหรือเปรียบเทียบกับข้อมูลพิกัดตำแหน่งที่ได้ทำการรังวัดภาคสนามไปแล้ว หรือให้ข้อมูลภาพรวมในพื้นที่ ได้เป็นอย่างดี ผลการวิจัยพบว่า ภาพถ่ายมาตราส่วน 1:15000 มีความเหมาะสมสำหรับขั้นตอนการสำรวจเบื้องต้น ภาพถ่ายมาตราส่วน 1:6000 มีความเหมาะสมสำหรับขั้นตอนการสำรวจขั้นต้น ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลภาพถ่ายเชิงเลข คือ แบบจำลองระดับสูง และ ภาพถ่ายดัดแก้ออโท สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการออกแบบแนวทาง การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินในเขตทาง หรือ ใช้ประกอบกับแบบแนวทางราบ จากการเปรียบเทียบภาพที่สแกนด้วยความละเอียด 15 และ 25 ไมครอน พบว่าภาพที่สแกนด้วยความละเอียด 25 ไมครอน สามารถใช้งานได้เพียงพอสำหรับการสำรวจเส้นทาง และขนาดจุดภาพของภาพดัดแก้ออโทที่ผลิตได้ที่เหมาะสมกับงานออกแบบทาง คือ 0.20 เมตร สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ ความถูกต้องของจุดพิกัดใน 3 มิติ ระยะเวลาในการทำงาน ขนาดพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการนำมาใช้ในขั้นตอนต่างๆของการสำรวจและออกแบบทางหลวง

Abstract: The purpose of the research is to study how digital photogrammetry and GPS can be suitably used in different stages for highway location and design. According to the present technology and the progress of computer, the above-mention is an alternative to survey for validation and comparing to the location with ground survey or providing the information in general to be effectively used for highway design. Resulting on the study area, aerial photo at scale 1:15000 is suitable for reconnaissance survey and photo at scale 1:6000 is suitable for preliminary survey. The outcomes of digital photogrammetric processing are digital elevation model and orthophoto. Those can be used for route design, property reclamation or overlaying with detail design plan. By comparison of images scanned at 15 and 25 micron resolution the digital image with latter resolution is adequate for route survey. The orthophoto produced at ground sampling distance of 0.20 meter can be optimally used for highway design. The important considerations are accuracy of the 3D points , timeliness , and manageable sizes of digital data for different stages of highway location and design

นิราศ...แห่งชีวิต








หนาวนี้ที่ “ภูหินร่องกล้า”

ถึงแม้ครั้งนี้จะไม่ใช่ครั้งแรกที่ฉันได้มาที่นี่ “ภูหินร่องกล้า” แต่ฉันก็ได้รับรู้ถึงความรู้สึกที่แตกต่าง เพราะว่าไม่ได้มาทำงานเหมือนครั้งแรก จึงมีเวลาเก็บเกี่ยวรายละเอียดมากมาย ได้มีเวลาละเมียดละไมดูอะไรอีกตั้งหลายอย่าง และได้พบว่าที่นี่นอกจากจะเป็นสถานที่สำคัญในประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีที่ๆโรแมนติกและมุมสวยๆให้ถ่ายรูปเยอะเลย



ก่อนอื่นฉันขอเล่าถึงประวัติความเป็นมาของที่นี่ก่อนแล้วกัน เพราะเวลาเราจะไปที่ไหนก็ควรรู้จักสถานที่นั้นไว้ก่อนไม่ใช่เหรอ สำหรับเทือกเขาแห่งนี้ เมื่อ 30 ปีก่อน เคยเป็นฐานที่มั่นของคอมมิวนิสต์ ต่อมาเมื่อทหารได้เข้ามาปราบปรามชาวเขาเผ่าม้งที่เคยเป็นคอมมิวนิสต์จึงกลับใจเข้ามอบตัวกับทางการ ทำให้มีถนนตัดผ่าน และได้ตั้งภูหินร่องกล้าเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2526 ที่นี่ยังมีร่องรอยประวัติศาสตร์ การสู้รบไปทั่วทั้งผืนป่าและรอยหิน แต่ใครจะรู้บ้างว่าท่ามกลางสมรภูมิรบในดินแดนแห่งนี้ ยังมีความงามซ่อนตัวอยู่

วันนี้เมื่อที่นี่กลายเป็น “อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า” ที่ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาสัมผัสเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ได้เปิดเผยให้เห็นความงดงามของธรรมชาติท่ามกลางป่าสน และดงดอกไม้นานาพันธ์ การมาภูหินร่องกล้าในหน้าหนาวเป็นความรู้สึกที่พิเศษ โดยเฉพาะคนกรุงเทพที่ไม่คุ้นเคยกับอากาศหนาว เพราะหนาวจริงๆ หนาวได้ใจ ถึงแม้ในเวลากลางวันอากาศจะไปทางค่อนข้างเย็นสบายจนถึงร้อนก็ตามเหอะ แต่พอตกเย็นเท่านั้นเสื้อหนาวมีเท่าไหร่ต้องขนออกมาใส่ให้หมด หนาวมากแต่ก็ได้บรรยากาศดี ยิ่งถ้าได้ก่อกองไฟทำเป็นเตาผิงยิ่งโรแมนติกใหญ่ ได้มองดูดาวเต็มฟ้า เวลาพูดก็จะมีไอเย็นออกจากปาก สูดอากาศเข้าไปก็ได้ออกซิเจนไปเต็มๆปอด แต่ขาดอย่างเดียวคือขาดคู่มากับเค้าด้วย (เฮ้อ.. แล้วจะโรแมนติกไหมเนี่ย)


เวลามาเที่ยวต่างจังหวัดแบบนี้ การตื่นเช้าก็เป็นข้อดีอีกอย่าง เพราะเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ ได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้น น้ำค้างกลิ้งบนยอดหญ้า ได้ยินเสียงไก่ขัน นกร้องจิ๊บๆ หรือแม้แต่เสียงลมพัดที่พัดพาเอากลิ่นหอมของดอกไม้ป่ามาด้วย คงไม่บ่อยครั้งนักที่เราจะได้มีโอกาสสังเกตุหลายสิ่งหลายอย่างรอบตัวอย่างไม่ต้องเร่งรีบ ชื่นชมความงามของธรรมชาติ และได้สัมผัสถึงการพักผ่อนจริงๆ

การมาเที่ยว อุทยานฯภูหินร่องกล้า ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรมากนัก เพราะที่นี่มีครบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายขนมและของที่ระลึก แค่เตรียมตัวฟิตร่างกายสักหน่อย เพราะแต่ละที่ค่อนข้างเดินไกลพอสมควร ที่สำคัญควรศึกษาหาข้อมูลไปบ้าง อย่างลานหินปุ่ม ลานหินแตก ผาชูธง และโรงเรียนการเมืองการทหารมีความเป็นมายังไง ถ้าเราทราบไว้เวลาไปเที่ยวก็จะสนุกยิ่งขึ้น แต่ที่ไม่ควรพลาดก็คือ อย่าลืมพกกล้องถ่ายรูปไปด้วย เพราะที่นี่มีวิวสวยๆให้ถ่ายรูปเยอะ อย่างจุดไฮไลท์ที่สุดก็คือที่ลานหินปุ่มและตรงผาชูธง 2 จุดนี้มีคนไปรอต่อคิวถ่ายรูปเพียบ ยิ่งถ้าไปตอนพระอาทิตย์ตกก็จะได้รูปสวยๆกลับไปหลายใบเลยล่ะ แต่ถ้าจะถ่ายในอุทยานฯก็มีมุมเก๋ๆ อย่าง ใต้ต้นเมเปิ้ล ตรงนี้ฮอตสุดๆ หรือจะเป็นโซนที่พักด้านหลังที่มีต้นนางพญาเสือโคร่งกำลังออกดอกสีชมพูบานสะพรั่ง ถ่ายออกมาได้เหมือนอยู่ในดินแดนซากุระ ดูคิกขุอาโนเนะไปอีกแบบ แต่ถ้าใครอยากได้มุมอาร์ตหน่อยแนะนำให้ไปที่ร้านกาแฟหน้าอุทยานตรงนี้มีมุมให้นั่งถ่ายรูปหลายมุม แถมยังมีดอกไม้รอบๆร้านเป็นอุปกรณ์ประกอบฉากที่ไม่ต้องเสียสตางค์เลยล่ะ

BY...SONIA1988

สูดไอสวรรค์บนดิน ที่ภูหินร่องกล้า


ในเช้าวันที่อากาศสดใสกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา ฉันตื่นแต่เช้าเพื่อเตรียมตัวออกเดินทางจากตัวเมืองพิษณุโลกมุ่งไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-วังทอง) เพื่อไปสู่จุดหมายปลายทาง “อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า” ซึ่งกินอาณาเขตหลายจังหวัด เมื่อรถไต่ระดับขึ้นไปตามทางสู่ยอดเขาลูกแล้วลูกเล่าด้วยเส้นทางคดเคี้ยวฉวัดเฉวียนน่าหวาดเสียว ที่เป็นทั้งเชิงผาสลับกับเชิงเขา ฉันสังเกตได้ว่าพันธุ์ไม้เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ยิ่งสูงขึ้นเหล่าบรรดาแมกไม้ยิ่งดูแปลกตามากขึ้นตามระดับของภูเขา จนกระทั่งใกล้เขตอุทยานฉันจึงเห็นต้นสนใหญ่ยักษ์ และเฟิร์นใบใหญ่หนา เป็นร้อยๆ พันๆ ขึ้นเต็มไปหมดหลังออกเดินทางจากตัวจังหวัดได้ประมาณ ๒ ชั่วโมง ฉันและเพื่อนก็มาถึงเขตอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า แม้ในตัวเมืองจะอากาศค่อนข้างร้อน แต่เมื่อมาถึงเขตอุทยานแล้วอากาศเย็นมากจนเกือบหนาว แลเห็นปุยเมฆอยู่ใกล้ๆ จนคิดว่าเกือบจะสัมผัสได้ จุดมุ่งหมายของเราคือสุดเขตอุทยานฯ ด้านจังหวัดเพชรบูรณ์ เราจึงเดินทางต่อโดยไม่หยุดพักระหว่างทางเลย แม้ระยะทางจากเขตอุทยานด้านจังหวัดพิษณุโลกถึงด้านจังหวัดเพชรบูรณ์จะสั้นกว่าระยะทางจากตัวเมืองถึงเขตอุทยานฯ มากนัก แต่กลับใช้เวลานานกว่ามาก เพราะเส้นทางที่คดเคี้ยวจำเป็นต้องใช้ความชำนาญและความระมัดระวังอย่างยิ่งยวด แม้ไม่ได้หยุดพักชื่นชมธรรมชาติ แต่ฉันก็ชื่นใจที่เห็นต้นไม้นานาพันธุ์ขึ้นรกครึ้มอย่างอุดมสมบูรณ์ ในที่สุดฉันและเพื่อนก็มาถึงสุดเขตอุทยานฯ ด้านจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อลงมาจากรถและสัมผัสกับอากาศเย็นบริสุทธิ์แล้ว ฉันก็ต้องตะลึงกับความสวยงามของทิวทัศน์ที่ได้เห็นอยู่ตรงหน้า ถนนเลียบเชิงเขาหลายเส้นทางดูเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม สวนผักที่ปลูกไว้เป็นขั้นบันไดตามไหล่เขาเขียวขจีสดชื่นตัดกับสีเหลืองจัดของดอกทานตะวันที่ขึ้นอยู่เต็มทุ่งกว้างสุดลูกหูลูกตาอีกด้าน ประกอบกับหมอกที่ลงจัดและเมฆที่ลอยต่ำจนแทบจะสัมผัสได้ ทั้งหมดนั้นฉันแทบไม่อยากเชื่อเลยว่าจะอยู่บนโลกยุ่งๆ ใบนี้ ก็แล้วใครจะเชื่อได้ล่ะว่าที่แห่งนี้อยู่บนโลกของเราจริงๆ ในเมื่อตอนเช้าตรู่ฉันยังตื่นขึ้นมาเจอแต่รถติด บ้านเรือนและตึกสูงในตัวจังหวัด แต่ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้นฉันก็ได้พบเห็นทั้งต้นสนต้นใหญ่อายุนับร้อยปีเป็นพันๆ ต้น และเฟิร์นใบยักษ์ที่เคยเห็นในภาพยนตร์เกี่ยวกับไดโนเสาร์นับหมื่นๆ กอ อีกทั้งอากาศบริสุทธิ์ที่ฉันสามารถสูดเข้าจมูกผ่านไปตามหลอดลมบรรจุเก็บไว้ในปอดได้อย่างเต็มที่ไม่ต้องกลัวมลพิษใดๆเจือปน ที่เหลือเชื่อกว่านั้นคือฉันได้สัมผัสกลุ่มไอน้ำสีขาว ที่ฉันเองก็ไม่แน่ใจว่าเป็นหมอกหรือเมฆกันแน่ คงไม่มีใครคัดค้านฉันแน่ ถ้าฉันจะบอกว่าที่แห่งนี้คือสวรรค์ และฉันก็มีโอกาสได้ขึ้นมาสูดไอสวรรค์ ณ ที่ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสวรรค์บนดินแห่งนี้แล้ว
BY...SONIA1988

