วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เริ่มต้นใช้งาน Google Map

ก่อนที่เราจะสามารถนำ Google Map มาใช้งานบนเว็บไชต์ของเรานั้น สิ่งแรกที่จะต้องทำก็คือ การลงทะเบียนเป็นสมาชิกของ Google เสียก่อน และทำการ Sign up เพื่อเข้าสู่ส่วนที่เป็น Google Map API เพื่อทำการของหมายเลขที่เราเรียกว่า Google Map API Key เป็นหมายเลขที่ถูกสร้างเพื่อให้เป็นหมายเลขเฉพาะของแต่ละเว็ปไซต์ที่จะของ เรียกใช้งาน API Map ของ Google โดยมีขั้นตอนดังนี้

• เข้าสู่หน้า Google Map API ที่ http://www.google.com/apis/maps/ และเลือก Sign up for a Google Maps API key เมื่อเข้าสู่หน้า Signup ก่อนจะพบกับข้อความเงื่อนไขในการใช้งานต่าง ๆ โดยสรุปกล่าวคือ เราสามารถใช้งาน Google Map ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และไม่มีข้อกำหนดในเรื่องของจำนวนการเรียกใช้งานต่อวัน, ห้ามไม่ให้มีการขโมยรูปภาพใด ๆ ที่อยู่ใน Google Map ไป, ห้ามเปลี่ยนแปลงแก้ไขโลโก้ของ Google ใน Map, และห้ามนำ Map ไปใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งผิดกฎหมายต่าง ๆ (รายละเอียดสามารถศึกษาได้จากหน้าเว็บ หรือ ในการสร้าง Google MAP API Key นั้น สามารถสร้างได้ไม่จำกัดจำนวนต่อหนึ่ง Account แต่การสร้าง Key จะถูกสร้างโดยจำแนกออกเป็นแต่ละโดเมนเนม นั้นคือ หากเรามี website 2 ที่ที่ต้องการใช้ Google Map เช่น http://www.sample1.com และ http://www.sample2.com กรณีเช่นนี้ เราจะต้องสร้าง Google Map API Key จำนวน 2 ชุด

• วิธีการสร้าง Google Map API Key ก็คือให้เลือนหน้าจอลงไปด้านล่างของหน้าเว็ป จะเห็นช่องให้ป้อนชื่อเว็ปไซต์ของเราที่ต้องการจะนำ Google Map ไปใช้งาน

1. เลือก I Have read and agree with the terms and conditions
2. ป้อนชื่อเว็ปไซต์ที่ต้องการสร้าง Google Map API Key
3. กดปุ่ม Generate API Key

กรณีที่เรายังไม่ได้ Login เข้าสู่เว็ปไซต์ของ Google จะปรากฎหน้าเว็ป Login ของ Google ขึ้นมา ให้ทำการ Login ด้วย Account ของเราที่มีอยู่แล้ว หรือหากยังไม่เคยมี Account ของ Google เมื่อทำการ Login เรียบร้อย ท่านจะได้ Googel Map API Key ที่สามารถนำไปใช้งานในชื่อเว็บไซต์ที่ท่านระบุไว้ โดย Google เองได้มีการสร้างตัวอย่าง Code ของการนำ Google Map ไปใช้งานกับเว็บของเราไว้ในด้วยในด้านล่างของหน้าเว็บ เราสามารถทำการ copy ตัวอย่าง code ที่ google สร้างไว้ให้ไปใช้งานได้ทันที