เด็กชายอังกฤษระดมเงินช่วยเฮติได้ 50,000 ปอนด์ภายในวันเดียว

ลอนดอน 25 ม.ค. - เด็กชายชาวอังกฤษวัย 7 ขวบ สามารถปั่นจักรยานระดมเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในเฮติได้กว่า 50,000 ปอนด์ (ราว 2.6 ล้านบาท) ภายในเวลาเพียง 1 วัน
ด.ช.ชาร์ลี ซิมป์สัน เริ่มต้นด้วยการระดมเงิน 500 ปอนด์ (ราว 26,950 บาท) ให้องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ด้วยการปั่นจักรยานระยะทาง 8 กม. รอบสวนสาธารณะในกรุงลอนดอน แต่ความพยายามของหนุ่มน้อยผู้นี้ได้สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนนับร้อยร่วมบริจาคเงินผ่านทางอินเทอร์เน็ต

ด.ช.ซิมป์สัน กล่าวว่า เขาเริ่มความคิดระดมเงินหลังจากได้เห็นภาพสะเทือนใจของเด็กชาวเฮติที่ถูกดึงออกมาจากซากปรักหักพังของอาคารผ่านทางโทรทัศน์ ขณะที่นางลีโอโนรา แม่ของหนูน้อยก็ช่วยทำแบบฟอร์มขอระดมเงินสนับสนุนจนเอกสารดังกล่าวแพร่สะพัดทางอินเทอร์เน็ตอย่างรวดเร็ว และได้เงินบริจาคก้อนโตภายในเวลาเพียงวันเดียว

สำหรับเงินจากเว็บไซต์ JustGiving ของ ด.ช.ซิมป์สัน จะมอบให้แก่ยูนิเซฟ ซึ่งเป็นแกนนำในงานบรรเทาทุกข์ ด้านน้ำดื่ม สุขอนามัย การศึกษา โภชนาการ และสนับสนุนการคุ้มครองเด็ก ยูนิเซฟระบุว่า นี่เป็นครั้งแรกที่มีผู้สามารถระดมเงินทุนได้ 50,000 ปอนด์ (ราว 2.6 ล้านบาท) ภายในเวลา เพียง 1 วัน และเงินที่ได้จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่.

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักข่าวไทย

4 วิธีแก้คอเคล็ดเพราะตกหมอน


"โอ๊ย... ช่วยด้วยหันคอไม่ได้" ...คุณล่ะเคยไหมคะ ที่บางครั้งหลังตื่นนอนไม่สามารถหันคอหรือเอียงคอได้ เพราะคอเคล็ดหรือคอแข็ง อย่างที่เราเรียกว่า "ตกหมอน" นั่นเอง เรามีเคล็ดลับง่ายๆ ไว้ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยจากการตกหมอนมาฝากค่ะ

1. อย่าพยายามเคลื่อนไหวคอและให้อยู่นิ่งๆ โดยการนอนราบชั่วคราว เพื่อให้กล้ามเนื้อคอได้พัก
2. ประคบร้อน ด้วยกระเป๋าน้ำร้อนหรือผ้าชุบน้ำอุ่นบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอที่เจ็บประมาณ 20-30 นาที และกดนวดบริเวณคอเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น
3. ดัดยืดคอด้วยตนเอง โดยใช้มือช่วยดันศีรษะไปในทิศทางที่เกิดอาการตึงช้าๆ จนรู้สึกตึงเล็กน้อยแต่ไม่เจ็บ ดันค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที แล้วทำซ้ำ 5-10 ครั้ง จนเริ่มรู้สึกทุเลาลง
4. นวดเบาๆ โดยใช้มือบีบลงบนแนวของกล้ามเนื้อที่รู้สึกปวดเมื่อย ให้แรงบีบพอประมาณที่ทำให้รู้สึกแน่นตึงและไม่เจ็บ บีบและคลายเป็นจังหวะ การประคบร้อนก่อนการนวดจะช่วยให้นวดได้ง่ายขึ้น และผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้เร็วขึ้น

ข้อควรระวัง ไม่ควรกดบีบหรือยืดกล้ามเนื้อจนรู้สึกเจ็บ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวมากขึ้น และไม่ควรให้ผู้อื่นดัดคอหรือจับเส้นเด็ดขาด เพราะจะทำให้อักเสบและเรื้อรังได้ ถ้ายังไม่หายค่อยๆ ฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อหรือปรึกษานักกายภาพบำบัด ปกติอาการปวดคอมักจะหายภายใน 1-2 วัน ถ้าอาการรุนแรงขึ้นหรือยังไม่หายสนิท ให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและรักษาให้ถูกต้องค่ะ


นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 194

ดี...ร้าย ...แล้วแต่ใครจะมอง

หญิงสาวคนหนึ่ง หงุดหงิดใจกับเหตการณ์ที่ๆทำงาน ที่เกิดขึ้นทุกวัน
เนื่องจากในออฟฟิศของเธอนั้น มีแต่คนที่ชอบให้ร้ายกันและกันเสมอ............


บ้างก็จับกลุ่มนินทาผู้อื่น
บ้างก็ชอบจับกลุ่มบ่นระบายเรื่องไม่พอใจและปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงาน
หัวหน้าที่ชอบดุด่า เพื่อแสดงอำนาจลูกน้อง
ที่แอบนินทาว่าเจ้านายลับหลัง


หญิงสาวจึงมาทำงานทุกวันด้วยความเบื่อหน่าย
และอยากจะลาออกไปให้พ้นๆๆ จากบริษัทแห่งนี้
ทุกๆวันเธอจึงเฝ้าแต่มองหาที่ทำงานใหม่
ที่เธอคิดว่า สังคมในการทำงานจะดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่......
----------------------------------------------------

วันหนึ่ง.....หญิงสาว ไปท่องเที่ยวที่วัด ๆ หนึ่ง
มีสุนัข 2 ตัว กำลังยืน ประจันหน้า และพร้อมที่จะเข้ากัดกัน
ต่างฝ่าย ต่างก็ ขู่ คำราม เสียงดัง เป็นที่หนวกหู แก่ผู้คน

ด้วยความรำคาญ หญิงสาว จึงเข้าไปไล่.....

สุนัข เมื่อ ถูกไล่ ก็ วิ่งหนีไปด้วยความกลัว
แต่ไม่ช้า สุนัข ทั้งสอง ก็กลับมา คำราม ขู่กัน ในพื้นที่เดิมอีก
หญิงสาว ก็เดินเข้าไปไล่มันอีก มันก็ วิ่งหนี และกลับมา แบบเดิมอีก

หญิงสาว ไล่สุนัข จนเหนื่อย รู้สึกรำคาญ กับเรื่องที่เกิดขึ้นมาก
เธอเริ่มคิดว่า ทำไม? วัดนี้ไม่มีคนมาคอยดูแล
คอยไล่สุนัข เพื่อไม่ให้รบกวนคนที่มาวัด
แถมสุนัขจรจัดก็มีมาก สร้างความสกปรก และความรำคาญให้แก่ผู้คน
---------------------------------------------------------------

และแล้วก็มีพระเดินผ่านมา เธอจึงเอ่ยปาก ถาม ขึ้นว่า.....
" หลวงพี่ ไม่รำคาญเสียงสุนัข บ้างเลยหรือ มันเห่าเสียงดัง ทำไมไม่ไล่มันไปเสีย "
พระหนุ่มจึงตอบว่า
" เราไม่เห็นได้ยินเสียงเห่าของสุนัขเลย โยม จะให้รำคาญได้อย่างไร"

หญิงสาวรู้สึกหงุดหงิดมากยิ่งขึ้น
" เอ๊ะ หลวงพี่ เสียงหมาเห่าออกจะดังขนาดนี้ ยังบอกว่าไม่ได้ยินเหรอ"


" หูอาตมาไม่ได้หนวก เสียงสุนัขนะได้ยิน อยู่
แต่อาตมาได้ยินว่ามันทะเลาะกัน เดี๋ยวทะเลาะกันเหนื่อย มันก็เลิกไปเอง
ไม่เห็นได้ยินเสียงเห่า ว่า น่ารำคาญ อย่างที่โยม บอก.....
ว่าแต่โยม เถอะ ไปทะเลาะกับสุนัข 2 ตัว นั้น ด้วย เหรอ
ถึงได้ หงุดหงิดเดือดเนื้อร้อนใจ ไปกับมันด้วย ? "
--------------------------------------------------------


.....หากเรามองว่า สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ความทุกข์
แต่เป็นเพียง เรื่องโชคร้าย ที่ผ่านเข้ามาในบางจังหวะของชีวิต

เราก็จะไม่ทุกข์.....

และจะมีกำลังใจที่จะต่อสู้ กับเหตุการณ์โชคร้ายที่จะเกิดขึ้นได้.....

......เราปฎิเสธไม่ได้ว่า สิ่งที่ทำให้เราร้อนรนจิตใจ

ถ้าเรา เพียงแค่มองสิ่งเหล่านั้น ด้วยการมีเมตตา

เราจะสามารถรู้สึกสงบ และเป็นสุขได้.....


.....การมีชีวิตอยู่ในสังคมทุกวันนี้ เต็มไปด้วยความวุ่นวาย.....

.....การฝึกมองทุกสิ่งที่อยู่รอบตัว ด้วยความเมตตา

จะเป็นเกราะป้องกันจิตใจเรา ให้อยู่ห่างไกลจากความทุกข์

และจะรู้สึกเบาสบาย เป็นสุขได้ทุกเวลา


***********************************************

แผ่นดินไหวปานกลาง เขย่าวานูอาตู ไม่มีเตือนสึนามิ

ศูนย์สำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ รายงาน เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาดปานกลางในวานูอาตู แปซิฟิกใต้ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.4 ริคเตอร์ ยังไม่มีประกาศเตือนสึนามิ และไม่มีรายงานความเสียหาย

...สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 25 ม.ค. ศูนย์สำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ รายงานว่า เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาดปานกลางในวานูอาตู แปซิฟิกใต้ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.4 ริคเตอร์ เมื่อเวลา 05.15 น. (ตามเวลาในท้องถิ่น) ซึ่งตรงกับเวลา 01.15 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) โดยศูนย์การแผ่นดินไหวห่างจากกึ่งกลางระหว่างทิศใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของ กรุงพอร์ทวิลลา 98 กิโลเมตร ลึก 15 กิโลเมตร

เบื้องต้นยังไม่มีประกาศเตือนสึนามิ และไม่มีรายงานความเสียหาย แต่เหตุแผ่นดินไหวรุนแรง ขนาด 8.0 ริคเตอร์ ซึ่งทำให้เกิดสึนามิขนาดใหญ่ในซามัว และอเมริกันซามัว รวมถึงตองก้า เมื่อเดือน ก.ย.ปีที่แล้ว สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนประชาชน รีสอร์ท และยังคร่าชีวิตประชาชนอีก 184 คน.

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

รู้ไหมว่า “สตอเบอรี่” มีดีแค่ไหน?


คงไม่ต้องแปลกใจ ที่เวลานี้เราจะเห็น “สตอเบอรี่” ขายอยู่ เกลื่อนตามท้องตลาด เรียกว่าเดินไปทางไหนก็เจอ.. แต่ที่นิยมกันมากก็คงจะเป็นสตอเบอรี่ที่ใส่แก้วเล็กๆขาย ราคาก็จะอยู่ที่ประมาณ 20-30 บาท เรียกได้ว่าซื้อหามารับประทานกันได้ง่ายและสะดวกทีเดียวในช่วงนี้

นอกจากสีสันและรูปลักษณ์ที่เข้าท่าน่ารับประทานยิ่งของเจ้าสตอเบอรี่นี้ จึงกลายเป็นผลไม้ที่หลายคนชอบนัก แต่ก็ใช่ว่าจะหารับประทานกันได้ง่ายเพราะจะมีแต่ช่วงหน้าหนาวซึ่งเป็นระยะ เวลาสั้นๆนี่เองที่เราจะได้รับประทานเจ้าผลไม้ชนิดนี้กันอย่างหนำใจ เพราะถ้าเป็นช่วงนอกฤดูแล้วละก็ เรื่องราคาไม่ต้องพูดถึงถือว่าแพงใช่เล่นเลยทีเดียว

แต่ก็เอาเถอะค่ะ ราคาจะขนาดไหนกันเชียว เมื่อเทียบกับคุณประโยชน์มหาศาล ที่อัดแน่นอยู่ในสตอเบอรี่แดงฉ่ำแสนอร่อยลูกนี้ มาดูกันซิว่า สตอเบอรี่ จะมีดีแค่ไหน?

อย่างแรก สตอเบอรี่ เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีและวิตามินเอสูงมาก และสารทั้งสองชนิดนี้ ก็เป็นสารสำคัญที่สามารถต้านอนุมูลอิสระต้นเหตุของการเกิดโรคมะเร็งได้ ซึ่งถ้าหากว่าเรารับประทานสตอเบอรี่เป็นประจำ ก็จะทำให้เราห่างไกลจากโรคนอกจากนั้น สตอเบอรี่ยังมี ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส และแคลเซียม ที่มาช่วยซ่อมแซมส่วนต่างๆที่สึกหรอของร่างกาย ช่วยให้ระบบเลือดและหัวใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยลดความดันโลหิตได้อีกด้วย

ยังไม่หมด สตอเบอรี่ ยังอุดมด้วยไฟเบอร์เพคติน ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลลงได้ระดับหนึ่ง เรียกได้ว่ากินเท่าไหร่ก็ไม่ต้องกลัวอ้วนหรือน้ำตาลขึ้นเหมือนผลไม้ชนิด อื่นๆแน่นอน
มะเร็ง และก็ยังมีสุขภาพผิวที่ดีสดชื่นเปล่งปลั่งไม่แพ้ใคร



2 เด็กไทยเจ๋ง ชนะเลิศ จรวดขวดน้ำ เอเชียฯ

2 เด็กไทยเจ๋ง ชนะเลิศจรวดขวดน้ำเอเชียฯ เอาชนะคู่แข่งโลก 50 คนจาก 15 ประเทศ (มติชนออนไลน์)


นายพิชัย สนแจ้ง ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวเมื่อวันที่ 24 มกราคม ถึงผลการแข่งขันจรวดขวดน้ำเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 16 (APRSAF-16 Water Rocket Event) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 - 24 มกราคม 2553 ที่อพวช. คลองห้า จ.ปทุมธานี โดยประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเป็นครั้งแรก โดยมีเยาวชนอายุตั้งแต่ 12-16 ปีเข้าร่วมกว่า 50 คน จาก 15 ประเทศ อาทิ บังคลาเทศ กัมพูชา โคลัมเบีย อินเดีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น และไทย ว่า นับเป็นเรื่องน่ายินดีอีกครั้งกับความสามารถของเด็กไทย ที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันจรวดขวดน้ำเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 16 โดยผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่


นายศฤงคาร ทองแท้ หรือแบงค์ อายุ 16 ปี นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจุ๋งฮัวโซะเซียว จ.ตรัง สามารถยิงจรวดขวดน้ำได้ในระยะทาง 0.06 เมตรจากจุดศูนย์กลางของเป้า ถือว่าแม่นยำที่สุด


นายพิชัย กล่าวว่า ส่วนรางวัลชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายฮี เจียง ตัน อายุ 15 ปี จากโรงเรียน Dunearn Secondary School ประเทศสิงคโปร์ ยิงจรวดขวดน้ำได้ในระยะทาง 0.26 เมตรจากจุดศูนย์กลางของเป้า ส่วนรางวัลชนะเลิศอันดับ 3 เป็นของไทยอีก ได้แก่ นายสุทธิพงษ์ รุ่งรักษ์ อายุ 16 ปี โรงเรียนจุ๋งฮัวโซะเซียว จ.ตรัง เช่นกัน สามารถยิงจรวดขวดน้ำได้ในระยะทาง 2.08 เมตรจากจุดศูนย์กลางเป้าหมาย โดยทั้งหมดจะได้รับถ้วยรางวัล พร้อมเกียรติบัตร ขณะที่ผู้เข้าร่วมการแข่งขันคนอื่น ๆ จะได้รับเกียรติบัตรเพื่อเป็นที่ระลึกด้วย


ผู้อำนวยการ อพวช. กล่าวอีกว่า ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เด็กไทยได้รับรางวัลชนะเลิศ เนื่องจากก่อนหน้านี้เคยได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันจรวดขวดน้ำที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2549 และครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่สอง อย่างไรก็ตาม การแข่งขันดังกล่าวแม้จะไม่มีเงินรางวัล แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เข้าร่วมทุกคนจะได้รับ คือ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างง่าย โดยใช้อุปกรณ์ราคาถูกไม่ถึง 50 บาท ที่สำคัญยังได้แลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิดในการประดิษฐ์จรวดขวดน้ำของประเทศอื่นๆ รวมทั้งทักษะการเรียนรู้ดังกล่าวยังเป็นพื้นฐานนำไปสู่อาชีพในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยีอวกาศ หรืออาจไปสู่ความฝันของการเป็นนักบินอวกาศก็เป็นได้ เนื่องจากหลักการพื้นฐานของการขับเคลื่อนจรวดขวดน้ำ ไม่ได้แตกต่างจากเครื่องบินอวกาศเลย


"หวังว่ากิจกรรมที่เกิดขึ้นในครั้งนี้จะพิสูจน์ศักยภาพเทคโนโลยีด้านจรวดขวดน้ำของไทยในระดับนานาชาติ ซึ่งที่ผ่านมาเยาวชนไทยเคยได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันดังกล่าวที่ญี่ปุ่นมาแล้ว ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กหันมาสนใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น" นายพิชัย กล่าว ด้านนายศฤงคาร กล่าวว่า รู้สึกดีใจกับรางวัลที่ได้รับ และอยากให้ภาครัฐสนับสนุนให้เด็กไทยหันมาเล่นจรวดขวดน้ำมากกว่านี้ เพราะเป็นกิจกรรมที่ดีในการปลูกฝังให้สนใจวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น ดีกว่าไปเล่นเกมส์ ติดยาเสพติด หรือทะเลาะวิวาท ซึ่งไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย






ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก


วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

ภูมิศาสตร์ในปัจจุบันและอนาคต (Geography at Present and in the Future)

ภูมิศาสตร์ในปัจจุบันและอนาคต
Geography at Present and in the Future
ภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน มีลักษณะหลายอย่างแตกต่างจาก ภูมิศาสตร์ในอดีต ลักษณะของความแตกต่างมีสองประการ คือ 1. ความแตกต่างทางด้านแนวความคิดทางภูมิศาสตร์ 2. ความแตกต่างทางด้านวิธีการศึกษาวิจัย แนวความคิดภูมิศาสตร์ออกเป็น 4 แนวทาง คือ

1. Man-land tradition หรือ Man-land ( environment) relations
2. Area studies tradition หรือ Areal differentiation
3. Earth science tradition
4. Spatial tradition
Man-land tradition มุ่งศึกษาวิจัยถึงความสัมพันธ์ หรือ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มย่อยคือ กลุ่มแรก เชื่อว่าปัจจัย สิ่งแวดล้อมกายภาพ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งต่างๆขึ้นซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์โดยไม่พิจารณาย้อนหลังว่า สิ่งแวดล้อมทางกายที่ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์หรือไม่ เรียกว่า ดีเทอร์ มินิสท์ (Determinists) นักภูมิศาสตร์คนสำคัญในกลุ่มนี้คือ รัทเซล (Ratzel) กลุ่มที่สอง เชื่อว่า มนุษย์เป็นต้นเหตุที่ทำให้สิ่งแวดล้อมทางกายภาพเกิดการเปลี่ยนแปลงไป เรียกว่า พอสสิบิลิสท์ (Possibilists)
กลุ่มที่สาม เชื่อว่า จุดสำคัญในวิชาภูมิศาสตร์ก็คือ การสร้างระบบการอยู่อาศัยร่วมกันระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ระบบดังกล่าวเรียกว่า ระบบนิเวศของมนุษย์
Area studies tradition หรือ Areal differentiation มุ่งศึกษาวิจัยธรรมชาติลักษณะและความแตกต่างของสถานที่ต่างๆบนผิวโลก นักภูมิสาสตร์คนสำคัญ คือ ริชาร์ด ฮาร์ทชอร์น (Richard Hartshorne) นอกจากแนวความคิดแตกต่างจากพื้นที่ยังได้สรุปว่า การศึกษาวิจัยด้วยวิธีการ สังเคราะห์ อย่างเป็นระบบในกรอบของ ภูมิภาค ทำให้เกิดคำนิยามของวิชาภูมิศาสตร์ขึ้นว่า “ภูมิศาสตร์” เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับความแตกต่างทางพื้นที่ ผลิตผลคือ วิชาภูมิศาสตร์ภูมิภาค แนวความคิดดังกล่าวถูกโจมตีอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นแนวทางการศึกษาวิจัยที่ไม่เป็นเชิงวิทยาศาสตร์ทำให้ขาดความรัดกุม เชื่อถือ และพิสูจน์ได้ยาก
Earth science tradition มุ่งเน้นเกี่ยวกับโลกในส่วนที่เป็นธรณีภาค (Lithosphere) บรรยายกาศ(Atmosphere) ตลอดจนความสัมพันธ์กันระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ความเชื่อดังกล่าวก่อให้เกิดวิชา ภูมิศาสตร์กายภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ ดังนั้นคำนิยามภูมิศาสตร์จึงกล่าวว่า “ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับโลก”
Spatial tradition ให้ความสำคัญเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ทางพื้นที่ของปรากฏการณ์ต่างๆ ทำให้เกิดนิยามทางภูมิศาสตร์ว่า “ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์เกี่ยวพื้นที่” (Geography is the study of space) ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างสูงและถือเป็น แกนนำ
ภูมิศาสตร์ในอนาคต
ภูมิศาสตร์ในอดีต มุ่งเน้นที่จะ บรรยาย หรือ พรรณนา ปรากฏการณ์ของสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลก ในทางตรงข้ามภูมิศาสตร์ในปัจจุบันมุ่งเน้นที่จะ อธิบาย และ พยากรณ์ ปรากฏการณ์ของสิ่งต่างๆบนพื้นที่ ฉะนั้นคำถามเกี่ยวกับปัญหาทางภูมิศาสตร์จึงเน้นคำว่า “ ทำไม ” หรือ “ เพราะเหตุใด ” หรือ “ อย่างไร ”
วิชาภูมิศาสตร์จะได้รับการพัฒนามากยิ่งขึ้น โดยยึดถือ Spatial tradition เป็นแกนนำ ส่วนแนวความคิดทางด้านอื่นอีกสามด้านก็จะได้รับการประยุกต์วิธีการทางด้านปริมาณวิเคราะห์ สถิติ โมเดล สมการ ดังนั้น วิชาภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน จึงมีลักษณะที่แตกต่างจากภูมิศาสตร์ในอดีต ในสาระที่สำคัญสองประการ คือ ความแตกต่างกันด้านแนวความคิดทางภูมิศาสตร์และความแตกต่างกันทางด้านวิธีการศึกษา ตัวแปรทั้งสองดังกล่าวจะเป็นตัวกำหนดทิศทางภูมิศาสตร์ในปัจจุบันและอนาคตว่าจะมีลักษณะเนื้อหาวิชาและวิธีการศึกษาเน้นหนักไปในทางใด
( วิชัย ศรีคำ)

การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล

การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล
สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง
เพื่อศึกษาวิจัยและการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลและสิ่งแวดล้อม



พงษ์สันติ์ สีจันทร์ ชวลิต ฮงประยูร กุมุท สังขศิลา เกวลิน ศรีจันทร์
อัญธิชา พรมเมืองคุก จีรวัฒน์ พุ่มเพชร วัลยา แซ่เตียว สุมาลี พบบ่อเงิน
ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม



ความสำคัญ ที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย
ตามที่มีภัยธรรมชาติเกิดคลื่นสึนามิในบริเวณชายฝั่งด้านทะเลอันดามัน เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เป็นเหตุให้พื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกิดการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชายฝั่ง ซึ่งพบว่า ป่าชายเลน ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ สภาพแวดล้อม และพื้นที่ชายฝั่ง เกิดความเสียหายและเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เห็นว่า เพื่อวางรากฐานการศึกษาวิจัยทรัพยากรชายฝั่งทะเลอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการปรับปรุงแก้ไขความเสียหายทรัพยากรชายฝั่งทะเลและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง อันเป็นผลเนื่องมาจากคลื่นสึนามิ ควรที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ของทรัพยากรชายฝั่งทะเลให้เป็นโครงสร้างหลักที่จะบรรจุข้อมูลต่างๆ ทั้งด้านทรัพยากรดิน เช่น แผนที่ดิน ลักษณะของดิน สภาพภูมิประเทศ แผนที่สภาพความเค็มของดิน เนื่องจากการสะสมของเกลือและน้ำทะเลซึ่งคลื่นสึนามิพัดพามา ลักษณะภูมิอากาศ เช่น ปริมาณน้ำฝน การกระจายของฝน อุณหภูมิ ข้อมูลทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรป่าชายเลน ทรัพยากรชายฝั่งทะเล สภาพการใช้ที่ดิน สภาวะเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน ฯลฯ เพื่อการประมวล วิเคราะห์ เชื่อมโยงข้อมูล ในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และวางแผนพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน รวมทั้งรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อม และเชื่อมโยงการพัฒนาการด้านเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตอย่างเป็นระบบ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรชายฝั่งทะเลและสภาพแวดล้อมของพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง ได้แก่ ขอบเขตพื้นที่ ตำแหน่งสถานที่ การใช้ที่ดิน สภาพภูมิประเทศ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ป่าชายเลน สภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน การกระจายของฝนในรอบปี
2. เพื่อจัดทำแผนที่แสดงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง
3. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพทรัพยากรดินและลักษณะภูมิประเทศภายหลังการเกิดภัยธรรมชาติคลื่นสึนามิ
4. เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และฐานข้อมูลทรัพยากรชายฝั่งทะเลและสภาพแวดล้อมของพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง

ระเบียบวิธีการวิจัย
1. รวบรวมเอกสาร แผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียมรายละเอียดสูง และข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ การใช้ที่ดิน สภาพภูมิประเทศ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ป่าชายเลน สภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน ในบริเวณพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนองและบริเวณใกล้เคียง
2. สำรวจและจัดทำข้อมูลทรัพยากรดิน ทรัพยากรป่าชายเลน ทรัพยากรน้ำ
3. วิเคราะห์สมบัติทางฟิสิกส์และทางเคมีของทรัพยากรดินและแหล่งน้ำ ในห้องปฏิบัติการ
4. วิเคราะห์ข้อมูลสภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน การกระจายของฝนในรอบปี
5. ศึกษาและวิเคราะห์สภาพทรัพยากรดินและลักษณะภูมิประเทศ ภายหลังการเกิดภัยธรรมชาติคลื่น สึนามิ
6. จัดทำแผนที่แสดงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง
7. จัดทำฐานข้อมูลของทรัพยากรชายฝั่งทะเลและสภาพแวดล้อมในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำหรับสถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง

ผลผลิตทางวิชาการและการใช้ประโยชน์
1. ข้อมูลเชิงพื้นที่ของทรัพยากรดิน ทรัพยากรป่าไม้ และการใช้ที่ดิน ในเขตพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง เพื่อช่วยสนับสนุนการดำเนินงานจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืนในอนาคต
2. ฐานข้อมูลของทรัพยากรชายฝั่งทะเลและสภาพแวดล้อมในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ของพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนองและบริเวณใกล้เคียง
3. แผนที่แสดงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง

รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของโครงการวิจัย
1. คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของบริเวณสถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง เช่น ภาพถ่ายทางอากาศก่อนการเกิดและหลังการเกิดคลื่นสึนามิของกรมแผนที่ทหาร ข้อมูลทรัพยากรดินและแผนที่ดินของกรมพัฒนาที่ดิน ข้อมูลสภาพภูมิอากาศ (ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์)
2. ออกทำการสำรวจพื้นที่บริเวณสถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง เมื่อวันที่ 20-27 กันยายน 2548 เพื่อเก็บข้อมูลภาคสนามเกี่ยวทรัพยากรดิน สภาพภูมิประเทศ ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินและพืชพรรณ โดยดำเนินการสำรวจดินและทำแผนที่ดินแบบละเอียดมาก (very detailed soil maps) ซึ่งมีระยะหลุมเจาะตรวจสอบดินทุกๆ 50 เมตร พร้อมกับเก็บตัวอย่างดินของแต่ละชั้นดินในแต่ละหน่วยแผนที่ดิน (ชุดดินและประเภทของชุดดิน) โดยเก็บตัวอย่างดินทั่วทั้งบริเวณสถานีวิจัยฯ และในบริเวณแปลงปลูก จำนวน 56 ตัวอย่าง เพื่อการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินและธาตุอาหารพืช สมบัติทางฟิสิกส์ของดิน
3. จากการสำรวจและขุดเจาะดิน พบว่า น้ำทะเลจากคลื่นสึนามิซึ่งไหลท่วมแผ่กระจายทั่วทั้งพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง ได้นำตะกอนทรายจากบริเวณชายหาดประพาสริมฝั่งทะเลอันดามันและตะกอนทรายจากบริเวณปากคลองกำพวน (ปลายแหลมหาดประพาส) มาตกทับถมแพร่กระจายทั่วทั้งพื้นที่ มีความหนาของตะกอนทรายอยู่ในช่วง 1- 14 เซนติเมตร (โดยเฉลี่ยมีความหนา 4-10 เซนติเมตร) โดยบริเวณพื้นที่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของสถานีวิจัยฯ จะมีตะกอนทรายตกทับถมมีความหนาเฉลี่ยประมาณ 8-10 เซนติเมตร ส่วนบริเวณที่มีตะกอนทรายทับถมมากที่สุด (มีความหนา 10-14 เซนติเมตร) คือ พื้นที่เนินทรายริมคลองกำพวนบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงที่มีคลื่นสึนามิ พัดพาน้ำทะเลไหลท่วม (spread flooding) ทั่วทั้งพื้นที่สถานีวิจัยฯนั้น ด้านหนึ่งน้ำทะเลได้ไหลท่วมจากบริเวณหาดทรายริมฝั่งทะเลอันดามัน (ด้านทิศตะวันตก)ไปสู่ด้านคลองกำพวน(ด้านทิศตะวันออก) และอีกด้านหนึ่งจากบริเวณปากคลองกำพวน (ตอนเหนือของปลายแหลมประพาส)ไปสู่ทางด้านท้ายคลองและหมู่บ้านทรายขาว (ด้านทิศใต้) จึงทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวข้างต้นมีตะกอนทรายและเศษวัสดุทับถมกันมากที่สุด (ดังภาพที่ 1 และภาพที่ 2) นอกจากนั้นยังพบว่า พื้นที่บางบริเวณของสถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนองยังถูกน้ำทะเลจากคลื่นสึนามิ กัดเซาะพังทลายแบบกษัยการร่องลึก (gully erosion) หลายบริเวณทั่วทั้งพื้นที่ (ดังภาพที่ 3 และภาพที่ 4)


4. โดยทั่วไปทรัพยากรดินในพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง เกิดจากตะกอนสันทราย (sand dune deposits) ที่ทับถมอยู่ในพื้นที่สันทรายเก่า (old sand dunes) และสันทรายปัจจุบัน (recent sand dunes) ได้แก่ ชุดดินบาเจาะ (Bacho series, Bc; Typic Quarzipsamments) ชุดดินหัวหิน (Hau Hin series, Hh; coated, Typic Quarzipsamments) และชุดดินบ้านทอน (Ban Thon series, Bh; sandy, siliceous, Typic Haplorthods) ซึ่งเป็นดินที่มีเนื้อดินทรายจัด (เม็ดทรายขนาดปานกลางถึงทรายหยาบ) การระบายดี ดินมีการพัฒนาน้อย ความสามารถในการดูดซับประจุบวกต่ำ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ พืชที่ปลูกหรือพืชพรรณธรรมชาติ มักแสดงอาการขาดธาตุอาหารอยู่เสมอ เช่น ธาตุเหล็ก (Fe) และสังกะสี (Zn) ดังภาพที่ 5


ภาพที่ 1 แผนที่แสดงความหนาของชั้นตะกอนทรายที่ทับถมโดยคลื่นสึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวามคม พ.ศ. 2547
ในบริเวณพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง ตำบลบ้านกำพวน กิ่งอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง


ภาพที่ 2 แผนที่แสดงเส้นชั้นความหนาของตะกอนทรายที่ทับถมโดยคลื่นสึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวามคม พ.ศ. 2547
ในบริเวณพื้นที่สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง ตำบลบ้านกำพวน กิ่งอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง



เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญ

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ใช้ประกอบการเก็บข้อมูล เพื่อการบรรยายเชิงปริมาณและคุณภาพ เช่น จีพีเอสหรือระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก เข้มทิศ เครื่องมือบางชนิดใช้ประกอบการเรียนและการสอนในห้องเรียนหรือในห้องปฏิบัติการ และเครื่องมือบางชนิดใช้ประกอบการศึกษาและเก็บข้อมูลเฉพาะในสนามเท่านั้น บางครั้งการใช้เครื่องมือต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย เช่น เครื่องมือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า GIS(Geographic Information System) ข้อมูลดาวเทียมหรือ SRS (Satellite Remote Sensing) ระบบกำหนดตำแหน่งพื้นผิวโลกหรือ GPS (Global Positioning System) ซึ่งนักภูมิศาสตร์ยุคใหม่จำเป็นต้องรู้

1.1 ลูกโลก
1.) องค์ประกอบของลูกโลก องค์ประกอบหลักของลูกโลกจะประกอบไปด้วย
1.1) เส้นเมริเดียนหรือเส้นแวง เป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปจดขั้วโลกใต้ ซึ่งกำหนดค่าเป็น 0 องศา ที่เมืองกรีนิช
1.2) เส้นขนาน หรือเส้นรุ้ง เป็นเส้นสมมติที่ลากจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ทุกเส้นจะขนานกับเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีค่ามุมเท่ากับ 0 องศา
2.) การใช้ลูกโลก ลูกโลกใช้ประกอบการอธิบายตำแหน่งหรืสถานที่ของจุหรือพื้นที่ของส่วนต่างๆของโลก โดยประมาณ


1.2 เข็มทิศ เข็มทิศเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการหาทิศของจุดหรือวัตถุ โดยมีหน่วยวัดเป็นองศา เปรียบเทียบกับจุดเริ่มต้น เข็มทิศใช้ในการหาทิศโดยอาศัยแรงดึงดูดระหว่างสนามแม่เหล็กขั้วโลก (Magnetic Pole) กับเข็มแม่เหล็ก ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของเครื่องมือนี้ เข็มแม่เหล็กจะแกว่งไกวได้โยอิสระในแนวนอน เพื่อให้แนวเข็มชี้อยู่ในแนวเหนือใต้ ไปยังขั้วแม่เหล็กโลกตลอดเวลา หน้าปัดเข็มทิศซึ่งคล้ายกับหน้าปัดนาฬิกาจะมีการแบ่งโดยรอบเป็น 360 องศา

1) ประโยชน์ของเข็มทิศ เข็มทิศใช้ประโยชน์ในการเดินทาง ได้แก่ การเดินเรือทะเล เครื่องบิน การใช้เข็มทิศจะต้องมีแผนที่ประกอบ และต้องหาทิศเหนือก่อน เพื่อจะได้รู้ทิศอื่น 2) การใช้เข็มทิศ เนื่องจากการหาทิศจริงในแผนที่ต้องใช้เข็มทิศ เพื่อหาทิศเหนือก่อน จึงต้องวางแผนที่ให้ตรงทิศตามเข็มทิศ จากนั้นจึงใช้แผนที่ได้ตามวัตถุประสงค์