• การทดสอบนำ Google Map มาแปะไว้บนเว็บ

ขั้นตอนนี้เราจะต้องมีการติดตั้ง Web Server ลงในเครื่องให้เป็นที่เรียบร้อยก่อน โดยที่เราสามารถจะใช้ IIS ที่ติดมากับ Windows หรือ จะใช้ AppServ ที่เป็น web server apache หรือหากว่าใครไม่ต้องการยุ่งยากก็สามารถที่จะใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า InstantRails ในการที่จะ run Web Server แบบง่าย ๆ ก็ได้ ในที่นี้ผู้เขียนได้ใช้งาน AppServ เป็น Web Server ท่านสามารถหาบทความเกี่ยวกับการติดตั้ง AppServ ได้จากhttp://www.appservnetwork.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=4
1. ทำการ copy code ตัวอย่างที่ Google สร้างให้ไป save เก็บไว้ที่ root ของ web server ในชื่อไฟล์ index.htm
2. เมื่อเรียกเปิดหน้าเว็ปโดย Internet Browser ตัว Map ที่แสดงผลออกมาจะเป็นแผนที่ของประเทศสหรัฐอเมริกา ตามตำแหน่ง ละติจูด และ ลองจิจูด ที่กำหนดไว้ใน code ที่เรียกใช้งาน API ซึ่งเราสามารถปรับเปลี่ยนหรือระบุให้แผนที่แสดงผลในพื้นที่ที่เราต้องการได้

--------------------------------------------------------------

Longdo Map


• พื้นที่ที่แสดงในเว็บนั้นเป็นพื้นที่ใดในโลก
เว็บไซต์ http://map.longdo.com เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแผนที่ ของประเทศไทยทั้งหมด ซึ่งแสดงข้อมูลพื้นฐาน เช่น เขตการปกครอง เส้นทางการเดินทาง รถไฟ ถนน ประชากร สถานที่ต่างๆ รวมถึงเส้นทางเดินทางรถไฟฟ้าในอนาคต เหมือนกับเว็บไซต์แผนที่อื่นๆ แต่มีจุดเด่นในการแสดงแผ่นที่การจราจร โดยแสดงภาพดูสภาพการจราจร จากกล้องวงจรปิดแบบสดๆ ซึ่งในส่วนนี้ จะมีในบริเวณกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล และในบางจังหวัด

• แผนที่ที่แสดงในเว็บนั้น แสดงข้อมูลอะไร มีประโยชน์อย่างไร
แผนที่ที่แสดงใน http://map.longdo.com แสดงข้อมูลพื้นฐานของแผนที่ และถือได้ว่าเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการข้อมูลแผนที่ที่ทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์ เพราะนอกเหนือจากการใช้งานต่างๆ เช่น การดูแผนที่, การค้นหาสถานที่ รวมถึงผู้ใช้งานสามารถป้อนสถานที่ใหม่ๆ ในหน้า Longdo Map (http://map.longdo.com/) นี้แล้ว ตัวซอฟต์แวร์ Longdo Map ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ เฉพาะทางตามความต้องการของลูกค้าได้ เช่น ในงานให้บริการข้อมูลต่อลูกค้า, งานด้านแผนที่และ GIS, งานด้านจราจรและการขนส่ง, งานด้านสาธารณสุข และอื่นๆ
นอกจากนี้สามารถบอกได้อีกด้วยว่า บริเวณดังกล่าวมีสภาพการจราจรแบบได้ หรือบริเวณไหนที่มีการก่อสร้างถนนเกิดขึ้น ในการใช้งานนั้นสามารถหมุนภาพได้รอบ360 องศา และซึ่งสามารถดูภาพถ่ายดาวเทียม หรือดูแบบ hybrid ได้ในเวลาเดียวกันจากฐานข้อมูล ของ Google Map API. แสดงตำแหน่งปัจจุบันอยู่บนแผนที่ด้วย
ประโยชน์ของ http://map.longdo.com ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น คือ นอกเหนือจากการใช้งานต่างๆ เช่น การดูแผนที่, การค้นหาสถานที่ รวมถึงการป้อนสถานที่ใหม่ๆ ผู้ใช้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ เฉพาะทางตามความต้องการของลูกค้าได้ เช่น ในงานให้บริการข้อมูลต่อลูกค้า, งานด้านแผนที่และ GIS, งานด้านจราจรและการขนส่ง สามารถวางโครงสร้างและบริหารความสามารถในการขนส่งให้ดีขึ้น, งานด้านสาธารณสุข และอื่นๆ
• แผนที่ที่ออกแบบในเว็บนั้นสวยงามหรือไม่ สื่อส่ารกับผู้ใช้ข้อมูลมากน้อยอย่างไร
แผนที่ที่ออกแบบในเวปมีความสวยงาม และน่าสนใจ บวกกับความทันสมัย และข้อมูลที่มีการ
อัพเดตอยู่สม่ำเสมอ ทำให้เป็นที่ยอมรับแก่ผู้ใช้งาน เนื่องจากการใช้งานที่ง่ายไม่สลับซับซ้อน ไม่ต้องติดมีความพิเศษที่ใช้ได้จากอินเทอร์เน็ตและไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอะไรพิเศษเพิ่มเติม และเพราะว่าเป็นแผนที่บนอินเทอร์เน็ตจึงทำให้ความสามารถของแผนที่ Longdo ขยายต่อได้เรื่อยๆแล้วแต่ idea ที่มี สามารถสื่อสารกับผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจนและตรงตามเป้าหมาย