1.3 รูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม รูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียมเป็นรูปหรือข้อมูลตัวเลขที่ได้จากการเก็บข้อมูลภาคพื้นดินจากกล้องที่ติดอยู่กับพาหนะ เช่น เครื่องบิน หรือดาวเทียม โดยมีการบันทึกข้อมูลอย่างละเอียดหรือหยาบในเวลาแตกต่างกัน จึงทำให้เห็นภาพรวมของการใช้พื้นที่และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตามที่ปรากฏบนพื้นผิวโลก เช่น การเกิดอุทกภัย ไฟป่า การเปลี่ยนแปลง การใช้ที่ดิน การก่อสร้างสถานที่ เป็นต้น

1) ประโยชน์ของรูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม ที่นิยมใช้กันมากจะเป็นรูปหรือภาพถ่ายที่ได้จากการสะท้อนคลื่นแสงของดวงอาทิตย์ขึ้นไปสู่เครื่องบันทึกที่ติดอยู่บนเครื่องบินหรือดาวเทียม การบันทึกข้อมูลอาจจะทำโดยใช้ฟิลม์ เช่น รูปถ่ายทางอากาศสีขาว-ดำ หรือรูปถ่ายทางอากาศสีธรรมชาติ การบันทึกข้อมูลจากดาวเที่ยมจะใช้สัญญาณเป็นตัวเลขแล้วจึงแปลงค่าตัวเลขเป็นภาพจากดาวเทียมภายหลัง


2) การใช้รูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม ผู้ใช้จะต้องได้รับการฝึกหัดเพือแปลความหมายของข้อมูล การแปลความหมายอาจจะใช้การแปลด้วยสายตาตามความสามารถของแต่ละบุคคล หรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมเข้ามาช่วย


1.4 เครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาภูมิศาสตร์
ในโลกยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร และข้อมูลที่เป็นตัวเลขจำนวนมาก เทคโนโลยีจึงเข้ามามีความสำคัญ และจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต เทคโนโลยีที่สำคัญด้านภูมิศาสตร์ คือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์หรือ GIS (Geographic Information System) และระบบกำหนดตำแหน่งพื้นผิวโลกหรือGPS (Global PositioningSystem) เครื่องมือทั้งสองจะประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ หรือฮาร์ดแวร์ (Hard ware) ซึ่งมีขนาดต่างๆและโปรแกรมหรือซอฟแวร์ (Software)1) ประโยชน์ของเครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาภูมิศาสตร์ จะคล้ายกับการใช้ประโยชน์จากแผนที่สภาพภุมิประเทศและแผนที่เฉพาะเรื่อง เช่น จะให้ตำตอบว่า ถ้าจะต้องเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในแผนที่จะมีระยะทางเท่าใด และถ้าทราบความเร็วของรถจะทราบได้ว่าจะใช้เวลานานเท่าใด หลักการทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ คือ การจัดหมวดหมู่ของข้อมูลตามความต้องการที่จะนำไปวิคราะห์การคัดเลือกตัวแปร หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การจัดลำดับความสำคัญของปัจจัย และการซ้อนทับข้อมูล ตัวอย่างเช่น ต้องการหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือเหมาะสมดี เหมาะสมปานกลาง และไม่เหมาะสม โดยคัดเลือกข้อมูล 2 ประเภท คือ ดินและสภาพภูมิประเทศ 2) การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาภูมิศาสตร์ การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีจำเป็นต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรม ผู้ใช้จะต้องได้รับการฝึกฝนก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ

2. แหล่งข้อมูลสารสนเทศของไทย

ปัจจุบันได้มีการคิดค้นและพัฒนาการข้อมูลสารสนเทศอย่างรวดเร็ว และได้เผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณชนมาก โดยเฉพาะการนำข้อมูลเข้าเว็บไซต์ให้ประชาชนและผู้สนใจทั่วไปเข้าไปดูข้อมูลได้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล แต่ข้อมูลบางชนิดอาจต้องติดต่อจากหน่วยงานนั้นๆโดยตรง ทั้งจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน เว็บไซต์ที่น่าสนใจ เช่นข้อมูลด้านสถิติ(http://www.nso.go.th/) ข้อมูลประชากร(http://www.dola.go.th/) ข้อมูลดาวเทียม(http://www.gistda.go.th/) ข้อมูลดินและการใช้ที่ดิน (http://www.dld.go.th/) เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ใช้ประกอบการศึกษาและการเก็บข้อมูล เครื่องมือบางชนิดเหมาะสำหรับใช้ในห้องเรียน หรือห้องปฏิบัติการ เครื่องมือบางชนิดใช้ได้สำหรับในห้องเรียนและในสนาม ผู้ใช้จะได้รู้ว่าเมื่อใด ควรใช้เครื่องมือภูมิศาสตร์ในห้องเรียน และเมื่อใดควรใช้ในภาคสนาม เครื่องมือบางชนิดจะมีความซับซ้อนมาก หรือต้องใช่ร่วมกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรม เครื่องมือทางภูมิสาสตร์ที่มีความสำคัญมากในปัจจุบันคือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ซึ่งแปลงสารสนเทศที่เกี่ยวกับพื้นที่ และข้อมูลตารางหรือคำอธิบายที่ให้เป็นข้อมูลเชิงตัวเลขทำให้การจัดเก็บเรียกดูข้อมูล การปรับปรุงแก้ไขและการวิเคราะห์เป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้องและแสดงผลในรูปแบบแผนที่ กราฟ หรือตารางได้อย่างถูกต้องอีกด้วย ส่วนระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก(GIS) ใช้กำหนดจุดพิกัดตำแหน่งของวัตถุต่างๆ บนผิวโลก โดยอาศัยสัญญาณ จากดาวเทียมหลายดวงที่โคจรอยู่รอบโลก

เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต

1. คอมพิวเตอร์ (Computer) ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (Very Large Scale Integrated Circuit, VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) ทำให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีราคาถูกลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะนี้มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง (Reduced Instruction Set Computer) หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลตามหลักเหตุผลของมนุษย์หรือระบบปัญญาประดิษฐ์
2. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence ; AI) เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถที่จะคิดแก้ปัญหา และให้เหตุผลได้เหมือนอย่างการใช้ภูมิปัญญาของมนุษย์จริง ปัจจุบันที่นักวิทยาศาสตร์ในหลายสาขาวิชาได้ศึกษา และทดลองที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานที่มีเหตุผล โดยการเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ซึ่งความรู้ทางด้านนี้ถ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ อย่างมากมาย เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างผู้เชี่ยวชาญ และหุ่นยนต์ (Robotics) เป็นการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ให้สามารถปฏิบัติงาน และใช้ทักษะการเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับการทำงานของมนุษย์ เป็นต้น
3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information System ; EIS) เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนในงานระดับวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การ โดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำผู้บริหารในการตัดสินใจ เมื่อประสบปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง โดย EIS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ เช่น สถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ รวมทั้งสถานะของคู่แข่งขันด้วย โดยที่ระบบจะต้องมีความละเอียดอ่อนตลอดจนง่ายต่อการใช้งาน เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากไม่เคยชินกับการติดต่อและสั่งงานโดยตรงกับระบบคอมพิวเตอร์
4. การจดจำเสียง (Voice Recognition) เป็นความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์จดจำเสียงของผู้ใช้ ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสาขานี้ยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการ ถ้าในอนาคตนักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการนำความรู้ต่าง ๆ มาใช้สร้างระบบการจดจำเสียงก็จะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาลแก่การใช้งานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยที่ผู้ใช้จะสามารถออกคำสั่งและตอบโต้กับคอมพิวเตอร์แทนการกดแป้นพิมพ์ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ไม่เคยชินกับการใช้คอมพิวเตอร์ให้สามารถปรับตัวเข้ากับระบบได้ง่าย เช่น ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง การสั่งงานระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ และระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และขยายคุณค่าเพิ่มของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจ
5. การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Data Interchange ; EDI) เป็นการส่งข้อมูลหรือข่าวสารจากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่น โดยผ่านทางระบบสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การส่งคำสั่งซื้อไปยังผู้ขายโดยตรง ปัจจุบันระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะช่วยลดระยะเวลาในการทำงานของแต่ละองค์การลง โดยองค์การจะสามารถส่งและรับสารสนเทศในการดำเนินธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อและใบตอบรับผ่านระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่ ทำให้ทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูลไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง
6. เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optics) เป็นตัวกลางที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยการส่งสัญญาณแสงผ่านเส้นใยแก้วนำแสงที่มัดรวมกัน การนำเส้นใยแก้วนำแสงมาใช้ในการสื่อสารก่อให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับ "ทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway)" นี้จะเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยีเส้นใยแก้วนำแสงได้ส่งผลกระทบต่อวงการสื่อสารมวลชน และการค้าขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
7. อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงไปทั่วโลก มีผู้ใช้งานหลายล้านคน และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่สมาชิกสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนค้นหาข้อมูลจากห้องสมุดต่าง ๆ ได้ ในปัจจุบันได้มีหลายสถาบันให้ประเทศไทยที่เชื่อมระบบคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายนี้ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectec) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เป็นต้น
8. ระบบเครือข่าย (Networking System) โดยเฉพาะระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (Local Area Network, LAN) เป็นระบบสื่อสารเครือข่ายที่ใช้ในการระยะทางที่กำหนด ส่วนใหญ่จะภายในอาคารหรือในหน่วยงาน LAN จะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้สูงขึ้น รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ข้อมูลร่วมกัน และการเพิ่มความเร็วในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยังผลักดันให้เกิดการกระจายความรับผิดชอบในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศไปยังผู้ใช้มากกว่าในอดีต
9. การประชุมทางไกล (Teleconference) เป็นการนำเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายโทรทัศน์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เพื่อใช้สนับสนุนในการประชุมมีประสิทธิภาพ โดยผู้เข้าร่วมประชุมไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในห้องประชุมและพื้นที่เดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลาในการเดินทาง โดยเฉพาะในสภาวะการจราจรที่ติดขัด ตลอดจนผู้เข้าประชุมอยู่ในเขตที่ห่างไกลกันมาก
10. โทรทัศน์ตามสายและผ่านดาวเทียม (Cable and Sattlelite TV) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสื่อต่าง ๆ ไปยังผู้ชม จะมีผลทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่ไปได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้น โดยที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ได้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ชมรายการมีทางเลือกมากขึ้นและสามารถตัดสินใจในทางเลือกต่าง ๆ ได้เหมาะสมขึ้น
11. เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาจัดเก็บข้อมูล หรือข่าวสารในลักษณะที่แตกต่างกันทั้งรูปภาพ ข้อความ เสียง โดยสามารถเรียกกลับมาใช้เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ และยังสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ด้วยการประยุกต์เข้ากับความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์
12. การใช้คอมพิวเตอร์ในการฝึกอบรม (Computer Based Training) เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ หรือการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในด้านการเรียนการสอนที่เรียกว่า "คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน (Computer Assisted Instruction) หรือ CAI" การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสอนเปิดช่องทางใหม่ในการเรียนรู้ โดยส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนปรัชญาการเรียนรู้ด้วยตนเอง
13. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (Computer Aided Design ; CAD) เป็นการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลเข้ามาช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งรูปแบบหีบห่อของผลิตภัณฑ์หรือการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยทางด้านการออกแบบวิศวกรรม และสถาปัตยกรรมให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความเป็นจริง ตลอดจนช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในการออกแบบ โดยเฉพาะในเรื่องของเวลา การแก้ไข และการจัดเก็บแบบ
14. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต(Computer Aided Manufacturing ; CAM) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตสินค้าในโรงานอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์จะมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ในการทำงานที่ซ้ำกัน ตลอดจนสามารถตรวจสอบรายละเอียดและข้อผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ ซึ่งจะช่วยประหยัดระยะเวลาและแรงงาน ประการสำคัญช่วยให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอตามที่กำหนด
15. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์(Geographic Information System ; GIS) เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ทางด้านรูปภาพ (Graphics) และข้อมูลทางภูมิศาสตร์มาจัดทำแผนที่ในบริเวณที่สนใจ GIS สามารถนำมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ เช่น การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) การกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศและท้องถิ่น การวางแผนทางการตลาด การบริหารการขนส่ง การสำรวจและวางแผนป้องกันธรรมชาติ การช่วยเหลือและกู้ภัย เป็นต้น

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/102/noname7.htm

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) สำหรับโรคไข้หวัดนก ในพื้นที่เฉพาะ



โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมบัติ อยู่เมือง

ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ GISTHAI ]
e - mail :
sombat@gisthai.org


บทนำ

จากกระแสของโลกาภิวัฒน์ (Globalization) และการปฏิวัติของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Revolution) ทำให้สังคมหมู่บ้านโลก (Global Village) เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกๆ มิติ การไปมาหาสู่ การท่องเที่ยว รวมถึงการค้าขาย - แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ รวมถึงการเดินทางระหว่างประเทศและระหว่างทวีปของประชาชน เกิดขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตและการทำธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงกิจกรรมทางด้านการผลิตอาหารและทางด้านการปศุสัตว์ที่มีการเปลี่ยนแปลง เกิดการเคลื่อนย้าย ขนส่งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ซึ่งเป็นแหล่งพาหะสำคัญของโรคระบาดหลายประเภทที่สามารถติดต่อกับมนุษย์ได้ เช่น โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย โรคแอนเทรกซ์ โรควัวบ้า รวมถึงโรคไข้หวัดนกที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยในปัจจุบัน ผลกระทบจากโรคระบาดดังกล่าว ไม่เพียงส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ความเชื่อมั่น ซึ่งยังความหวาดระแวงให้เกิดกับประชาชนจำนวนมากที่ไม่กล้าบริโภคสัตว์ปีก ทั้งๆ ที่เป็นอาหารหลักของคนส่วนใหญ่
โรคอุบัติใหม่ (Emerging disease) หรือ โรคอุบัติซ้ำ (Re-emerging disease) ที่สำคัญ คือ โรคติดต่อที่แพร่กระจายได้ มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นมากขึ้นในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งเกิดได้ในทุกภูมิภาคของโลก ซึ่งหากสามารถตรวจพบแหล่งแพร่เชื้อ หรือจุดกำเนิดของโรคและสามารถควบคุม จำกัดวงและขอบเขตความเสียหายของพื้นที่ได้รวดเร็วมากเท่าใด ก็ยิ่งสามารถยับยั้งหรือควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที ซึ่งการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ดังกล่าว ย่อมต้องการข้อมูลเชิงพื้นที่ของข้อมูลในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ หรือโรคอุบัติซ้ำที่ครอบคลุม ครบถ้วน และได้มาในเวลาที่รวดเร็วทันเวลา เพื่อนำมาวิเคราะห์และประเมินผลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ที่ทันสมัย ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถวางแผนการดำเนินงานและการตัดสินใจในการควบคุมโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในเบื้องต้นสำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ ได้พบว่าในพื้นที่ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง 10 จังหวัด ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อ่างทอง ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และจังหวัดนครปฐม มีปัญหาและการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก (Avian flu) มากในช่วงปีที่ผ่านมา จึงกำหนดให้เป็นพื้นที่ศึกษาสำหรับการพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการบริหารจัดการและการตัดสินใจ ในการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังการเกิดโรคดังกล่าวต่อไป
การนำรูปแบบของการจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลเชิงพื้นที่ เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อการสนับสนุนการควบคุมและเฝ้าระวังการเกิดโรคอุบิติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ จึงเป็นการรวบรวมข้อมูลในด้านต่างๆ เช่น ตำแหน่งการเกิดโรคระบาด ความแตกต่างทางสายพันธุ์ของเชื้อโรคในแต่ละพื้นที่ พื้นที่ที่จะต้องทำลายแหล่งเกิดโรคและพื้นที่เฝ้าระวัง เป็นต้น ให้เข้ามาอยู่ในรูปแบบของข้อมูลเชิงพื้นที่ รวมถึงการนำข้อมูลทางด้านกายภาพพื้นฐานในแต่ละพื้นที่ มาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจ รวมถึงการกำหนดมาตรการและนโยบายของผู้บริหารเพื่อการป้องกัน แก้ไข และบรรเทาสถานการณ์การเกิดโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำขึ้นอย่างเป็นพลวัต และยั่งยืน

วัตถุประสงค์โครงการ

1. เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจเชิงพื้นที่ในการบริหารจัดการการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ หรือ โรคอุบัติซ้ำ
2. เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้แบบจำลอง (Model) ในการคาดการณ์แนวโน้มการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ จาก FAO มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ร่วมกับข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจเชิงพื้นที่ในการควบคุมและเฝ้าระวังการเกิดโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ
3. เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ของการแพร่ระบาดของโรคในช่วงปี พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน
4. เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการนำเสนอข้อมูลผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ของการแพร่ระบาดของโรค แนวโน้ม ความรุนแรง รวมถึงผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ
5. เพื่อวิเคราะห์และจัดทำแนวทางในการกำหนดแผนกลยุทธ์ โดยระบบสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจในการควบคุมและเฝ้าระวังการเกิดโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำเพื่อใช้ในการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังการเกิดโรคในพื้นที่ศึกษา
6. เพื่อฝึกอบรมบุคลกร ให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจเชิงพื้นที่ในการควบคุม ป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ

ขอบเขตการดำเนินงาน

1. ทำการออกแบบและพัฒนารูปแบบในการสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจในการควบคุม ป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ โดยมีขอบเขตการดำเนินงาน รวมถึงการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลเชิงพื้นที่ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ศึกษา รวม 10 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อ่างทอง ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และจังหวัดนครปฐม
2. ทำการวิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลเชิงพื้นที่ของข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของโรค (ในช่วงเวลา ปี พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน) เพื่อสนับสนุนการวางแผนและการตัดสินใจในการควบคุม การป้องกัน และการเฝ้าระวังการเกิดโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ
3. ทำการฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้และความสามารถในการทำงานเพื่อสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจในการควบคุมและเฝ้าระวังการเกิดโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยฝึกอบรมบุคลากร จากจังหวัดในพื้นที่ จำนวนทั้งสิ้น 20 คน เป็นระยะเวลา 4 วัน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. การรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ของข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์รูปแบบ แนวโน้ม และผลกระทบจากโรคอุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ เพื่อการสนับสนุนการวิเคราะห์และประเมินผลการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่ รวมถึงข้อมูลพื้นฐานทางด้านกายภาพ ประชากร เศรษฐกิจ และสังคมของพื้นที่
2. รูปแบบการวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลเพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์และประเมินผลการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ
3. การเชื่อมโยงและประยุกต์ใช้แบบจำลองในการคาดการณ์แนวโน้มการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่หรือโรคอุบัติซ้ำ จากผลการศึกษาของ FAO ร่วมกับข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในเชิงพื้นที่
4. การพัฒนารูปแบบในการสนับสนุนการวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลเพื่อใช้สำหรับบริหารงานและการตัดสินใจของผู้บริหารของหน่วยงาน ในการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่
5. การประเมินผลและเปรียบเทียบข้อมูล (ในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน) ของการแพร่ระบาดของโรครวมทั้งระดับความรุนแรง คาบความซ้ำ เพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคและพื้นที่ปลอดภัย แนวโน้มการกระจายตัวและลำดับความสำคัญเร่งด่วนในการเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาด ฯลฯ
6. แนวทางในการกำหนดมาตรการและนโยบาย รวมถึงแผนกลยุทธ์เพื่อใช้ในการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาด และโรคติดต่ออุบัติใหม่

ข้อมูลเพิ่มเติม
• ความรู้ คำแนะนำ มาตรการเกี่ยวกับ สถานการณ์ไข้หวัดนก ของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.gisthai.org/research/bird_flu.html

การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการวางแผนระบบบริการ

ผศ. ดร.นพดล สหชัยเสรี
ผศ. ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร

การวิจัยนี้จึงวัตถุประสงค์แบ่งเป็นสองระยะคือ ระยะที่หนึ่งทำการ ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการของผู้ป่วยในกรุงเทพมหานคร เพื่อหาขอบเขตของพื้นที่การให้บริการ (catchment area) ของการบริการสาธารณสุขด่านแรกของสถานพยาบาลและสร้างแบบจะลองจากฐานข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อค้นหาพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับบริการสาธารณสุขด่านแรก ส่วนเป้าหมายของการวิจัยในระยะที่สองได้แก่การทดลองสร้างแบบจำลอง โครงข่ายการให้บริการสาธารณสุขขั้นมูลฐานแก่ประชาชนตามโครงการสาธารณสุขถ้วนหน้าของรัฐบาลในปีพ.ศ. 2544 โดยใช้ฐานข้อมูลจาก GIS ที่ได้ทำไว้ในระยะที่หนึ่ง เพื่อทดสอบการวางแผนการ assign ประชากรไปยังสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้านที่สุด และโครงข่ายการส่งต่อคนไข้ (referral)ของสถานพยาบาลในระดับต่างๆ

พื้นฐานทฤษฎีการวิจัยนี้ได้มาจากแนวคิดของทฤษฎีแหล่งกลางของ Christaller ที่มุ่งอธิบายพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคต่อการกระจายตัวของแหล่งจำหน่ายสินค้า โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานปัจจัยของระยะการเดินทาง ประเภทของสินค้าที่จำหน่าย และที่ตั้งของแหล่งสินค้า เมื่อนำทฤษฏีดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมการเดินทางไปพบแพทย์สามารถอุปนัยได้ว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการมีดังนี้ ก.) ลำดับศักดิ์ของโรงพยาบาลได้แก่ ขนาดโรงพยาบาล โรงพยาบาลของรัฐ / เอกชน ความเชี่ยวชาญเฉพาะโรค ข.) คุณลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยอันได้แก่ เพศ รายได้ อาชีพ สถานภาพการเบิกค่ารักษา การประกันสุขภาพ และความคุ้นเคยกับแพทย์ ค.) ลักษณะการป่วยได้แก่ การป่วยฉับพลัน การป่วยเรื้อรัง อุบัติเหตุ

การศึกษานี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากสองแหล่งคือการสุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วยที่เดินทางไปพบแพทย์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการเลือกสถานพยาบาล และข้อมูลทุติยภูมิเพื่อหาที่ตั้งของสถานพยาบาลและความหนาแน่นของประชากรเชิงพื้นที่ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 4464 รายใน 13 เขตการปกครองทั้งโรงพยาบาลของรัฐ เอกชน ศูนย์บริการทางสาธารณสุข และคลินิคเอกชนสามารถสรุปอนุมานถึงเป็นตัวแทนของคนไข้ในด้านพฤติกรรมการตัดสินใจในการเลือกสถานพยาบาลภายใต้ข้อจำกัดของการเก็บข้อมูลบางประการดังนี้ ด้านลำดับศักดิ์ของโรงพยาบาล คุณลักษณะเฉพาะของผู้ป่วย ลักษณะการป่วย มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเดินทางไปยังสถานพยาบาลในที่สุด กล่าวคือ ผู้ป่วยที่มีรายได้ต่ำและข้าราชการที่มีสิทธิในการเบิกค่ารักษาพยาบาลมักไม่มีทางเลือกและจำเป็นต้องเดินทางไกลกว่าเพื่อไปทำการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ ส่วนผู้มีรายได้สูงมักเลือกความสะดวกและเดินทางสั้นกว่าเพื่อรักษาในสถานพยาบาลเอกชนในท้องถิ่น กลุ่มอายุซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดความพึ่งพาก็มีส่วนกำหนดระยะการเดินทางเพื่อพบแพทย์ กลุ่มผู้มีอายุน้อย (0-19ปี) มักเดินทางใกล้ กลุ่มผู้ไม่พึ่งพา (20-60ปี) เดินทางระยะปานกลาง และกลุ่มผู้สูงอายุมักเดินทางไกลที่สุดอาจด้วยสาเหตุจากโรคเรื้อรังและความคุ้นเคยต่อแพทย์ ด้านลักษณะการป่วย ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง มักเดินทางไกลกว่าเนื่องจากอาการเจ็บป่วยไม่เร่งด่วนและมักมีแพทย์ประจำตัว ส่วนผู้ที่เป็นโรคฉับพลันมักเลือกเดินทางไกล้ที่สุดเพื่อให้ถึงแพทย์ด้วยระยะเวลาที่สั้นที่สุด ผู้ที่ป่วยจากอุบัติเหตุมักถ่วงดุลระหว่างความเร่งด่วนและความเชี่ยวชาญจึงยอมเดินทางไกลกว่าผู้ป่วยฉับพลันเล็กน้อย