• นิสิตคิดว่าถ้าต้องการเริ่มสร้างเว็บไซต์ที่มีแผนที่ ควรเริ่มต้นอย่างไร
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นจากการวางเป้าหมายและจุดประสงค์ก่อนว่าเว็บไซต์ที่ต้องการสร้างนั้น
ต้องการนำเสนอแผนที่ที่มีลักษณะอย่างไร มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรเช่น แบบภาพถ่ายดาวเทียม แบบภูมิประเทศ หรือแบบ Hybrid เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2 ค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ในการสร้างเว็บไซต์ที่มีแผนที่ เช่น การศึกษาข้อมูลทั่วไปของแผนที่ และเมื่อได้ข้อมูลได้จะต้องวางแผนแล้วว่าจะนำมาทำอย่างไร ควรเลือกใช้เครื่องมือ ภาษา หรือโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ อะไรจึงจะเหมาะสม และถ้าอยากทำเว็บบอร์ด อาจเลือกเครื่องมือ php + mySQL หรือจะใช้แบบสำเร็จรูปอย่าง phpBB ถ้าจะทำหน้าที่มี content อัพเดทบ่อยๆ มีหมวดหมู่ชัดเจน อาจใช้ CMS และต้องหาข้อมูลอ้างอิงจากที่ไหน จึงจะมีความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้เองผู้จัดทำจะต้องมีรูปแบบในการนำเสนอเพื่อให้เป็นที่สนใจ แก่ผู้ใช้งาน คือ มีความเป็นเอกลักษณ์ มีจุดเด่นในการนำเสนอที่ไม่เหมือนใคร และมีการอัพเดตข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรมีความรู้พื้นฐาน เช่น ความรู้เกี่ยวกับ http, www และที่สำคัญ ภาษา html หลังจากนั้นจึงเริ่มลงมือทำเว็บไซต์

http://map.longdo.com/

เตือน!! อันตรายเว็บลวงเข้าหน้ากูเกิ้ล


ศูนย์ติดตามไวรัสทั่วโลกของ เทรนด์ ไมโคร อิงค์ เปิดเผยถึงรายงานสรุปภัยคุกคามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประจำเดือนตุลาคม ว่าหนึ่งในมัลแวร์ที่เกิดขึ้นเป็นที่รู้จักมากที่สุดได้ใช้บัญชีผู้ใช้ออนไลน์ในระบบ Windows Live และ Hotmail นับพันรายในการโพสต์ข้อความ และขณะนี้ได้รับการยืนยันแล้วว่า บัญชีดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใช้เทคนิคฟิชชิง "ดั้งเดิม" แต่ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นมัลแวร์ขโมยข้อมูลที่มีความซับซ้อนมากขึ้น สายพันธุ์ล่าสุดที่ชื่อ BEBLOH เปลี่ยนวิธีการจากเดิมที่ มัลแวร์ขโมยข้อมูลจะใช้คีย์ล็อกกิ้ง (การขโมยข้อมูลด้วยการตรวจจับการป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์) และส่งข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ไปยังผู้ที่ไม่ประสงค์ดีเพื่อนำไปใช้หาประโยชน์ในอนาคต แต่มัลแวร์สายพันธุ์ใหม่นี้จะมุ่งขโมยข้อมูลส่วนตัวเพื่อขโมยเงินออกจากบัญชีของผู้ใช้โดยตรงเมื่อมัลแวร์เริ่มปฏิบัติการจะมีการเชื่อมต่อกับคำสั่งและเข้าควบคุมเซิร์ฟเวอร์ซึ่งดาวน์โหลดไฟล์การกำหนดค่ามาปรับแต่งใหม่ โดยไฟล์ดังกล่าวระบุชื่อธนาคารเป้าหมาย ชื่อบัญชีที่จะรับโอนเงิน และจำนวนเงิน ความสามารถในการขโมยข้อมูลได้โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว

นอกจากนี้ ยังมีมัลแวร์ ZBOT ยังคงแพร่การติดเชื้ออย่างต่อเนื่องผ่านวิธีการหลากหลาย โดย เฉพาะการใช้เทคนิคกลลวงทางสังคม (Social Engineering Technigues) รวมถึงการโจมตีแบบฟิชชิง โดยใช้ชื่อของ CapitalOne ซึ่งเป็นธุรกิจด้านสินเชื่อรายใหญ่ เป็นเครื่องมือลวงให้ผู้ใช้ระบุข้อมูลส่วนตัวในการเข้าสู่ระบบโดยอาศัยความช่วยเหลือของ ZBOT สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งจะปลอมตัวเป็น "ใบรับรอง ดิจิตอล" เพื่อหลอกให้ผู้ใช้เรียกใช้งาน ขณะที่ ZBOT อีกสายพันธุ์จะจำลองตัวเองให้เป็นระบบแจ้งข่าวสารทางอี-เมลจากผู้ดูแลระบบของบริษัทหลายแห่ง ซึ่งข้อความสแปมที่ผ่านการปรับแต่งแล้วจะถูกส่งตรงไปยังผู้ใช้เพื่อให้ "อัพเกรดเซิร์ฟเวอร์" และแทรกลิงค์ที่นำไปสู่การดาวน์โหลดมัลแวร์ไว้ด้วย และเมื่อเร็วๆ นี้ มีการโจมตีแบบฟิชชิงที่มีเป้าหมายเป็นผู้ใช้บริการจีเมล (Gmail) ในไต้หวัน ซึ่งใช้เทคนิคที่เรียกว่า "สเปียร์ฟิชชิง" (Spear Phishing : ฟิชชิงที่มีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ) ในรูปแบบของอี-เมลที่สามารถกำหนด URL ฟิชชิงเองได้ ทำให้สามารถส่งไปยังชื่อผู้รับที่เฉพาะเจาะจงได้โดยตรง

ที่มา : www.matichon.co.th

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(GIS)ร่วมกับฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

บทนำ

เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายของภาษา วัฒนธรรม และชาติพันธุ์ของประชากรที่น่าสนใจประเทศหนึ่งของเอเชียอาคเนย์ ประชากรไทยกลุ่มต่าง ๆ มีภูมิปัญญา ภาษา วัฒนธรรม และโลกทัศน์ หรือ วิธีการให้ความสำคัญ ให้ความหมายกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่แตกต่างหลากหลาย จึงมีผลทำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติ ธรรมเนียม ประเพณี และพิธีกรรมที่แตกต่างกันไป
และเพราะระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ถูกออกแบบมาเพื่อใช้รวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ข้อมูลภูมิศาสตร์ รวมทั้งการสืบค้นข้อมูลและการแสดงผล หรืออีกนัยหนึ่ง ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นระบบฐานข้อมูลที่มีความสามารถในการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งอยู่ในรูปของแผนที่และข้อมูลเชิงคุณลักษณะ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลออกมาเป็นข้อสนเทศแล้วนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีความพยายามที่จะศึกษาและประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ร่วมกับฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และนำเสนอผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ในลักษณะของแผนที่กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย (Ethnolinguistic Maps of Thailand) เพื่อนำเสนอข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น การกระจายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ ในลักษณะของภาพแผนที่ เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านภาษาและกลุ่มชาติพันธุ์ของประชากรในประเทศไทย เพื่อเผยแพร่ความหลากหลายของกลุ่มภาษาและการกระจายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งเพื่อธำรงรักษา ฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมอันดีงามของกลุ่มชาติพันธุ์ที่กำลังจะถูกกลืนไปในกระแสสังคมด้วย


แนวคิดในการแก้ปัญหา

แนวคิดในการแก้ปัญหาของงานวิจัยชิ้นนี้ คือ การนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) มาประยุกต์ใช้ร่วมกับฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ ด้วยความสามารถของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในรูปเชิงบรรยายไปพร้อม ๆ กับการนำเสนอข้อมูลแผนที่ในรูปเชิงพื้นที่ได้ ประกอบกับความสามารถของโปรแกรมประเภทจัดการฐานข้อมูล ทำให้งานวิจัยชิ้นนี้สามารถนำเสนอต่อผู้ใช้ได้ในลักษณะของแผนที่กลุ่มชาติพันธุ์ ที่สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายและชัดเจน ไม่มีความซ้ำซ้อนของข้อมูล และสามารถนำเสนอได้ในวงกว้าง


การศึกษาวิจัย

การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ร่วมกับฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และนำเสนอผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ในงานวิจัยชิ้นนี้แบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. การจัดการฐานข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์
ซึ่งได้ข้อมูลจากแบบสำรวจที่เก็บข้อมูลในระดับหมู่บ้านกว่า 70,000 หมู่บ้านทั่วประเทศ โดยใช้โปรแกรม Microsoft Access ในการจัดการเป็นหลัก
2. การจัดทำแผนที่กลุ่มชาติพันธุ์
ซึ่งเป็นการนำฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์มาเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และฐานข้อมูลเชิงบรรยายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยแปลงฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์จาก .mdb มาเป็น .dbf เพื่อเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และฐานข้อมูลเชิงบรรยายด้วยโปรแกรม ArcView GIS
3. การจัดทำเวบไซต์
ซึ่งแบ่งการจัดทำออกเป็น 5 ส่วน คือ
3.1 บทนำ โดยสร้างเป็น Tree Diagram เพื่อให้เข้าใจง่ายและชัดเจน โดยใช้ Microsoft Visio ในการสร้าง Diagram
3.2 กลุ่มชาติพันธุ์ โดยการนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อจัดแบ่งหัวข้อในการนำเสนอ เช่น ประวัติศาสตร์ชุมชน วิถีชีวิต ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่อยู่อาศัย ประเพณีพิธีกรรม ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ กิจกรรมในรอบปี เป็นต้น โดยใช้โปรแกรม Macromedia Dreamweaver และโปรแกรม Adobe Photoshop ในการจัดทำ
3.3 การสืบค้น โดยนำแผนที่จากโปรแกรม ArcView GIS มาใช้ในการแสดงตำแหน่งที่อยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ มีการใส่เครื่องมือที่ใช้ในการดูแผนที่ เช่น Zoom in, Zoom out, Pan, Print, Back to original view และ Help เป็นต้น โดยใช้โปรแกรม ArcView GIS ร่วมกับ Extension ชื่อ MapViewSVG ในการจัดทำ
3.4 ความแตกต่าง โดยนำข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น การแต่งงาน การแต่งกาย ประเพณีปีใหม่ และที่อยู่อาศัย เป็นต้น
3.5 หนังสั้นและสารคดีชนเผ่า ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา คุณสมบัติบุญงามอนงค์ และหัวหน้าโครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์ คุณปริสุทธา สุทธมงคล สำหรับหนังสั้นและสารคดีชนเผ่า10 ชิ้นที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในการประกวดหนังสั้นและสารคดีคน ชนเผ่า เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2549 ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ โดยมี ผอ.ลัดดา ตั้งสุภาชัย ผู้อำนวยการกลุ่มเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ให้เกียรติเป็นประธานและมอบรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศ


ผลการศึกษาวิจัย

การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ร่วมกับ ฐาน ข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และนำเสนอผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) สามารถแบ่งการนำเสนอออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ประวัติศาสตร์ชุมชน วิถีชีวิต ประเพณีพิธีกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งนำเสนอเป็น Text, Graphic และ Multimedia และข้อมูลแผนที่กลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งแสดงข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในเชิงพื้นที่ เช่น การกระจายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ การสืบค้นพื้นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นต้น
1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มชาติพันธุ์
กลุ่มชาติพันธุ์ หมายถึง กลุ่มคนที่มีประวัติศาสตร์ ภาษา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีหรือแบบแผนการดำเนินชีวิตร่วมกัน และประการสำคัญคือ มีสำนึกในความเป็นกลุ่มหรือเผ่าพันธุ์เดียวกัน
งานวิจัยชิ้นนี้เลือกภาษามาใช้ในการจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งแม้ไม่อาจบอกได้ในทุกกรณีแต่ภาษาก็มีความสัมพันธ์กับชาติพันธุ์อย่างใกล้ชิด การมองผ่านภาษาจึงทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มากขึ้น และเนื่องจากภาษาเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายเมื่อได้ยินเสียงพูดก็สามารถบอกได้ว่าผู้พูดนั้นเป็นกลุ่มเดียวกับตนหรือไม่อย่างไร ดังนั้นจึงจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้เกณฑ์คือ ชื่อภาษาที่เจ้าของภาษาใช้เรียกตนเองหรือชื่อที่ปัจจุบันยอมรับว่าหมายถึงภาษาหรือกลุ่มของตน
โดยสรุปแล้วสามารถจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทยออกเป็น 5 ตระกูลภาษา
60 กลุ่ม ดังนี้
1.1 ตระกูลไท มี 24 กลุ่ม คือ กะเลิง คำเมือง(ยวน) โซ่ง(ไทดำ) ญ้อ ไทขึน ไทยกลาง ไทยโคราช ไทยตากใบ ไทยเลย ไทลื้อ ไทหย่า ไทใหญ่ ปักษ์ใต้(ไทยใต้) ผู้ไท พวน ยอง โย้ย ลาวครั่ง ลาวแง้ว ลาวตี้ ลาวเวียง(ลาวกลาง) ลาวหล่ม ลาวอีสาน และแสก
1.2 ตระกูลออสโตรเอเชียติก มี 22 กลุ่ม คือ กะซอง กูย-กวย(ส่วย) ขมุ เขมรถิ่นไทย ชอง ซะโอจ(อูด, ชุอุ้ง) ซาไก(เกนซิว, มานิ) ซัมเร โซ่(ทะวืง) โซ่ ญัฮกุร(ชาวบน, คนดง) เญอ บรู(ข่า) ปลัง(สามเต้า, ลัวะ) ปะหล่อง (ดาระอาง) มอญ มัล-ปรัย(ลัวะ-ถิ่น) มลาบรี(ตองเหลือง) ละเม็ด(ลัวะ) ละเวือะ (ละว้า- ลัวะ) ว้า(ลัวะ) และเวียดนาม(ญวน-แกว)
1.3 ตระกูลจีน-ทิเบต มี 11 กลุ่ม คือ ก๋อง(อุก๋อง) กะเหรี่ยง จิงพ่อ-คะฉิ่น จีน จีนฮ่อ บิซู พม่า ละหู่(มูเซอ) ลีซู(ลีซอ) อาข่า(อีก้อ) และอึมปี(มปี, ก้อ, ปะกอ)
1.4 ตระกูลออสโตรเนเชียน มี 3 กลุ่ม คือ มลายูถิ่นไทย มอเก็น(มอเกล็น) และอูรักละโว้ย
1.5 ตระกูลม้ง-เมี่ยน มี 2 กลุ่ม คือ ม้ง(ม้งขาว, ม้งดำ) และเมี่ยน(เย้า)