จากปัจจัยด้านพฤติกรรมการเดินทางของผู้ป่วยทำให้สามารถสร้างแบบจำลองการเดินทางของผู้ป่วยและ catchment area ของพื้นที่บริการของสถานพยาบาลแต่ละประเภท ได้แก่ โรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลเอกชน สถานบริการสาธารณสุข และคลินิกเอกชนด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ด้วยการสร้าง buffer ออกจากรัสมีการบริการของสถานพยาบาลแต่ละประเภทเพื่อทำนายพื้นที่ที่ขาดการให้บริการและพื้นที่ที่ให้บริการเกินความจำเป็นได้ นอกจากนี้ เรายังสามารถสร้างแบบจำลองสำหรับการให้บริการจำแนกเป็นอาการป่วยเช่น ฉับพลัน อุบัติเหตุ หรือ เรื้อรังที่พฤติกรรมการเดินทางต่างรูปแบบเพื่อหาพื้นที่ที่ขาดการบริการ และสามารถหาพื้นที่บริการของสถานพยาบาลโดยจำแนกตามรายได้ กลุ่มอายุ และสถานภาพการเบิกค่ารักษาพยาบาลได้อีกด้วย

การวิจัยในระยะที่สองได้ทดลองนำเข้าข้อมูลจากข้อมูลทุติยภูมิของกรุงเทพมหานครโดยใช้แผนที่ base map ของบางกอกไกด์ เพื่อดูการกระจายตัวและภาระของสถานพยาบาลเปรียบเทียบกับความระดับหนาแน่นของประชากรเพื่อเป็นต้นแบบของการวางแผนในโครงการสาธารณสุขถ้วนหน้าตามนโยบายของรัฐบาล และเพื่อเสริมพื้นที่ที่สถานพยาบาลในปัจจุบันยังขาดแคลนอยู่ และ assign ประชาชนจากชุมชนให้เดินทางสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นได้สู่สถานพยาบาลที่ตนสังกัด

และเนื่องจากการตัดสินใจในการเดินทางและการเลือกบริการได้รับการกำหนดล่วงหน้าโดยระบบการให้บริการ จึงขาดการพิจารณาความสอดคล้องระหว่างระดับของการรักษาและความเฉพาะโรค ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีระบบการส่งต่อคนไข้ (referral) เพื่อเอื้อให้คนไข้ที่พ้นขีดความสามารถของสถานพยาบาลท้องถิ่นสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเฉพาะโรคได้ การวิจัยนี้จึงได้ทดสอบการใช้ GIS และฐานข้อมูลที่ได้ดังกล่าวสร้าง แบบจำลอง โครงข่ายการส่งต่อคนไข้ ในกรณีต้องการรักษาดังกล่าว เพื่อเสนอแนะวิธีการวางแผนระบบ referral ที่ใช้ระยะการเดินทางที่สั้นที่สุดเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คนไข้

การวิจัยนี้เป็นการนำทฤษฏีของ Christaller มาประยุกต์ใช้กับระบบสาธารณสุขเพื่อการวางแผนและประสพการณ์การทดสอบการใช้ GIS ในการสร้างแบบจำลองดังกล่าวคาดว่าสามารถเป็นประโยชน์ต่อการคาดการณ์และการวางแผนเชิงพื้นที่ต่อไปในอนาคต

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://library.hsri.or.th/abs/res/hs0898t.doc

เรื่องจริงของพายุสุริยะ (ตอนที่ 4)

ตอนที่ 4

การพยากรณ์พายุสุริยะ
ดังจะเห็นได้ชัดแล้วว่า ลมสุริยะหรือพายุสุริยะมีฤทธิ์เดชและอิทธิพลต่อโลกมากพอสมควร และสามารถสร้างความเสียหายแก่โลกได้ระดับหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องมีการเฝ้าติดตามดวงอาทิตย์เพื่อพยากรณ์พายุที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้า เพื่อจะได้เตรียมการรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดจากลมสุริยะได้อย่างทันท่วงที

เราสามารถคาดการณ์สภาพลมฟ้าอากาศบนโลกและบรรยากาศชั้นล่างได้ จากการพยากรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ถึงแม้ว่าวิทยาการด้านอุตุนิยมวิทยามีการพัฒนามาเป็นเวลานานและมีความก้าวหน้าความแม่นยำสูงมาก แต่สำหรับการพยากรณ์ลมฟ้าอากาศในชั้นบรรยากาศเบื้องสูงหรือสภาพต่าง ๆ เหนือชั้นบรรยากาศของโลกไปนั้น ยังเป็นศาสตร์ที่เพิ่งเริ่มต้นตั้งไข่เท่านั้น ประสิทธิภาพในการพยากรณ์ขึ้นอยู่กับความเข้าใจกลไกทั้งหมดของระบบบรรยากาศเบื้องสูงและสภาพเหนือบรรยากาศโลกขึ้นไปรวมทั้งปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์ซึ่งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพยากรณ์บรรยากาศชั้นสูงในปัจจุบันนี้จึงเป็นการสังเกตการณ์จากการเกิดแฟลร์และโพรงคอโรนาเป็นสำคัญ

ตามที่เราได้ทราบแล้วว่า การประทุของลมสุริยะจะเกิดจากแฟลร์ขนาดใหญ่ที่มักเกิดบริเวณกระจุกของจุดดำหรืออาจเกิดจากคอโรนัลแมสอีเจกชัน ดังนั้นการจะรู้ว่าจะมีลมสุริยะรุนแรงพัดมาถึงโลกอาจพอคาดการณ์ได้จากแฟลร์ขนาดใหญ่หรือกระจุกจุดดำ หากกระจุกจุดดำมีตำแหน่งที่จะพาดผ่านหน้าดวงอาทิตย์ และหากมีการปะทุของแฟลร์ในช่วงที่หันมาทางโลกพอดี ก็มีโอกาสมากที่โลกจะถูกกระหน่ำโดยพายุสุริยะ

รูปร่างของแฟลร์บริเวณกระจุกจุดดำก็อาจถือเป็นสิ่งบอกเหตุได้ว่าจะทำให้เกิดการระเบิดใหญ่ นักดาราศาสตร์ได้สังเกตพบว่า เมื่อใดที่แฟลร์มีการบิดตัวอย่างรุนแรง อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการตัดขาดและลัดวงจรของสนามแม่เหล็ก ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของการระเบิดอย่างรุนแรงได้

ขณะนี้มีดาวเทียมหลายดวงที่มีหน้าที่คอยเฝ้าสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ตลอดเวลา ทำให้สามารถแจ้งเหตุการกระโชกของลมสุริยะที่เกิดจากคอโรนัลแมสอีเจกชันล่วงหน้าได้ประมาณ 1 หรือ 2 วันก่อนที่จะพัดมาถึงโลก ส่วนลมสุริยะที่แรงและเร็วที่สุดจะสามารถเตือนล่วงหน้าได้ประมาณครึ่งชั่วโมง เวลาเท่านี้ถือว่าเพียงพอสำหรับโรงไฟฟ้าที่จะเตรียมการระบบจ่ายไฟหรือระบบป้องกันฉุกเฉิน เพื่อรับมือกับความแปรปรวนที่จะเกิดขึ้นจากสนามแม่เหล็ก และยังนานพอที่จะเตือนนักดาราศาสตร์และประชาชนให้ตื่นขึ้นมาดูแสงเหนือ-แสงใต้ได้
ระยะเวลาล่วงหน้าของการพยากรณ์นี้ถูกจำกัดจากหลายปัจจัย เช่นโดยธรรมชาติที่มีอายุสั้นของแฟลร์ และโดยความที่ยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงกลไกการเกิดแฟลร์และคอโรนัลแมสอีเจกชัน ตำแหน่งการสังเกตการณ์ยังเป็นอุปสรรคสำคัญในการพยากรณ์อีกด้วย การสังเกตการณ์จากโลกและดาวเทียมบริเวณโลกจะมองเห็นผิวของดวงอาทิตย์ได้เฉพาะด้านที่หันเข้าสู่โลกเท่านั้น แต่ไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นบนผิวดวงอาทิตย์ด้านตรงข้ามได้เลย หากสามารถมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ฝั่งตรงข้ามได้แล้ว นักดาราศาสตร์คงจะสามารถพยากรณ์การเกิดพายุสุริยะล่วงหน้าได้นานขึ้น
ความหวังของนักดาราศาสตร์เริ่มสดใสขึ้นเมื่อดาวเทียมโซโฮ (SOHO) สามารถมองเห็นสภาพของดวงอาทิตย์ฝั่งตรงข้ามได้ ทั้ง ๆ ที่ตัวดาวเทียมเองอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับโลก
เคล็ดลับของโซโฮอาศัยหลักการว่า ลมสุริยะที่พัดออกจากดวงอาทิตย์จะพัดพาอะตอมไฮโดรเจนที่กระจัดกระจายอยู่บริเวณสุริยะชั้นในไปรวมตัวเป็นชั้นของไฮโดรเจนโดยรอบ จนดูเหมือนกับว่ามีฟองก๊าซไฮโดรเจนล้อมรอบระบบสุริยะชั้นใน ฟองไฮโดรเจนนี้มีความหนาแน่นประมาณ 100 อะตอมต่อลิตร ถึงแม้ว่าจะเบาบางมาก แต่ก็ยังหนาแน่นพอที่จะเรืองแสงอัลตราไวโอเลตได้ เมื่อรังสีที่ปล่อยจากบริเวณกลุ่มจุดดำหรือแฟลร์บนดวงอาทิตย์กระทบถูกผนังของฟองนี้ จะกระตุ้นให้มีการเรืองแสงอัลตราไวโอเลตบริเวณที่ตรงกับด้านที่เกิดแฟลร์บนดวงอาทิตย์ซึ่งตรวจจับได้โดยกล้องสวอน (SWAN-Solar Wind Anisotropies) ของโซโฮ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่เราสามารถรับรู้ถึงการปะทุของแฟลร์บนดวงอาทิตย์ที่อยู่ด้านตรงข้ามกับโลกได้ โดยการสังเกตการเรืองแสงของฟองไฮโดรเจนนี้ ภาพของจุดเรืองแสงที่ปรากฏบน "จอ" นี้จะเคลื่อนที่ไปตามการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์

คาดหมายความเสียหายที่จะเกิดในรอบนี้

ในขณะนี้ (ต้นปี 2543) จำนวนจุดดำบนดวงอาทิตย์กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นตามลำดับตามวัฎจักรของดวงอาทิตย์ ช่วงสูงสุดของวัฏจักรสุริยะจะกินระยะเวลายาวนานพอสมควร โดยอาจจะนานหลายเดือนหรืออาจเกิน 1 ปี สำหรับช่วงสูงสุดในครั้งนี้คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2543 จนถึงกลางปี 2544
คาดว่าการขึ้นถึงจุดสูงสุดของวัฎจักรรอบนี้น่าจะเป็นครั้งที่สร้างความเสียหายมากที่สุด แต่สาเหตุไม่ใช่เพราะว่าความปั่นป่วนของดวงอาทิตย์จะมีความรุนแรงมากกว่ารอบอื่น หากเป็นเพราะในปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากมายที่อ่อนไหวต่อลมสุริยะมากกว่าเมื่อ 11 ปีที่แล้วมาก อาทิเช่น โทรศัพท์มือถือ วิทยุติดตามตัว ระบบนำร่องด้วยจีพีเอส เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้ ล้วนต้องพึ่งพาระบบดาวเทียมสื่อสาร ซึ่งลอยตัวอยู่เหนือชั้นบรรยากาศโลกนับหมื่นกิโลเมตร หากดาวเทียมสื่อสารที่ใช้งานอยู่เกิดเสียหายหรือขัดข้องจากการถูกโจมตีของลมสุริยะ ย่อมส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างมากทั้งทางเศรษฐกิจและในด้านความปลอดภัย ดังนั้นผู้ที่ใช้เทคโนโลยีดาวเทียมจึงจำเป็นต้องมีแผนสำรองเอาไว้ในช่วงเวลาดังกล่าวเผื่อระบบดาวเทียมเกิดขัดข้องจริง ๆ นักเดินเรืออาจจะต้องพกแผนที่กับเข็มทิศออกเดินเรือด้วย เพราะวิธีบอกตำแหน่งแบบโบราณอย่างนี้อาจจำเป็นต้องนำมาใช้ หากระบบจีพีเอสขัดข้องในระหว่างเดินเรือ เป็นต้น

จะเห็นว่า ผลเสียที่เกิดขึ้นนั้น จะเกิดขึ้นกับดาวเทียมเป็นส่วนใหญ่ซึ่งอยู่เหนือชั้นบรรยากาศโลก แต่จะไม่มีผลร้ายโดยตรงกับร่างกายหรือชีวิตของมนุษย์ที่อยู่บนพื้นโลก เพราะอนุภาคอันตรายจากดวงอาทิตย์ไม่สามารถทะลุทะลวงเข้ามาถึงพื้นโลกได้ เนื่องจากโลกของเรามีเกราะกำบังหลายชั้น ทั้งวงแหวนแวนอัลเลนและบรรยากาศของโลก แม้แต่นักบินอวกาศที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่บนอวกาศ ก็ยังคงปลอดภัยจากลมสุริยะเพราะมียานอวกาศและชุดอวกาศเป็นสิ่งคุ้มกันอย่างดีอยู่แล้ว

ถึงตอนนี้เราได้รู้จักกับลมสุริยะ พายุสุริยะ ตลอดจนปรากฏการณ์ข้างเคียงต่าง ๆ รวมถึงธรรมชาติของดวงอาทิตย์ได้ในระดับหนึ่ง หวังว่าเราคงจะประเมินภาพคร่าว ๆ ของผลกระทบจากพายุสุริยะที่จะเกิดขึ้นในช่วงปี 2543-44 นี้ได้พอสมควร และสามารถพิจารณาได้ว่าควรจะตื่นกลัวหรือตื่นเต้นกับปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้มากน้อยเพียงใด

ข้อมูลอ้างอิง
• The Sun As A Star, Roger J. Tayler, Cambridge University Press, 1997
• The New Solar System, Fourth Edition, J.Kelly Beatty, Carolyn Collins Petersen, Andrew Chaikin, Sky Publishing Corperation
• McGraw-Hill Encyclopedia of Astronomy Second Edition, McGraw-Hill, Sybil P. Parker, Jay M. Pasachoff
• SOHO Spies the Far Side of the Sun http://science.nasa.gov/newhome/headlines/ast23jun99_1.htm
• Sunspots and the Solar Cycle http://www.sunspotcycle.com/
• CNN : Space weather to get watches and warnings http://cnn.com/TECH/space/9811/03/space.weather/
• http://cnn.com/NATURE/9904/13/solar.enn/index.html
• http://cnn.com/TECH/space/9906/01/solar.storms.ap/
• The Corona http://umbra.nascom.nasa.gov/spartan/the_corona.html
• A Solar Flare Effect http://www.ips.oz.au/background/richard/sfe.html
• Post Flare Loops http://science.nasa.gov/ssl/pad/solar/loops.htm
• Coronal Mass Ejections http://science.nasa.gov/ssl/pad/solar/cmes.htm
• What is a Solar Flare? http://hesperia.gsfc.nasa.gov/~benedict/flaref.htm
• Q & A http://hesperia.gsfc.nasa.gov/~benedict/questions.htm
• SOLAR FLARES AND MAGNETIC SHEAR http://science.msfc.nasa.gov/ssl/pad/solar/flaremag.htm
• The Solar Dynamo http://wwwssl.msfc.nasa.gov/ssl/pad/solar/dynamo.htm
• Solar Flares http://wwwssl.msfc.nasa.gov/ssl/pad/solar/flares.htm
• Magnetism - the Key to Understanding the Sun http://wwwssl.msfc.nasa.gov/ssl/pad/solar/the_key.htm
• Solar Dynamo Position http://soi.stanford.edu/results/agu96.html
• The sun's influence on earth
http://www.astro.uva.nl/~michielb/sun/aarde.htm

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก
http://thaiastro.nectec.or.th/library/solarstormfacts/solarstormfacts4.html

เรื่องจริงของพายุสุริยะ

ตอนที่ 3

ผลกระทบของวัฏจักรดวงอาทิตย์ที่มีต่อโลก

แม้ในชีวิตประจำวัน เราอาจรู้สึกว่าดวงอาทิตย์ไม่ว่าจะวันไหนปีไหนก็ร้อนเหมือน ๆ กันทุกวัน จนดูเหมือนกับว่าดวงอาทิตย์ในช่วงสูงสุดกับช่วงต่ำสุดปล่อยพลังงานออกมาไม่ต่างกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว วัฏจักรของดวงอาทิตย์ส่งผลให้พลังงานจากดวงอาทิตย์ในช่วงสูงสุดและช่วงต่ำสุดแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะในย่านรังสีเอกซ์ ซึ่งต่างกันมากนับร้อยเท่า เหตุที่เรามักไม่รู้สึกถึงความแตกต่างเนื่องจากแสงและความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่เราสัมผัสได้นั้นเป็นเพียงส่วนแคบ ๆ ในช่วงพลังงานทั้งหมดของดวงอาทิตย์เท่านั้น พลังงานบางช่วงความถี่เราไม่สามารถสัมผัสได้และส่วนใหญ่ก็ถูกดูดกลืนไปโดยบรรยากาศโลก
ผลกระทบที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ การเกิดปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้ (aurora) ซึ่งมีลมสุริยะเป็นปัจจัยหลักโดยตรง ในช่วงใดที่เกิดจุดดำบนดวงอาทิตย์มาก ก็จะเกิดแสงเหนือ-แสงใต้บนโลกมาก หากช่วงใดเกิดจุดดำบนดวงอาทิตย์น้อย ก็จะเกิดแสงเหนือ-แสงใต้บนโลกน้อยตามไปด้วย ในช่วงปี ค.ศ. 1645 ถึง 1715 ซึ่งเป็นช่วงต่ำสุดมอนเดอร์นั้นแทบไม่มีรายงานการพบเห็นแสงเหนือ-แสงใต้เลย

นอกจากปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้แล้ว ยังพบว่าปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์ยังมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิและภูมิอากาศของโลกด้วย ดังตัวอย่างเช่น อุณหภูมิของบรรยากาศในชั้นสตราโตสเฟียร์พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเป็นวัฏจักรที่มีคาบยาว 11 ปีเช่นเดียวกับวัฏจักรของดวงอาทิตย์เช่นเดียวกัน
ส่วนบรรยากาศชั้นล่างซึ่งเป็นชั้นที่เราสัมผัสอยู่นั้น การเปลี่ยนแปลงบนโลกที่จะเกิดขึ้นตามวัฏจักร 11 ปีของดวงอาทิตย์อาจไม่เด่นชัดนัก สาเหตุอาจเป็นเพราะระบบบรรยากาศชั้นล่างมีความซับซ้อนและมีตัวแปรของระบบมากกว่าบรรยากาศชั้นบน นอกจากนี้การที่ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นบนที่จะแพร่กระจายลงมาถึงบรรยากาศชั้นล่างต้องใช้เวลานานหลายปี ความผันแปรที่มีคาบเพียง 11 ปีจึงมีการหักล้างลบหายไปมากจนยากจะสังเกตได้ ดังนั้นความเปลี่ยนแปลงในบรรยากาศชั้นล่างของโลกจึงมักขึ้นกับความเปลี่ยนแปลงของดวงอาทิตย์ที่มีคาบยาวกว่านั้น ดังเช่นในช่วงต่ำสุดมอนเดอร์ อากาศในยุคนั้นจะหนาวเย็นผิดปรกติ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ยุคน้ำแข็งน้อย" (Little Ice Age) ภูเขาน้ำแข็งได้แผ่กระจายออกจากขั้วโลกเป็นบริเวณกว้างที่สุดนับจากยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด แม่น้ำเทมส์ในประเทศอังกฤษถึงกับจับตัวเป็นน้ำแข็งในฤดูหนาวเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่าในช่วงศตวรรษที่ 12 เป็นช่วงที่มีปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์รุนแรงต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ซึ่งสอดคล้องกับช่วงเวลาที่ดินแดนตอนเหนือของโลกมีอุณหภูมิอบอุ่นเป็นพิเศษจนมีคนไปตั้งรกรากอาศัยอยู่บนแผ่นดินกรีนแลนด์ได้ แม้แต่ทุกวันนี้ยังมีอุณหภูมิหนาวกว่าในยุคนั้นเสียด้วยซ้ำ


ในช่วงจุดสูงสุดของดวงอาทิตย์ นอกจากลมสุริยะจะมีความเข้มข้นและรุนแรงมากกว่าในช่วงอื่น ๆ แล้ว ยังมีความผันผวนมากกว่าในช่วงอื่น ๆ อีกด้วย การเปลี่ยนแปลงความเข้มของประจุไฟฟ้าบริเวณรอบ ๆ โลกทำให้สนามแม่เหล็กโลกมีการเปลี่ยนแปลงตาม การเปลี่ยนแปลงความเข้มสนามแม่เหล็กนี้อาจทำให้เกิดการเหนี่ยวนำไฟฟ้าขึ้นบนวัตถุใด ๆ บนผิวโลกที่เป็นตัวนำไฟฟ้าและมีความยาวมาก ๆ เช่น ท่อส่งน้ำมัน หรือสายไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น ซึ่งกรณีหลังอาจทำให้หม้อแปลงไฟฟ้าระเบิดและระบบส่งจ่ายไฟฟ้าขัดข้องได้ เหตุการณ์ไฟดับครั้งใหญ่หลายครั้งในอดีต ดังเช่นในปี 2532 ที่จังหวัดควิเบกของแคนาดา และที่เมืองหนึ่งในรัฐนิวเจอร์ซีของสหรัฐอเมริกา ก็คาดว่าเป็นผลจากพายุสุริยะเหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์นี้มักจะเกิดกับพื้นที่ ๆ ใกล้กับขั้วโลก สำหรับประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่แถบศูนย์สูตร จะมีโอกาสเกิดไฟฟ้าดับจากสาเหตุนี้น้อยมาก ระบบอื่นที่อาจมีปัญหาก็คือ ระบบการสื่อสารที่ใช้การสะท้อนของสัญญาณกับบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ เพราะบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์นี้อาจเกิดการปั่นป่วนเมื่อถูกโจมตีจากการระเบิดบนดวงอาทิตย์

แม้สิ่งที่ดวงอาทิตย์จะสาดออกมากระหน่ำโลกจะเป็นอนุภาคประจุไฟฟ้า แต่ตัวอนุภาคเหล่านั้นแทบจะไม่มีผลทางตรงต่อมนุษย์เลย เพราะโลกของเรามีสนามแม่เหล็กที่เข้มข้นเป็นเกราะคุ้มกันอย่างดี ไม่ให้อนุภาคพลังงานสูงเหล่านั้นทะลุเข้ามาถึงบรรยากาศโลกหรือทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกได้ เมื่ออนุภาคประจุไฟฟ้าจากลมสุริยะเข้าใกล้โลก จะเปลี่ยนทิศทางและวิ่งตีเกลียวไปตามเส้นแรงแม่เหล็กโลกจนดูเหมือนกับอนุภาคเหล่านั้นถูกกักเอาไว้ในรูปของวงแหวนขนาดใหญ่รอบโลก เรียกว่า วงแหวนแวนอัลเลน (Van Allen Belt) มีอนุภาคเพียงส่วนเล็กน้อยเท่านั้นที่เล็ดลอดตามแนวที่เส้นแรงแม่เหล็กตั้งฉากกับพื้นโลกเข้ามาถึงชั้นบรรยากาศได้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถทะลุถึงพื้นโลกได้อยู่ดี เพราะเมื่ออนุภาคเหล่านี้กระทบถูกบรรยากาศโลกก็ถูกดูดกลืนพลังงานไป ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการเรืองแสงขึ้นเป็นปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้นั่นเอง

สิ่งที่ดูจะเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดจากพายุสุริยะที่สุดคือ ดาวเทียมทั้งหลายที่ลอยอยู่เหนือชั้นบรรยากาศโลก เพราะพายุสุริยะที่พัดมากระทบกับดาวเทียมจะทำให้เกิดประจุไฟฟ้าขึ้นบนผิวของดาวเทียม ประจุไฟฟ้านี้ทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้าไปรบกวนกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายใน และอาจทำให้ดาวเทียมทำงานผิดพลาดได้ เมื่อครั้งที่เกิดพายุสุริยะในราวปี 2532 ก็เคยเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้มาแล้ว โดยดาวเทียมดวงหนึ่งได้เกิดจุดทรัสเตอร์ (จรวดขนาดเล็กข้าง ๆ ดาวเทียมที่ใช้สำหรับการปรับทิศทางและตำแหน่งของดาวเทียม) ขึ้นมาเอง ทำให้ดาวเทียมเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งปกติ นอกจากนี้ดาวเทียมอีกหลายดวงก็ได้ขาดการติดต่อไป ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นต้นเหตุในครั้งนั้นก็คือพายุสุริยะนั่นเอง

(โปรดติดตามตอนต่อไป)