การนำเสนอข้อมูลทั่วไปของกลุ่มชาติพันธุ์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนี้ ยังสามารถแบ่งการนำเสนอออกได้อีกหลายลักษณะ เช่น
- การนำเสนอในรูปแบบของข้อความและรูปภาพ โดยใช้โปรแกรม Macromedia Dreamweaver และโปรแกรม Adobe Photoshop ในการพัฒนาเป็นหลัก และใช้โปรแกรม Internet Explorer ในการนำเสนอ
- การนำเสนอในรูปแบบของ Clip Video และเสียง โดยใช้โปรแกรม Sound Forge ในการบันทึกและตัดต่อเสียง และใช้โปรแกรม Window Media Player ในการนำเสนอ
- การนำเสนอในรูปแบบของภาพ Panorama โดยใช้โปรแกรม PTViewer ในการพัฒนา และใช้โปรแกรม Internet Explorer ในการนำเสนอ เป็นต้น

2. ข้อมูลแผนที่
การนำความสามารถในการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ในการอธิบายกลุ่มชาติพันธุ์ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกระจายตัวหรือการสืบค้นพื้นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ช่วยให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โปรแกรมประเภทจัดการสารสนเทศภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในลักษณะ Standalone ดังนั้นการนำข้อมูลจากโปรแกรมเหล่านี้มานำเสนอผ่านอินเตอร์เน็ตจึงพบปัญหาต่าง ๆ เช่น ขนาดไฟล์ที่ใหญ่มากทำให้เสียเวลาในการแสดงผล งานวิจัยชิ้นนี้จึงนำ Extension ประเภท SVG (Scalable Vector Graphic) ชื่อ MapViewSVG ซึ่งบรรจุความสามารถของ SVG, XML และ Javascript ไว้ภายในมาใช้ในการนำเสนอ
ด้วยความสามารถของ MapViewSVG ทำให้สามารถนำเสนอแผนที่กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเสริมใด ๆ เพิ่มเติม สามารถแสดงผลแผนที่ได้ในเวลาอัน รวดเร็วถึงแม้จะเป็นการแสดงผลทั้งประเทศก็ตาม สามารถเพิ่มเติมเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการดูแผนที่ลงในเวบไซต์ได้ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ Zoom in, Zoom out, Pan, Print, Back to original view และ Help นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มหน้าต่าง Overview เพื่อแสดงว่ากำลังอยู่ในส่วนของแผนที่ใหญ่ได้อีกด้วย
และด้วยความสามารถของ MapViewSVG อีกเช่นกันที่ทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลจากแผนที่ในลักษณะของการสอบถามได้ โดยการใช้เครื่องมือ Query Builder ในการสร้างเงื่อนไขหรือระบุกรอบในการค้นหา ผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในลักษณะของตารางข้อมูลพร้อมทั้งระบุตำแหน่งของพื้นที่ผลลัพธ์ลงในแผนที่ด้วย


สรุปผลการศึกษาวิจัย

การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ร่วมกับ ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และนำเสนอผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ของงานวิจัยชิ้นนี้ มีข้อดีคือทำให้สามารถแสดงข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์ในเชิงพื้นที่ เช่น การกระจายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น โดยสามารถเรียกดูข้อมูลพร้อมกันได้ทั้งข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ ข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย นอกจากนี้ยังสามารถนำเสนอข้อมูลได้ในวงกว้าง สามารถเข้าถึงข้อมูลทุกส่วนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ผู้สนใจไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงขั้นตอน เทคนิค ตลอดจนยุ่งยากต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ได้กล่าวมาตั้งแต่ต้นทั้งสิ้น เพราะสิ่งเหล่านั้นได้ถูก Encapsulated ไว้ภายใต้ User Interface ที่ใช้งานง่ายเหมือนเวบไซต์ทั่วไป ผู้สนใจไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มากนักก็สามารถใช้งานได้ทันทีอีกทั้งยังไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเสริมใด ๆ เพิ่มเติมลงในเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย ซึ่งเป็นผลทำให้มีการ เผยแพร่ความหลากหลายของกลุ่มภาษาและกลุ่มชาติพันธุ์ออกไปอย่างกว้างขวาง มีการสร้างองค์ความรู้ด้านภาษาและกลุ่มชาติพันธุ์ของประชากรในประเทศไทย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในงานพัฒนาประชากรและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการธำรงรักษา ฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมอันดีงามของกลุ่มชาติพันธุ์ที่กำลังจะถูกกลืนไปในกระแสสังคมด้วย
แต่เนื่องจากงานวิจัยชิ้นนี้เป็นเพียงแนวทางหนึ่งในการนำข้อมูลจากโปรแกรมประเภทสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งปกตินำเสนอแบบ Standalone มานำเสนอผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และใช้ข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทยเป็นตัวอย่างเพียง 2 ตระกูลภาษา 6 กลุ่มชาติพันธุ์เท่านั้น จึงยังไม่ครอบคลุมข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมด ดังนั้นหากมีผู้สนใจนำไปศึกษาต่อควรจะพิจารณาประเด็นเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
1. ควรขยายขอบเขตในการศึกษาวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ออกไปในวงกว้าง กล่าวคือ ควรศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์ให้ครบทั้ง 5 ตระกูลภาษา 60 กลุ่มชาติพันธุ์
2. ควรมีการเพิ่ม Layer ของพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ถนน แม่น้ำ ผืนป่า พื้นที่เกษตรกรรมตลอดจนภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ต่อไป


เอกสารอ้างอิง

[1] สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ, (2545) แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย วารสารภาษาและวัฒนธรรม, หน้า 7-17.
[2] สมบัติ อยู่เมือง และคณะ, (2549) คู่มือการใช้งานโปรแกรมระบบสารสนเทศและภูมิศาสตร์ ประกอบการอบรมความรู้พื้นฐานและการปฏิบัติงานภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดทำแผนที่ภาษาและวัฒนธรรม, หน้า 1


เว็บไซด์อ้างอิง

http://msit.siam.edu/projects_47/The%20Application%20of%20GIS%20with%20Ethnolinguistic%20Groups%20Database%20via%20Internet%20System/THAI_The%20Application%20of%20GIS%20with%20Ethnolinguistic%20Groups%20Database%20via%20Internet%20System.doc

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System:GIS)

ความหมายของคำว่า

"ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System:GIS)"

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย

GIS เป็นระบบข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ แต่สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิศาสตร์อื่นๆ สภาพท้องที่ สภาพการทำงานของระบบสัมพันธ์กับสัดส่วนระยะทางและพื้นที่จริงบนแผนที่ ข้อแตกต่างระหว่าง GIS กับ MIS นั้นสามารถพิจารณาได้จากลักษณะของข้อมูล คือ ข้อมูลที่จัดเก็บใน GIS มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ที่แสดงในรูปของภาพ (graphic) แผนที่ (map) ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) หรือฐานข้อมูล (Database)การเชื่อมโยงข้อมูลทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน จะทำให้ผู้ใช้สามารถที่จะแสดงข้อมูลทั้งสองประเภทได้พร้อมๆ กัน เช่นสามารถจะค้นหาตำแหน่งของจุดตรวจวัดควันดำ - ควันขาวได้โดยการระบุชื่อจุดตรวจ หรือในทางตรงกันข้าม สามารถที่จะสอบถามรายละเอียดของ จุดตรวจจากตำแหน่งที่เลือกขึ้นมา ซึ่งจะต่างจาก MIS ที่แสดง ภาพเพียงอย่างเดียว โดยจะขาดการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับรูปภาพนั้น เช่นใน CAD (Computer Aid Design) จะเป็นภาพเพียงอย่างเดียว แต่แผนที่ใน GIS จะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ คือค่าพิกัดที่แน่นอน ข้อมูลใน GIS ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน(รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน